"ปัจจุบันทัศนคติที่มีต่อเกมได้เปลี่ยนแปลงไป ในอดีตการเล่นเกมมักตกเป็นจำเลยของสังคมอยู่ทุกยุคทุกสมัย แต่ขณะเดียวกันหากกิจกรรมดังกล่าวถูกพัฒนาอย่างถูกต้อง มีแบบแผน เยาวชน หรือ ผู้ที่สนใ ที่อยู่ในแวดวงดังกล่าว จะเป็นอีกกลุ่มอาชีพที่สามารถเติบโตได้ในยุคปัจจุบัน เห็นได้จากการเคลื่อนไหวของภาครัฐที่ได้ก่อตั้งสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย และ การบรรจุ E-sport เป็นกีฬา เพื่อการแข่งขันอีกชนิดหนึ่งโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งเริ่มเปิดหลักสูตรการเรียนที่เกี่ยวกับ E-sport หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และ เอกชน ล้วนให้การสนับสนุนในประเด็นนี้มากเพิ่มขึ้น สำนักหอสมุด และ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าว และมองว่า ถึงแม้ว่า E-sport จะได้ชื่อว่าเป็นเกมแต่หากนโยบายภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา รวมไปถึงผู้ปกครอง สนับสนุน พัฒนาอย่างถูกต้อง และ มีแบบแผน E-sport ก็น่าจะเป็นพื้นที่ใหม่ในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศได้" ผศ.ดร. ศุภสิทธิ์ กล่าว
ผศ.ดร. ศุภสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า เนื่องจาก E-sport เป็นกีฬา ที่ได้สร้างระบบนิเวศให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นมาหลายอาชีพ เช่น นักพากย์เกม ผู้บรรยายการแข่งขัน ทีมงานถ่ายทอดสด เจ้าของสถานที่ที่ใช้จัดการแข่งขัน นักออกแบบเกม ผู้ดูแลเกม และ คนเบื้องหลังอีกหลายหน้าที่ เช่น ผู้จัดการทีม โค้ชนักวิเคราะห์ และ เจ้าหน้าที่คอยจัดการเรื่องต่างๆ ฉะนั้นหากสามารถใช้กีฬา E-sport เป็นแรงผลักดันและส่งเสริมเยาวชนไทยให้เล่นเกมอย่างถูกวิธี กิจกรรมดังกล่าวยังถือเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนและนักศึกษาเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการทำงานเป็นทีม การสร้างวินัยในตนเอง รู้จักการบริหารจัดการเวลาในการเรียน และ การเล่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นอีกกลไกลสำคัญในการสร้างเยาวชนให้รู้เท่าทันสื่อ ที่ไม่ได้ ใช้งานเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังสามรถฝึกฝนทักษะการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้อีกด้วย
ทั้งนี้การจัดงานประกอบด้วย การเสวนาเรื่อง "เรียน ยังไงให้เป็น เล่นยังไงให้ปัง โดยคณาจารย์นักศึกษา และ บุคลากรภายนอกที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ E-sport การจัด workshop และเกมโชว์จาก Gamer ที่มากด้วยประสบการณ์ และGame Challenge ซึ่งมี 2 เกม คือ PUBG และ ROV ซึ่งผู้ชนะในแต่ละ ประเภทจะได้ทุนการศึกษามูลค่า 1,500 บาท 1000บาท และ 500 บาทตามลำดับ