เกษตรฯ เดินเครื่องผลิตวิทยากร 3 สาร เตรียมส่งไม้ต่อ 3 หน่วยงานอบรมเกษตรกร

ศุกร์ ๐๓ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๐๐
กรมวิชาการเกษตร สร้างวิทยากร 3 สารล็อตแรกผ่านฉลุย ลุยสร้างต่อล็อต 2 อีก 2,000 คน ตั้งเป้าแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่งลงพื้นที่อบรมเกษตรกรพร้อมผู้รับจ้างพ่นสารทั่วประเทศ วางแผนดึงสมาคมที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นวิทยากรคู่กรมส่งเสริมการเกษตร

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้จัดอบรมหลักสูตรการใช้วัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส อย่างถูกต้องและปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิภาคจำนวน 240 คนเสร็จสิ้นแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ทั้ง 240 คนดังกล่าวจะต้องทำหน้าที่เป็นวิทยากรไปอบรมเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 2,000 คน ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติไปอบรมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1.5 ล้านคน ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ต่อไป

พร้อมกันนี้ กรมวิชาการเกษตร ยังมีแผนที่จะขอความร่วมมือสมาคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย เข้าร่วมรับการอบรมเป็นวิทยากรเพื่อไปอบรมเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด และไม้ผล ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนวิทยากรจากการยางแห่งประเทศไทยจะอบรมเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะอบรมเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย

สำหรับผู้รับจ้างพ่นสารทั้ง 3 ชนิดซึ่งมีจำนวน 50,000 คน วิทยากรจากกรมวิชาการเกษตรจะเป็นผู้จัดอบรมในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร (ศวพ.) ของกรมวิชาการเกษตรใน 54 จังหวัด โดยผู้รับจ้างพ่นจะต้องผ่านการทดสอบทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ รวมทั้งต้องเข้ารับการอบรมทุก 3 ปี และสารที่จะใช้พ่นต้องเป็นสารที่เกษตรกรผู้มีสิทธิ์ซื้อจัดหามาให้เท่านั้น

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้กรมวิชาการเกษตรอยู่ในระหว่างการสร้างวิทยากรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไปทำหน้าที่วิทยากรอบรมเกษตรกรและผู้รับจ้างพ่น ซึ่งการอบรมเพื่อสร้างวิทยากรจะแล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรและผู้รับจ้างพ่นเตรียมพร้อมที่จะเข้ารับการอบรมตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเกษตรกรที่จะเข้ารับการอบรมต้องมีทะเบียนเกษตรกร หรือหลักฐานแสดงพื้นที่ปลูกพืชที่มีความจำเป็นต้องใช้สารพาราควอตและไกลโฟเซต สำหรับกำจัดวัชพืชใน อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพดมันสำปะหลัง และไม้ผล และใช้คลอร์ไพริฟอสเพื่อกำจัดหนอนเจาะลำต้นใน ไม้ดอก พืชไร่ ไม้ผล ซึ่งต่อไปการซื้อสารทั้ง 3 ชนิดไปใช้เกษตรกรจะต้องซื้อจากร้านที่ได้รับอนุญาต แสดงหลักฐานผ่านการอบรม

พร้อมกับแสดงชนิดพืชที่ปลูก และพื้นที่ปลูก เพื่อกำหนดปริมาณวัตถุอันตรายที่จะซื้อได้ ส่วนผู้รับจ้างพ่นก็ต้องมีใบอนุญาตผ่านการอบรมแล้วเช่นเดียวกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ