ฟิทช์ เรทติ้งส์: อันดับเครดิตของ บมจ.โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) ยังไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการลงโทษทางแพ่ง

ศุกร์ ๒๖ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๗:๔๙
ฟิทช์กล่าวว่า อันดับเครดิตของ บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL (อันเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A-(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) ยังไม่น่าจะได้รับผลกระทบในทันทีจากมาตรการลงโทษทางแพ่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ก.ล.ต. ต่อ กรรมการ และผู้บริหารของ PTL และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ซึ่งได้แก่ บริษัทโพลีเพล็กซ์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด หรือ PCL มาตรการลงโทษทางแพ่งดังกล่าวไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานของ PTL ในขณะที่ผลกระทบทางการเงินจากค่าปรับอยู่ในระดับที่น้อย เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดของ PCL

การกระทำผิดกฏระเบียบของ ก.ล.ต. ในเรื่องการใช้ข้อมูลภายในโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ในการซื้อหุ้น PTL ในปี 2559 ตามคำวินิจฉัยของ ก.ล.ต. ได้สะท้อนภาพในแง่ลบในเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทให้เป็นธรรมและโปร่งใส โดยเฉพาะประสิทธิผลของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท โดยความเสี่ยงดังกล่าวอาจจะจำกัดหรือมีผลทางลบต่ออันดับเครดิตของ PTL ได้ถ้าไม่ถูกจัดการแก้ไข ฟิทช์จะติดตามมาตรการของ PCL และ PTL ในการป้องกันมิให้การกระทำผิดเกิดขึ้นอีก PTL ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว และกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท

ก.ล.ต. ยังกำลังพิจารณาลงโทษให้กรรมการ 3 คน และผู้บริหาร 2 คน ของ PTL พ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการต่อไป PCL มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของ PTL ผ่านทางคณะกรรมการบริษัทฯและคณะผู้บริหารของทั้งสองบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยกรรมการ 4 คนจากทั้งหมด 8 คน และผู้บริหารระดับสูงหลัก ซึ่งรวมถึงกรรมการผู้จัดการของ PTL ได้รับการแต่งตั้งโดย PCL

กรรมการและผู้บริหารของ PTL, PCL และบริษัท โพลีเพล็กซ์ (เอเชีย) จำกัด หรือ PAPL ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย PCL จะต้องชำระค่าปรับทางแพ่ง และ PAPL จะต้องส่งคืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดดังกล่าว จำนวนเงินรวมทั้งสินประมาณ 53 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของ PCL โดย PCL มีเงินสดจำนวน 7.8 พันล้านรูปีอินเดีย (เทียบเท่า 3.6 พันล้านบาท) สำหรับงบการเงินรวม ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 อย่างไรก็ตาม หนี้ส่วนใหญ่ของ PTL เป็นหนี้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ซึ่งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ถึงแม้ว่าบริษัทจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบันการเงินหลายแห่ง แต่ความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินต่อบริษัทที่อาจลดลงจากเหตุการณ์ดังกล่าว อาจเพิ่มความเสี่ยงในการจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่เพื่อชำระคืนหนี้เดิมได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ