IRM เผยปัญหาสุดฮอตในหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม

พุธ ๑๐ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๓:๒๙
นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การอยู่อาศัยในอาคารและบ้านจัดสรรในปัจจุบันมักจะมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเรื่องบ้านร้าวและบ้านทรุด ซึ่งจะมีการร้องเรียนกันอยู่เสมอ ปัญหานี้ผู้อยู่อาศัยต้องไปดูสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งมีการประกันโครงสร้างและวัสดุก่อสร้าง หากเป็นส่วนประกอบของบ้านมีระยะเวลาในการประกัน 1 ปี ส่วนโครงสร้างมีระยะเวลาการประกัน 5-10 ปี ดังนั้น ตอนรับบ้านจะต้องตรวจสอบให้ดี ถ้ามีการชำรุดสามารถให้ผู้จัดสรรแก้ไข และเมื่ออยู่อาศัยมาสักระยะหากมีการชำรุดผู้จัดสรรจะต้องซ่อมแซมตามสัญญา นอกจากนี้แล้วยังมีปัญหาเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งนิติบุคคลจะต้องตกลงเรื่องนี้กับบริษัทรักษาความปลอดภัยที่หมู่บ้านใช้บริการอยู่ให้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องหลักเกณฑ์ความรับผิดชอบ เพราะที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นบริษัทรักษาความปลอดภัยจะอ้างเหตุผลต่าง ๆ เพื่อจะปัดความรับผิดชอบ เช่น มีป้อมยามและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยน้อย ดังนั้น ควรกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ดี เช่น การเข้าออกจะใช้การ์ดหรือสติ๊กเกอร์ และมีวิธีการดูแลบุคคลภายนอกที่เข้าออกหมู่บ้าน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องสาธารณูปโภคส่วนกลางให้ไม่ครบก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่บ้านจัดสรรต้องเผชิญ เพราะการจัดสรรที่ดินจะมีการระบุว่ามีสาธารณูปโภคอะไรบ้าง เช่น ถนนเมน สระว่ายน้ำ สโมสร เป็นต้น ถ้าไม่สังเกตเราจะไม่รู้ว่ามีครบหรือไม่ ควรจะตรวจสอบจากใบสัญญาจะซื้อจะขาย หรือดูจากเอกสารตอนขายระบุว่ามีอะไรบ้าง และก่อนจะรับมอบบ้านควรตรวจสอบก่อนว่ามีสาธารณูปโภคส่วนกลางมาให้ครบตามสัญญาหรือไม่ หากไม่ครบก็สามารถเรียกร้องจากผู้จัดสรรได้ ปัญหานี้เคยเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่ต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้วยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของปลวก แม้ว่าผู้จัดสรรส่วนใหญ่ได้วางระบบท่อกำจัดปลวก แต่บ้านที่มีการต่อเติมบ้านอาจทำให้ท่อระบบกำจัดปลวกถูกทำลาย จึงต้องสร้างระบบกำจัดปลวกใหม่หรือต้องเจาะพื้นบ้าน

นายธนันทร์เอกกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการจอดรถกรีดขวางหรือไม่เป็นระเบียบเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านจัดสรร เช่น จอดรถนอกบ้านหรือจอดหน้าบ้านคนอื่น นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์หรือชี้แจงว่าจอดรถอย่างไรได้บ้าง รวมทั้งปัญหาเรื่องการตกแต่งต่อเติม ปกติหมู่บ้านจัดสรรจะไม่เหมือนคอนโด เพราะส่วนใหญ่จะต้องตกแต่งต่อเติมเพิ่ม เพราะฉะนั้นระเบียบในการตกแต่งต่อเติมเพิ่มก็ต้องขออนุญาตกับคณะกรรมการหรือผู้จัดการที่ดูแล ซึ่งแต่ละแห่งจะมีกฎระเบียบแตกต่างกัน สำหรับปัญหายอดฮิตที่ทำให้ผู้บริหารทรัพย์สินปวดหัวคือปัญหาลูกบ้านไม่จ่ายค่าส่วนกลาง ดังนั้น นิติบุคคลต้องมีประสิทธิภาพในการติดตามทวงถามและต้องรายงานผลให้กับคณะกรรมการหมู่บ้านทราบอยู่ตลอดเวลา

"ที่มีปัญหาอีกเรื่องหนึ่งคือเพื่อนบ้านส่งเสียงดัง ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ค่อนข้างยาก นิติบุคคลต้องทำหน้าที่ดูแลว่าบ้านไหนที่มีกิจกรรมงานเลี้ยง ไม่ว่าจะฉลองเทศกาลต่าง ๆ ทำบุญบ้าน งานมงคลต่าง ๆ ต้องไปขออนุญาตบ้านข้างเคียงในการใช้เสียง ระบุไปให้ชัดเจนว่าจะใช้เวลาไหนกี่โมงถึงกี่โมงหลังจากนั้นจะต้องหยุด ทำระบบเหล่านี้ให้คล้าย ๆ เป็นระบบของโรงแรม เพราะว่าการอาศัยอยู่ร่วมกันถ้าเราไม่มีกติกาตั้งแต่ต้นปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบด้านอื่น ๆ ตามมา" นายธนันทร์เอกกล่าว

ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 25 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ