ทีเซลส์ จับมือร่วมกับ มูลนิธิอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “สร้างสรรค์สังคมไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์” ครั้งที่ 10

ศุกร์ ๐๓ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๓๓
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับ มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ "สร้างสรรค์สังคมไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 10" วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2562 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องคริสตรัล บอมรูม ชั้น 2 โรงแรมตวันนา ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพฯ

ดร.ชรีย์พร ภูมา ผู้อำนวยการโปรแกรมเวชนครและสารสนเทศชีวการแพทย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า "ทีเซลส์ (TCELS) เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงการลดความเลื่อมล้ำในสังคมตามนโยบายรัฐบาล การอบรมครั้งนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทราบถึงการดูแลตนเองให้ห่างไกลอัลไซเมอร์ โดยปีนี้เป็นปีที่ 10 ที่ได้ดำเนินงานร่วมกับทางมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยเหลือสังคมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะบทบาทในการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ทีเซลส์ได้ร่วมดำเนินการร่วมกับทางมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการดำเนินงานในส่วนนี้ โดยเฉพาะเรื่องการดูแลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ"

"การอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทราบถึงการดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคอัลไซเมอร์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขามาร่วมงานกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับทางมูลนิธิฯ พัฒนาแอปพลิเคชัน (Application) "MEMO GAMING" ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยฝึกสมองด้านความจำ จดจำสิ่งต่างๆ วิเคราะห์รูปทรง จดจำตำแหน่งในภาพ ผ่านตัวการ์ตูนเพิ่มสีสันในสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพื่อเป็นการออกกำลังสมอง สามารถเกิดกิจกรรมในการออกกำลังสมองที่หลากหลาย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ สามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ที่ www.alz.or.th"

"แนวทางการดำเนินในอนาคตของทีเซลส์ (TCELS) จะมีการนำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์แบบองค์รวมมาใช้ เพื่อพัฒนางานบริการสำหรับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์กันการพลัดหลง หรือ ต้นแบบอุปกรณ์ที่ช่วยติดตามกิจกรรมของผู้สูงอายุ เพื่อประโยน์ทางการรักษา รวมถึงเทคโนโลยีการใช้สารสกัดธรรมชาติ หรือ ต้นแบบอุปกรณ์ทางเครื่องมือแพทย์ที่อำนวยความสะดวกด้านการรักษา สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้ใช้ได้จริงในอนาคต เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ" ดร.ชรีย์พร กล่าว

นพ.ยุทธ โพธารามิก ประธานมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า "กิจกรรมสร้างสรรค์สังคมไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 10 นี้ โดยมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย จับมือร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามให้มีการดำเนินงานในเชิงป้องกัน โดยเฉพาะปัญหาของโรคสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย มีความตั้งใจในการรณรงค์เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยของโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ และลดภาระของโรคที่เกิดขึ้น รวมถึงช่วยญาติพี่น้อง ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่ต้องเผชิญความยากลำบากต่างๆ ให้ก้าวผ่านปัญหาไปได้ด้วยดี"

ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ รองประธานกรรมการและเลขานุการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า "การจัดงานครั้งนี้ เกิดจากความตั้งใจและการสนับสนุนของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกระแสสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคอัลไซเมอร์ และให้ทุกส่วนร่วมมือ ร่วมใจกันแก้ไขปัญหา และให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันและดูแลตนเอง รวมถึงสามารถดูแลญาติและผู้ใกล้ชิดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม"

"การดำเนินโครงการ "สร้างสรรค์สังคมไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์" นั้น ทางมูลนิธิฯ ได้จัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ 10 แล้ว เป็นงานที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด โดยผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆ จนเกิดเป็นแนวคิดการดำเนินโครงการที่เรียกว่า "โรงเรียนผู้สูงอายุ" โดยหลังจากการบรรยายในช่วงเช้า จะมีการแบ่งกลุ่มหมุนเวียนเข้าร่วมกิจกรรมตามห้องเรียนต่างๆ ได้แก่

1. ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกกำลังสมอง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงความสำคัญของการฝึกสมอง อันจะส่งผลให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์

2. ห้องเรียนวิชาพลศึกษา เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้าง ร่างกายให้ผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุภาพ และการออกกำลังกายที่เหมาะกับวัย

3. ห้องเรียนวิชาเทคโนโลยีศึกษา เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น การใช้แอปพลิเคชันในการถ่ายภาพและตกแต่งภาพในสมาร์ทโฟน และแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่น่าสนใจเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและบทบาทของผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัย

4. ห้องเรียนวิชาคหกรรมศึกษา เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการฝึกทำอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย

5. ห้องเรียนวิชาสุขศึกษา เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นให้เกิดการผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสมกับวัย

6. ห้องเรียนวิชาดนตรีศึกษา เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับดนตรีบำบัด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นให้เกิดการผ่อนคลายด้านจิตใจ ด้วยดนตรีที่เหมาะสมกับวัย

เกร็ดความรู้ที่ได้รับในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ โดยคาดว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้กลับไปใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด และทางมูลนิธิฯ จะดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือสังคมผู้สูงอายุสืบต่อไป" ศ.พญ.นันทิกา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ