ดีป้าจัดโรดโชว์พบผู้นำเมืองทั่วประเทศ เวิร์คช้อปข้อมูลเข้มข้น ผลักดันพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

จันทร์ ๒๒ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๓:๔๔
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) หรือ ดีป้า กล่าวว่า ตามที่ คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง เป็นประธาน ได้จัดกิจกรรมเปิดตัว "Smart City Thailand Takeoff" เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเมืองอัจฉริยะ พร้อมเผยแพร่แนวทางการขับเคลื่อนให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย ดีป้า ในฐานะเลขานุการร่วม ในคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้รับมอบหมายให้ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครเมืองอัจฉริยะทุกภูมิภาคทั่วประเทศและส่งเสริมให้พื้นที่ได้รับการประกาศเขตเป็นพื้นที่ สมาร์ทซิตี้ ให้กับผู้นำเมือง หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาเมือง ได้กำหนดจัดกิจกรรม "สมาร์ทซิตี้ไทยแลนด์โรดโชว์" (Smart City Thailand Road Show) ระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2562 จำนวน 6 ครั้ง ประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น ยะลา พิษณุโลก กระบี่ ชลบุรี และกรุงเทพฯ

"โดยกิจกรรมสำคัญ คือ การให้ข้อมูลภาพรวมโครงการ การแนะนำหลักเกณฑ์ และขั้นตอนการสมัครเป็นเมืองอัจฉริยะ รวมถึงการอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมในครั้งนี้จะสร้างโอกาสครั้งสำคัญสำหรับเมืองต่างๆ ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวก หวังจะให้ประชาชนเข้าถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปพัฒนาและปรับเปลี่ยนกิจกรรม ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป สำหรับรายละเอียดและการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม สามารถติดตามได้ที่ www.smartcitythailand..or.th" ดร.ณัฐพล กล่าว

ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์และประเภทของเมืองอัจฉริยะ โดยแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ 1. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ และประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ โดยจะผลักดันเมืองเป้าหมายเป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านใดด้านหนึ่งบนฐานนวัตกรรม เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น 2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกอันเป็นพลังงานสะอาด (Renewable Energy) เช่น เชื้อเพลงชีวมวล ไฟฟ้า จากขยะ ของเสีย ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ เป็นต้น 4. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวัง สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การบริหารจัดการของเสีย และการเฝ้าระวังภัยภิบัติ ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 5.พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้นอกระบบ รวมถึงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความหลากหลายทางสังคม 6.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเพิ่มความปลอดภัยของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม ไปจนถึงการส่งเสริมให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม และ 7.การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) เป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริกาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ผอ.ดีป้า กล่าวด้วยว่า การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองเดิม โดยมีการนำร่องในหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา รวม 7 จังหวัด 10 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (ย่านพหลโยธิน และย่านปทุมวัน) จังหวัดภูเก็ต (เทศบาลเมือง) จังหวัดเชียงใหม่ (ย่านนิมมานเหมินท์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) จังหวัดขอนแก่น (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) จังหวัดฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) จังหวัดชลบุรี (นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร และท่าเรือแหลมฉบัง) จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และความเข้าใจของประชาชนในพื้นที่ ทำให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในพื้นที่นำร่อง มีความก้าวหน้า โดยสามารถถอดบทเรียน กำหนดปัจจัยความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และเพิ่มเติมในส่วนเมืองใหม่ ใน 8 จังหวัด 15 พื้นที่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Smart EEC) กรุงเทพฯ และปริมณฑล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ