สจล. โชว์ความพร้อมสถาบัน KOSEN – KMITL เตรียมเปิดสอนครั้งแรก พ.ค. นี้ เปิดตัวหัวกะทิ 24 คน รุ่นแรก เข้าศึกษา 5 ปี พร้อมทุนรัฐบาลเต็มจำนวน

จันทร์ ๑๓ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๒๗
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินหน้าเปิดตัวการเรียนการสอนสถาบัน "โคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล" อย่างเป็นทางการ ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อสร้างวิศวกรปฏิบัติการที่มีทักษะปฏิบัติการควบคู่กับองค์ความรู้ตรงตามความต้องการภาคอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งเป้าเป็นสถาบันหลักผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมเชี่ยวชาญพิเศษ พร้อมทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากรัฐบาล ร่วมทำโปรเจคและฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรมพาร์ทเนอร์ขนาดใหญ่ ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์จาก สจล. และจะได้รับการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตอบโจทย์ภาคการผลิตของไทยและการขับเคลื่อนนวัตกรรมสร้างสรรค์ ตามแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และยุทธศาสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน ทั้งนี้สถาบันดังกล่าวเตรียมเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2562 เดือนพฤษภาคมนี้ โดยมีนักเรียนหัวกะทิกลุ่มแรกจำนวน 24 คน ในสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ 5 ปี อย่างไรก็ตามสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติญี่ปุ่น ได้เปิดตัวการเรียนการสอนหลักสูตรโคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. kosen.kmitl.ac.th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/kmitlnews

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. กล่าวว่า ความคืบหน้าการจัดตั้งสถาบันโคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล บนความร่วมมือในการผลิตวิศวกรปฏิบัติการ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย และกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศญี่ปุ่น มีความพร้อมทำการเรียนการสอน 100% ในสถาบันโคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล และมีแนวทางการขยายวิทยาเขตเพิ่มเติมตามความพร้อมของสถาบันการศึกษาที่ต้องการเข้าร่วมในโครงการ ทั้งนี้ สถาบันโคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล ถือเป็นสถาบันหลักในการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ตอบโจทย์ภาคการผลิตของไทยและการขับเคลื่อนนวัตกรรมสร้างสรรค์ ตามแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ ตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน (Thailand Plus One) ของประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องการยกไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ รวมถึงการถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องผลิตวิศวกรปฏิบัติการสร้างความเชื่อมั่นให้กับญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า สำหรับในภาคการศึกษา 2562 มีนักเรียนหัวกะทิกลุ่มแรกที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 คน ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งเป็นหลักสูตร 5 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์จาก สจล. โดยยึดมาตรฐานตามสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ที่มีความเข้มข้นทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ควบคู่กับการเรียนรู้ในทักษะด้านสังคมและอารมณ์ เพื่อสร้างวิศวกรปฏิบัติการที่มีความสามารถสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ นักเรียนได้ทำโปรเจคและฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรมพาร์ทเนอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีอาจารย์ผู้สอนจากทั้งสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับอาจารย์ของไทยเป็นที่ปรึกษาควบคู่กัน

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการสถาบันโคเซ็น – เคเอ็มไอทีแอล กล่าวว่า หลักสูตรโคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล ภายใต้ความร่วมมือไทย – ญี่ปุ่น ได้นำร่องทำการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) หรือการเรียนด้านระบบอัตโนมัติ ซึ่งคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และสนใจศึกษาต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัตการที่มีความชำนาญเฉพาะสาขา ในช่วงก่อนสำเร็จการศึกษานักศึกษาจะได้เดินทางไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ นักเรียนรุ่นแรกของสถาบันโคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล จะได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากรัฐบาล และหลังจากสำเร็จการศึกษาสามารถเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีอีก 2 ปีในสถาบันชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งวิศวกรที่จบจากหลักสูตรโคเซ็นได้รับการยอมรับว่ามีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นทั้งภาคปฏิบัติ ควบคู่ทฤษฎี เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยนักเรียนในหลักสูตรดังกล่าว จะได้รับการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลกำหนด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติญี่ปุ่น ได้เปิดตัวการเรียนการสอนหลักสูตรโคเซ็น-เคเอ็มไอทีแอล (KOSEN- KMITL) อย่างเป็นทางการ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. kosen.kmitl.ac.th หรือติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/kmitlnews

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๑ ไทยเครดิตรายงานผลประกอบการปี 2567 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,624.0 ล้านบาท
๐๙:๔๑ หมอหมีขอเม้าท์! เผยสูตรลับสุขภาพดีด้วยตัวเอง ตามแบบฉบับ เม้าท์กับหมอหมี
๐๙:๑๖ แอ็กซอลตา ประกาศเทรนด์สีรถยนต์ปี 2025 ได้แก่ สีเอเวอร์กรีน สปรินท์ (Evergreen Sprint)
๐๙:๓๔ เกาะติดเลือกตั้ง อบจ. 68 กับไทยพีบีเอส เสียงท้องถิ่นชี้อนาคตประเทศไทย
๐๙:๑๙ น่ารักจนใจเจ็บ! Harupiii อินฟลูญี่ปุ่นรักไทย เปลี่ยนวลีดัง ทำไมทำไม สู่เพลงใหม่ยอดวิวถล่มทลาย
๐๙:๓๔ การแข่งขัน MUICT ENVI Mahidol Hackathon 2025 ภายใต้หัวข้อ : Digital Innovation for Carbon Neutrality Society
๐๙:๒๔ จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่สินค้าส่งออก เครื่องเคลือบจากอำเภออี้หนาน มณฑลซานตง โด่งดังไกลถึงต่างแดน
๐๙:๓๘ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ปี 2567 จำนวน 2,852.1 ล้านบาท เติบโต 77.7%
๐๙:๕๔ RBF สานพลังปลูกป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู ร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน ในโครงการ RBF GREEN VOLUNTEER ปีที่
๐๙:๐๖ ต้อนรับความมั่งคั่งและโชคลาภ พร้อมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนที่โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ