คุณวรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท มิว สเปซ ได้กล่าวว่า "เราได้ยื่นข้อเสนอโครงการในการที่จะเข้าร่วมกับโครงการอวกาศของนาซ่าเพื่อแสดงถึงศักยภาพของบริษัทในการเข้าร่วมโครงการระดับโลก และเพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีที่เราได้ทำการพัฒนานั้นสามารถนำมาใช้ได้จริง"
จากข้อมูลขององค์การนาซ่า โครงการสำรวจอวกาศต่างๆ ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 10.5 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ (ประมาณสามแสนสามหมื่นห้าพันล้านบาท) ซึ่งเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของงบประมาณทั้งหมดที่สหรัฐอเมริกาได้จัดสรรให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศต่างๆ ของประเทศที่ 19.9 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ (ประมาณหกแสนสามหมื่นสี่พันล้านบาท) โดยหนึ่งในโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่นาซ่าได้มีการประกาศล่าสุดคือ การพัฒนาระบบการลงจอดของยานอวกาศ (Human Landing System) ที่มุ่งหวังจะให้การลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์นั้นมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในอนาคต
คุณวรายุทธได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "โครงการที่เราได้นำเสนอแก่นาซ่านั้น จะเป็นโครงการพัฒนาระบบนำทางการลงจอดบนของยานอวกาศบนพื้นผิวของดวงจันทร์ที่มีความแม่นยำและสามารถตรวจจับพื้นที่อันตรายต่างๆ ได้ ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นจะทำการเลือกพื้นผิวที่มีความปลอดภัยบนดวงจันทร์เพื่อทำการลงจอด โดยการพัฒนาระบบลงจอดดังกล่าว จะทำให้เกิดการลงจอดที่ปลอดภัยและแม่นยำในพื้นที่ที่มีสภาวะแตกต่างกันออกไปบนดวงจันทร์"
สำหรับผลผู้ชนะในการยื่นข้อเสนอโครงการนั้น ทางนาซ่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2019
"เราได้เตรียมความพร้อม 100% สำหรับโครงการของนาซ่า" คุณวรายุทธกล่าวเน้นย้ำ "เรามีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างการดำเนินงานที่จะพลิกโฉมการสำรวจดวงจันทร์"
"สิ่งที่สอดคล้องกับโครงการของนาซ่า คือ เราได้ถือโอกาสนี้ในการทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการอัตโนมัติ (autonomous systems) และเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D printing) ซึ่งผมคิดว่าสิ่งเทคโนโลยีหล่านี้จะเติบโตเป็นอย่างมากในอนาคต และผมก็เห็นโอกาสความเป็นไปได้ทางธุรกิจของทั้งสองสิ่งนี้ในอนาคต" คุณวรายุทธกล่าวเพิ่มเติม
บริษัท มิว สเปซ นั้น ได้ก่อตั้งในปี 2017 โดยเป็นผู้พัฒนาดาวเทียมสื่อสารและเทคโนโลยีอวกาศเพื่อเร่งให้เกิดการนำอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) มาปรับใช้เข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการทำเมืองอัจฉริยะ ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีแผนจะส่งดาวเทียมของตัวเองขึ้นสู่วงโคจรในปี 2021 และเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านอวกาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค