ช่องโหว่คือมัลแวร์ประเภทหนึ่งที่มีอันตรายมาก เพราะเป็นสิ่งที่เปิดทางให้ผู้โจมตีสามารถเข้าทำการควบคุมเครื่องจักรที่ติดมัลแวร์ได้โดยตรงเพื่อจุดประสงค์ร้ายต่าง ๆ แม้ว่าการนำเสนอสิทธิพิเศษจากเว็บไซต์ภายนอกที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเรื่องที่ยากจะหลบซ่อนจากโซลูชั่นด้านความปลอดภัยของระบบ อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่ที่ใช้บั้ก (Bug) ในระบบซึ่งโซลูชั่นยังไม่เคยรู้จักมาก่อน (ซึ่งเรียกช่องโหว่แบบนี้ว่า Zero-day Vulnerability) จะมีโอกาสสูงมากในการรอดพ้นจากการตรวจจับของโซลูชั่น เพราะโซลูชั่นด้านความปลอดภัยทั่วไปจะไม่สามารถจดจำการติดมัลแวร์ของระบบหรือปกป้องผู้ใช้งานจากการโจมตีที่ยังไม่รู้จักได้
กระนั้น เทคโนโลยีการป้องกันช่องโหว่ (Exploit Prevention) ของแคสเปอร์สกี แล็บ ก็สามารถตรวจจับความพยายามของการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ โดยรูปแบบการโจมตีที่ตรวจพบคือ เมื่อไฟล์นามสกุล .exe ที่เป็นอันตรายเริ่มต้นทำงาน มันจะเริ่มการติดตั้งมัลแวร์ การโจมตีจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่แบบ Zero-day Vulnerability และใช้เอกสิทธิ์การคงอยู่อย่างถาวรในเครื่องจักรของเหยื่อ หลังจากนั้น มัลแวร์จะเริ่มต้นการทำงานของช่องโหว่ที่สร้างขึ้นจากองค์ประกอบหลักในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในเครื่องจักรทุกเครื่องที่ใช้งานระบบปฏิบัติงานนี้ในรูปแบบโครงสร้างคำสั่งขนาดเล็ก (Scripting framework) ที่เรียกว่า Windows PowerShell ด้วยวิธีการนี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถแฝงตัวอย่างลับ ๆ และหลบเลี่ยงการตรวจจับได้ ทำให้พวกมันมีเวลาในการเขียนรหัสสำหรับสร้างเครื่องมือโจมตี หลังจากนั้น มัลแวร์จะดาวน์โหลดช่องโหว่อีกอันจากบริการจัดเก็บข้อความในระบบที่ถูกใช้งานบ่อย ซึ่งทำให้อาชญกรสามารถเข้ามาควบคุมระบบที่ติดมัลแวร์ได้ทั้งหมดแบบเบ็ดเสร็จ
"สำหรับการโจมตีรูปแบบนี้ เราสังเกตพบ 2 แนวโน้มหลักที่มักพบเห็นในอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Advanced Persistent Threats - APTs) แนวโน้มแรกคือการใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษของเว็บไซต์ภายนอกที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อการคงอยู่ในเครื่องจักรของเหยื่ออย่างถาวร แนวโน้มที่สองคือการใช้โครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระบบ เช่น Windows PowerShell เพื่อการโจมตีเครื่องจักรของเหยื่อ การผสานแนวโน้มทั้งสองนี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถสร้างทางลัดหลบเลี่ยงโซลูชั่นด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานได้ ซึ่งในการตรวจจับเทคนิคเหล่านี้ โซลูชั่นด้านความปลอดภัยจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการป้องกันช่องโหว่ (Exploit Prevention) และเครื่องจักรสำหรับการตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติในการใช้งานเว็บไซต์" อันทอน อิวานอฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยแห่ง แคสเปอร์สกี แล็บ อธิบาย
ผลิตภัณฑ์ของ แคสเปอร์สกี แล็บ สามารถตรวจจับการหาประโยชน์โดยมิชอบได้ ในรูปแบบของ:
*HEUR:Exploit.Win32.Generic
*HEUR:Trojan.Win32.Generic
*PDM:Exploit.Win32.Generic
ช่องโหว่นี้ได้ถูกรายงานกับทางไมโครซอฟต์และได้มีการออกโปรแกรมซ่อมแซมจุดบกพร่องในระบบ (Patch) เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา
แคสเปอร์สกี แล็บ ยังได้แนะนำมาตรการเพื่อป้องกันการสร้างช่องโหว่แบบ Zero-day Vulnerability ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ดังนี้
*เมื่อช่องโหว่ถูกปิดและมีการดาวน์โหลดโปรแกรม Patch เพื่อแก้ไขระบบ ผู้โจมตีจะหมดโอกาสในการใช้งานช่องโหว่นั้น จึงควรติดตั้ง Patch ของไมโครซอฟต์เพื่อปิดช่องโหว่ใหม่ให้เร็วที่สุด
*หากคุณวิตกกังวลถึงความปลอดภัยขององค์กรของคุณในภาพรวม จงมั่นใจว่าซอฟต์แวร์ทุกตัวได้รับการอัพเดตทันทีที่มีการปล่อย Patch ด้านความปลอดภัยตัวใหม่ออกมา และใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่มีการประเมินช่องโหว่และการจัดการ Patch เพื่อให้มั่นใจได้ว่าขั้นตอนเหล่านี้จะทำงานโดยอัตโนมัติ
*ใช้โซลูชั่นที่ผ่านการพิสูจน์แล้วซึ่งมีความสามารถในการตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อการป้องกันการโจมตีที่ยังไม่รู้จัก อาทิ โซลูชั่น Kaspersky Endpoint Security
*มั่นใจว่าทีมงานด้านความปลอดภัยของคุณสามารถเข้าถึงข่าวสารภัยคุกคามอัจฉริยะที่มีข้อมูลเป็นปัจจุบัน โดยลูกค้าของ Kaspersky Intelligence Reporting สามารถรับรายงานข่าวสารเรื่องการพัฒนาในแวดวงภัยคุกคามล่าสุด หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติตต่อที่ [email protected]
*สิ่งสุดท้าย มั่นใจว่าพนักงานของคุณได้รับการฝึกอบรมในเรื่องพื้นฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
อ่านรายละเอียดทั้งหมดในเรื่องช่องโหว่ในระบบได้ที่ Securelist
หากต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ช่วยตรวจจับช่องโหว่รูปแบบ Zero-days Vulnerability รวมถึงช่องโหว่รูปแบบอื่น ๆ ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ สามารถดูจากคลิปไฟล์ เว็บบินาร์ ของแคสเปอร์สกี แล็บ ได้