ซึ่งค่าความเค็มที่สูงเกินกว่า 0.75 กรัมต่อลิตร หรือค่าการนำไฟฟ้า (EC) สูงเกินกว่า 750 ไมโครซีเมนส์
ต่อเซนติเมตร เป็นเวลานานจะส่งผลให้รากกล้วยไม้เริ่มไหม้ ใบมีสีเหลืองและเริ่มเหี่ยว เนื้อเยื่อแห้ง
ไม่เจริญเติบโต และอาจรุนแรงทำให้กล้วยไม้ตายได้ในที่สุด
ปี 2562 ช่วงต้น ม.ค. มีน้ำเค็มรุกเข้าสวนเป็นระยะเวลาสั้นๆ แล้วกลับคืนสู่สภาพปกติ ล่าสุดยังไม่พบผลกระทบต่อสวนกล้วยไม้ แต่จากรายงานสถานการณ์ของกรมชลประทาน (30 เม.ย.62) เริ่มพบค่าความเค็มขยับสูงขึ้น แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้
ที่ประสบปัญหาฝนแล้ง - น้ำทะเลหนุนปะปนในแหล่งน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ หมั่นตรวจวัดค่าการนำไฟฟ้า
ของน้ำที่จะใช้รดกล้วยไม้หรือนำมาผสมปุ๋ย และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยใช้เครื่องวัด EC หรือ Salinity ตรวจวัดเอง หรือส่งน้ำไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานราชการ หากพบว่าแหล่งน้ำที่นำมารดกล้วยไม้ยังมีคุณภาพดี ให้สูบน้ำเข้ามาเก็บกักในบ่อพักให้เต็ม เพื่อสำรองไว้กรณีเกิดน้ำทะเลหนุน และควรรักษาระดับน้ำในบ่อพักน้ำในสวนกล้วยไม้ให้สูงกว่าระดับน้ำข้างนอก เพื่อดันไม่ให้น้ำจากข้างนอก
ที่อาจเป็นน้ำเค็มไหลซึมเข้ามา นอกจากนี้ ควรเพิ่มพื้นที่ในการเก็บกักน้ำ เช่น ขุดบ่อเพิ่ม หรือ เพิ่มความลึกของบ่อเดิม เพื่อให้เก็บกักได้มากขึ้น ประกอบกับปรับเปลี่ยนวิธีการให้น้ำอย่างประหยัด ด้วยหัวสปริงเกอร์แบบประหยัดน้ำที่มีอัตราการใช้น้ำ 100-120 ลิตร ต่อ 1 หัว ในเวลา 1 ชั่วโมง
นายสำราญ กล่าวเพิ่มเติมกรณีพบน้ำมีค่าความเค็มสูงขึ้นว่า ควรลดอัตราการผสมปุ๋ยลงจากเดิม เนื่องจากปุ๋ยเป็นเกลือชนิดหนึ่งซึ่งจะเพิ่มความเค็มของน้ำ หากน้ำที่ผสมปุ๋ยแล้วมีค่าความเค็มสูงเกินไป
ปุ๋ยจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่รากหรือต้นกล้วยไม้ และควรเพิ่มปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรองประเภทแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งสามารถลดความเป็นพิษของเกลือโซเดียมและคลอไรด์ในน้ำทะเลได้ในระดับหนึ่ง และปรับความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำให้อยู่ในช่วง pH 5.5 – 6.5 จะทำให้เกลือไบคาร์บอเนตในน้ำทะเลลดลงและ
ทำให้ธาตุอาหารต่าง ๆ ละลายออกมาในรูปที่เป็นประโยชน์กับกล้วยไม้มากขึ้น