ด้าน อาจารย์เสรี ชะนะ รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและพัฒนา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สงขลา กล่าวว่า หน่วยงานที่ได้รับรางวัลต้องดำเนินการผ่านหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. บริการเว็บไซต์ (Website) 2. บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) 3. บริการโดเมนเนม (DNS) 4. การเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ระบบโดเมน (DNSSEC)และ 5. IPv6 Ready Logo สำหรับเว็บไซต์ (IPv6 Logo) โดยบริการทั้งหมดต้องมีความเสถียรอย่างน้อย 80% ภายในช่วงเวลาที่มีการประเมินความพร้อม อันจะทำให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนาและให้บริการ และตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานและบริการที่รองรับ IPv6 ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.2559 มรภ.สงขลา เคยได้รับรางวัลเกียรติคุณในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมในการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6 (IPv6 Award 2016) จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (UniNet) ในงานการประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (WUNCA) ครั้งที่ 33 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ๒๓ พ.ย. "เกษตร" มรภ.สงขลา นำ นศ. เรียนรู้กระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ๒๓ พ.ย. มรภ.สงขลา ผนึก “ม.Sains Malaysia” ลงนามความร่วมมือแลกเปลี่ยนวิชาการ วัฒนธรรม เสริมสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา
- ๒๓ พ.ย. มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือด้านสหกิจฯ และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ผนึกเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาฯ ภาคใต้ตอนล่าง-บ.โปรทา จำกัด ปั้นบัณฑิตตอบโจทย์ตลาดงาน