บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS ระบุว่า ฝ่ายวิจัยมองดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ SET Index ยังคงผันผวน จากปัจจัยทางการเมือง และโอกาศการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดกรณีสัดส่วนใกล้เคียงกันระหว่างจำนวน ส.ส.ฝ่ายค้าน และการปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนของ Bloomberg Consensus ซึ่งจะทำให้ EPS ของ SET Index ปรับตัวลดลง และ P/E ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งการปรับขึ้นของดัชนีจะเป็นเป้าหมายของการขายทำกำไรท่ามกลางความผันผวนจากดัชนีมีโอกาสย่อตัวเข้าหาแนวรับ 1,650 จุด
ดังนั้นฝ่ายวิจัย AECS มองว่า เป็นโอกาสเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มหุ้นกระแสเงินสดแข็งแรง 4 กลุ่ม อาทิ กลุ่มหุ้นกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นเราเลือกหุ้นที่มีความมั่นคง ทางกระแสเงินสดและมีลักษณะคล้าย Fixed Income ได้แก่ กลุ่มพลังงานทางเลือก แนะนำ หุ้น BGRIM เนื่องจากบริษัทตั้งเป้ารายได้โต 15-20% จากปีก่อน หลังรับรู้รายได้โครงการ ABPR3, ABPR4 และ ABPR5 กำลังการผลิตไฟรวม 399 MW เต็มปี บวกกับมีโครงการใหญ่ที่จะ COD ในปี 62 ทั้งโครงการ Solar DTE1&2 กำลังการผลิต 420MW และโครงการ Phu Yen TTP อีก 257 MW ซึ่งบริษัทคาดเริ่ม COD ในช่วง 2H62 หุ้น SSP คาดปี 62 ตั้งเป้า COD เพิ่มอีก 65.6 MW จากโซลาฟาร์มมองโกเลีย 16 MW และโซลาร์ฟาร์มเวียดนาม 49.6MW ส่งผลให้สิ้นปี กำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็ น 157.1MW จากปี 61 ที่90.4MW
นอกจากนี้ ยังแนะนำ กลุ่มท่องเที่ยว อานิสงส์บวกจากการท่องเที่ยวในประเทศที่คึกคัก แนะนำ หุ้น AOT เนื่องจากช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาแนวโน้มผู้โดยสารจะโต จากปีก่อน แล้วในช่วง ม.ค.-ก.พ. 62 เผยจำนวนเที่ยวบินโต 5.59%จากปีก่อน และจำนวนผู้โดยสารโต 3.47%จากปีก่อน ขณะที่ หุ้น ERW ตั้งเป้ารายได้ปี 62 โต 10-15%จากปีก่อน หนุนด้วยแผนเปิดโรงแรมใหม่ 9 แห่งให้ปีนี้ โดยแบ่งเป็นโรงแรม Hop Inn 7 แห่ง 573 ห้อง และโรงแรมขนาดกลาง 2 แห่งจำนวนห้องรวม 501 ห้อง อีกทั้งตั้งเป้า Rev Par ไม่รวม Hop Inn โต 3-5%จากปีก่อน และOccupancy Rate ที่ 80% ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มโตต่อเนื่อง
กลุ่มนิคมและโลจิสติกส์ กลุ่มนิคม อานิสงส์บวกทั้ง ราคาขายและยอดขายพื้น ที่ในเขต EEC โตเด่นแนะนำ หุ้น AMATA ปัจจุบันมีพื้น ที่รอการขาย 2,274 ไร่, พื้นที่รอการพัฒนาอีกราว 8,837 ไร่และ ที่ดินสำหรับ Commercial Area รวม 1,227 ไร่ โดยตั้งเป้ายอดขายที่ดินปีนี้ไว้ที่ 1,005 ไร่จากปีก่อน ที่มียอดขายรวม 863 ไร่ อีกทั้ง หุ้น WHA คาดได้แรงหนุนจากธุรกิจนิคมและโลจิสติกส์ที่เติบโตดี โดยบริษัทตั้งเป้าขายที่ดินใหม่ 1,600 ไร่ จากปีก่อน มียอดขาย 1,232 ไร่ หลังล่าสุดเปิดตัวนิคมแห่งใหม่พื้นที่ 2,000 ไร่ ซึ่งมีลูกค้าจีนเตรียมเซ็นสัญญาซื้อแล้วราว 285 ไร่ พร้อมปรับราคาขายและค่าเช่าที่ดินในเขต EEC ขึ้นอีก 10% นอกจากนี้มองกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ได้อานิสงส์บวกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานของประเทศ แนะนำ หุ้น BEM ตั้งเป้าปีนี้ธุรกิจรถไฟฟ้าจะเติบโต 5-7%จากปีก่อน จากปี ก่อนมีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 3.1 แสนเที่ยวคน/วัน ทั้งนี้ตั้งเป้าปี 64 จำนวนผู้โดยสารจะแตะ 5-5.5 แสนเที่ยวคน/วัน จากการเปิดเดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-หลักสอง ก.ย. 62 และช่วงเตาปูน-ท่าพระ มี.ค. 63 ส่วนปริมาณจราจรบนทางด่วนปี นี้ตั้งเป้าเติบโต 1-2%จากปีก่อน ใกล้เคียงปีก่อนที่เติบโต1.3%จากปีก่อน
ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาล มองเป็นหุ้นกลุ่ม Defensive ที่น่าสนใจยามตลาดผันผวน จากกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ไม่ผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเราคัดกรองหุ้นจากข้อมูลของ Bloomberg Consensus ที่มี Earning Growth ปี 62 โต และยังมี Upside เลือก หุ้น EKH คาดปี 62 ตั้งเป้ารายได้โตหนุนด้วยการเปิดให้บริการศูนย์ผู้มีบุตรยาก (IVF) พระราม 9 สามารถให้บริการได้เต็มปี ทำให้สามารถรองรับคนไข้เข้ามาใช้บริการได้เพิ่มขึ้นจาก 300 ราย/ปี จากเดิมที่ 200 ราย/ปี นอกจากนี้เตรียมเปิดอาคารกุมารเวชแห่งใหม่ในช่วงต้นปี 62 ซึ่งจะมีจำนวนห้องและเตียงเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 53 เตียงจากเดิมที่มี 86 เตียง หุ้น BCH ได้รับแรงหนุนจากการปรับปรุงโรงพยาบาลในเครือ และการเพิ่มศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ พร้อมกับแนวโน้มสดใสของ WMC และ IVF หุ้น BDMS คาดกำไรปี 62 โต จากปีก่อน จากแผนยกระดับการให้บริการที่เน้นกลุ่มโรคซับซ้อนมากขึ้น และพัฒนาการของโครงการ Wellness Clinic รวมทั้งคาดมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้น RAM ซึ่งคาดจะบันทึกในช่วง 1Q/62 (4.6 ล้านหุ้น ที่ราคา 2,800 บาท/หุ้น) ซึ่งบริษัทมีแผนจะนำมาชำระหนี้เพื่อลดภาระทางการเงินอีกด้วย
ส่วนปัจจัยต่างประเทศยังคง อยู่ในช่วงประกาศผลประกอบการของ บมจ. ของสหรัฐฯ จากข้อมูลของ Factset รายงานว่า บริษัทที่รายงานผลประกอบการแล้วคิดเป็น 15% ของดัชนี S&P500 และบริษัทที่รายงานผลประกอบการแล้ว 78% มีผลกำไรมากกว่าที่ตลาดคาด โดยยังเหลือบริษัทอีก 85% ของดัชนี S&P500 ยังไม่ได้รายงาน ดังนั้น ดัชนีหุ้นยังมีโอกาสผันผวนตามทิศทางกำไรของหุ้นที่จะทยอยประกาศออกมา
อย่างไรก็ตาม ยังคงเฝ้าติดตามจับตาตัวเลข GDP ประมาณการครั้งที่ 1 ช่วง 1Q/62 ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันที่ 26 เม.ย. คาดไม่ได้แย่กว่าครั้งก่อนหน้าที่ระดับ 2.2% เนื่องจาก เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของตัวเลข ศก. โดยสหรัฐฯรายงานยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 1.6% จากเดือนก่อน พลิกกลับมาเป็นบวกและสุดในรอบ 1 ปี บวกกับ การฟื้นตัวของ ศก. จีน GDP ช่วง 1Q62 เพิ่มขึ้น 6.4%จากปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 8.5%จากปีก่อน และยอดค้าปลีกเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 8.7%จากปีก่อน อย่างไรก็ดียังมีความเสี่ยงจาก 1) รายงานการประชุม FED ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2562 เหลือ 2.1% และปี 2563 เหลือเพียง 1.9% 2) เศรษฐกิจยุโรป ยังคงอ่อนแอจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ที่ประกาศออกมาต่ำกว่า 50 อยู่ที่ระดับ 47.8