ภาพข่าว: คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ ร่วมลงนาม MOU พัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาด้านไมซ์ในภูมิภาคภาคใต้

พุธ ๑๐ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๐:๕๗
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรารถนา หลีกภัย คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้ร่วมในโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "10th Coach the Coaches Program for MICE Industry" ภายใต้ "โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาด้านไมซ์ในภูมิภาคภาคใต้" ขึ้น ณ โรงแรมดวงจิตต์ จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรมไมซ์และคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนการสร้างเครือข่าย (networking) กับผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมไมซ์ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และได้มีการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สสปน. และ 7 สถาบันการศึกษาในภาคใต้เพื่อการขับเคลื่อนศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย คณะวิทยาการจัดการ คณะบริการและการท่องเที่ยว และคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ