STYLE Bangkok นำคุณค่าวิถีไทยสู่สากลที่โซน OTOP for Export 17-21 เมษายนนี้ที่ไบเทค บางนา

พุธ ๑๗ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๕:๐๗
ถึงวันนี้ การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าโอทอป อาจไม่ใช่แค่การพัฒนาปรับปรุงแพคเกจจิ้งให้ทันสมัยสวยงาม แต่คือการโฟกัสด้านพัฒนาคุณภาพของสินค้า การให้ความรู้ด้านบริหารจัดการ และการช่วยหาช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศให้ผู้ผลิต หลายหน่วยงานภาครัฐได้ร่วมกันผลักดันให้สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนคุณค่างานคราฟท์ท้องถิ่นเป็นเม็ดเงินหล่อเลี้ยงชุมชน

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและสร้างโอกาสในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศให้กับสินค้าโอทอปไทย ที่มีการพัฒนารูปแบบ และดีไซน์ให้ทันสมัย ตอบรับแนวโน้มสินค้าและความต้องการของผู้บริโภค ที่สำคัญคือไม่ทิ้งภูมิปัญญาและอัตลักษณ์แห่งท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของสินค้าไลฟ์สไตล์แบรนด์ไทยที่ครองใจผู้ซื้อไปทั่วโลก

นี่คือส่วนหนึ่งของสินค้าโอทอปจากผู้ประกอบการไทย จาก 4 ภูมิภาคทั่วไทย ซึ่งจะร่วมจัดแสดงภายในงาน STYLE Bangkok เดือนเมษายน ณ โซน OTOP for Export หรือโอทอปเพื่อการส่งออก บริเวณฮอลล์ EH 99 ของไบเทค บางนา

กลุ่มผ้าปักด้วยมือ บ้านสันกอง จังหวัดเชียงราย โดยมีป้านิธี สุธรรมรักษ์ เป็นผู้นำสร้างสรรงานปักผ้าด้วยมือโชว์ลวดลายสะท้อนวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตชนบท และลวดลายธรรมชาติในท้องถิ่น งานแต่ละชิ้นละเอียดละออสวยงาม โดยมีแรงบันดาลใจที่ต้องการจะนำวิถีชีวิตชนบทมาปักลงบนผ้าถ่ายทอดเรื่องราวชุมชนให้คนได้รับรู้ และหวังให้เป็นจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ในเรื่องวิถีของชุมชน

มิสเตอร์ลีฟ สินค้าโอทอปที่ผสมผสานแนวคิดรักษ์โลก โดยการนำวัตถุดิบธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น คือใบตองตึง ซึ่งผูกพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทยทางภาคเหนือ มาเสริมเติมนวัตกรรมการผลิต พร้อมสอดแทรกดีไซน์ที่โดดเด่นและโมเดิร์น ให้ถูกใจคนทุกวัย ซึ่งคุณปรเมศร์ สายอุปราช ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีฟ ครีเอชั่น จำกัด มั่นใจว่า การสร้างผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ด้วยนำสิ่งที่เหลือใช้จากธรรมชาติ ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ เมื่อออกสู่ตลาดโลกไม่เพียงจะถูกใจตลาด แต่จะสามารถช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์ไทยอีกด้วย

ศิญดา ผ้าทอ เชียงใหม่ เพิ่มคุณค่าศิลปะของชิ้นงานด้วยผ้าทอวัตถุดิบผ้าฝ้ายย้อมสีที่จากเดิมนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อบุรุษ เสื้อสตรี ผ้าถุงและชุดสำเร็จรูป นำมาพัฒนาผสมงานปักมือลวดลายต่างๆและฝีมือการตัดเย็บด้วยการด้นมือหมดทั้งตัวของผ้าชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆซึ่งมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ สีสันสวยงามโดดเด่น ทำให้กระเป๋าแบรนด์ศิญดา ผ้าทอ สวยงาม แปลกใหม่และมีเอกลักษณ์ที่เป็นตัวของตัวเอง และมุ่งพัฒนารูปแบบกระเป๋าให้มีความหลากหลาย ให้ผู้ใช้ได้เลือกทั้งดีไซน์ และรูปแบบที่ถูกใจถือ ซึ่งลวดลายงานปักลายของชาวเขาเผ่าต่างๆ มีลวดลายการปักมือละเอียดสวยงาม มีเอกลักษณ์โดดเด่น และมีคุณค่าทางจิตใจอย่างยิ่ง

"เราส่งเสริมกลุ่มฝีมือแรงงานเป็นกลุ่มชาวเขาในอำเภอจอมทอง และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีฝีมือในการปักมืออย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มนี้มีความเชี่ยวชาญ ปักผ้าด้วยความรัก ใส่ใจทุกรายละเอียดของฝีเข็ม จึงสร้างสรรค์ลวดลายปักในแบบแปลกใหม่เรื่อยๆเพราะมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สินค้า ประกอบกับมีความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มความประทับใจของลูกค้าที่ชื่นชอบและเห็นคุณค่าของงานฝีมือเหล่นี้" ศิญดา จิระเพชรอำไพ เจ้าของและหัวหน้ากลุ่ม

ผ้าฝ้ายทอมือ เข็นมือ ย้อมสีธรรมชาติ ขอนแก่น แบรนด์ JUTATIP เป็นการนำองค์ความรู้พื้นบ้านมาพัฒนาเป็นสินค้ายอดนิยมในหมู่คนทุกวัย มีความแตกต่างด้วยการรักษาภูมิปัญญาชาวบ้าน วิธีการเข็นฝ้ายด้วยมือ การทอผ้าด้วยเทคนิคเกาะล้วงและเทคนิคจกผ้าแบบโบราญที่กำลังจะสูญหาย ผลักดันให้ชุมชนเรียนรู้และอนุรักษ์ฟื้นฟู อาทิ การเข็นฝ้าย การย้อมเส้นฝ้ายด้วยวัตถุดิบสีธรรมชาติในท้องถิ่น

"เราสร้างเครือข่ายผู้ผลิตที่สนใจผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยการรับผลิตเส้นใยฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ และรับทอผ้าลายตามออเดอร์ จากในและต่างประเทศ ซึ่งส่งเสริมให้แนวทางของสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขยายวงกว้างขึ้น รวมทั้งการสร้างกลุ่มผู้สนใจใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้รักงานคราฟท์ ภายใต้แบรนด์ JUTATIP และยังสร้างให้ JUTATHIP เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมนักศึกษาที่เรียนสาขาที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็พยายามปลุกกระแสความสนใจของคนรุ่นใหม่ต่อชุมชนของตนเอง โดยการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่บ้าน เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ครอบครัวเข้มแข็ง และไม่ทิ้งท้องถิ่นไปขายแรงงานที่อื่น" คุณจุฑาทิพ ไชยสุริยะ เจ้าของและหัวหน้ากลุ่ม

กลุ่มเตยปาหนัน กระบี่ สินค้าโอทอปจากแดนปักษ์ใต้ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีจุดเริ่มต้นง่ายๆ เพียงเพราะสมัยก่อนชุมชนไม่มีหมอน เสื่อ ที่จะปูนอน คนในชุมชนจึงมองเห็นวัตถุดิบในท้องถิ่น และคิดนำมาผลิตใช้ในครัวเรือนและใช้ในงานพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช จนสืบทอดกันมา และปัจจุบัน เตยปาหนัน ได้พัฒนาเป็นสินค้าโอทอปที่มีลวดลาย สีสันอันหลากหลายและมีเอกลักษณ์ เช่น กระเป๋า หมวก เสื่อ สร้างงานสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

งาน STYLE Bangkok เดือนเมษายน จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน ณ ไบเทค บางนา โดยเปิดเป็นวันเจรจาธุรกิจ 17-19 เมษายน เวลา 10.00-18.00 น. และเปิดสำหรับประชาชนทั่วไป วันเสาร์ที่ 20 และวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน เวลา 10.00-21.00 น. ชมข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าได้ที่ www.stylebangkokfair.com หรือโทรสายตรงกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 1169

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๑ ไทยเครดิตรายงานผลประกอบการปี 2567 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,624.0 ล้านบาท
๐๙:๔๑ หมอหมีขอเม้าท์! เผยสูตรลับสุขภาพดีด้วยตัวเอง ตามแบบฉบับ เม้าท์กับหมอหมี
๐๙:๑๖ แอ็กซอลตา ประกาศเทรนด์สีรถยนต์ปี 2025 ได้แก่ สีเอเวอร์กรีน สปรินท์ (Evergreen Sprint)
๐๙:๓๔ เกาะติดเลือกตั้ง อบจ. 68 กับไทยพีบีเอส เสียงท้องถิ่นชี้อนาคตประเทศไทย
๐๙:๑๙ น่ารักจนใจเจ็บ! Harupiii อินฟลูญี่ปุ่นรักไทย เปลี่ยนวลีดัง ทำไมทำไม สู่เพลงใหม่ยอดวิวถล่มทลาย
๐๙:๓๔ การแข่งขัน MUICT ENVI Mahidol Hackathon 2025 ภายใต้หัวข้อ : Digital Innovation for Carbon Neutrality Society
๐๙:๒๔ จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่สินค้าส่งออก เครื่องเคลือบจากอำเภออี้หนาน มณฑลซานตง โด่งดังไกลถึงต่างแดน
๐๙:๓๘ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ปี 2567 จำนวน 2,852.1 ล้านบาท เติบโต 77.7%
๐๙:๕๔ RBF สานพลังปลูกป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู ร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน ในโครงการ RBF GREEN VOLUNTEER ปีที่
๐๙:๐๖ ต้อนรับความมั่งคั่งและโชคลาภ พร้อมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนที่โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ