กระทรวงเกษตรฯ แจงข้อมูลการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยแล้งด้านการเกษตร เชื่อ ! ปีนี้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

จันทร์ ๑๓ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๒๙
นายพีรพันธ์ คอทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับความห่วงใยและมีการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ว่าจะยาวนานไปจนถึงเดือนกรกฎาคม รวมถึงจะแนวโน้มภาวะฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม นั้น จึงขอชี้แจงข้อมูลและความเข้าใจ ดังนี้

1) กรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศการเข้าสู่ฤดูฝนปี 2562 ของประเทศไทย ประมาณสัปดาห์ที่สามของเดือนพฤษภาคม (ภายในสัปดาห์นี้) และคาดหมายลักษณะอากาศของประเทศไทยในช่วง พฤษภาคม ถึง มิถุนายน 62 โดยในภาคเหนือจะมีปริมาณฝนรวม 415 - 500 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 524 - 635 มม. ภาคตะวันออก 625 - 750 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 305 - 380 มม. และปัจจุบันปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันนี้ (13 พ.ค. 2562) มีปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ประมาณ 5,123ล้าน ลบ.ม. (ทั้งประเทศ 18,626 ล้าน ลบ.ม.) และหากมีปริมาณฝนตกลงมาตามที่กรมอุตุฯ คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนจะมีเพื่อการเกษตรในรอบการผลิตต่อไปและมีน้ำต้นทุนในระบบชลประทาน

2) สำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง ได้แก่ ข้าวนาปรัง (รอบที่2) มีการปลูกทั้งประเทศทั้งสิ้น 11.63 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 9.70 ล้านไร่ (83%) รอเก็บเกี่ยว 1.93 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ชี้แจงสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรได้ทราบถึงผลกระทบ และเกษตรกรได้เกิดความตระหนักจึงได้มีการเตรียมการปรับการผลิตให้เหมาะสม ตั้งแต่เริ่มฤดูกาลผลิต ซึ่งผลผลิตข้าวที่ยังไม่เก็บเกี่ยวเหลือปริมาณเก็บเกี่ยวอีกไม่มาก 1.93 ล้านไร่ และกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานและจังหวัด ได้ติดตามเฝ้าระวังให้ข้าวสามารถผ่านพ้นไม่เสียหายและเก็บเกี่ยวเป็นรายได้ เช่นเดียวกับการปลูกข้าวโพดหลังนาภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐฯ ที่กระทรวงเกษตรฯได้มีการวิเคราะห์พื้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสมทั้งด้านดินและน้ำที่เพียงพอ ส่งผลให้พื้นที่ปลูกประมาณ 800,000 ไร่ ไม่มีรายงานความเสียหาย ซึ่งเป็นผลเนื่องจากระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีมาตรการประกันภัยพืชผลรองรับ

3) ปัจจุบันจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ ภัยแล้งแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ นครราชสีมา มหาสารคาม ตราด และชลบุรี โดยส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค มีเพียงจังหวดพิษณุโลกเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายด้านการเกษตร พื้นที่ 18,942 ไร่ เป็นมันสำปะหลัง 17,742 ไร่ ยางพารา 1,200 ไร่ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 180 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจของเกษตรอำเภอและให้การช่วยเหลือตามระเบียบทางราชการต่อไป

4) สำหรับการปลูกข้าวนาปีบริเวณภาคกลางในรอบการผลิตต่อไป ในพื้นที่ภาคกลางสามารถดำเนินการได้ตามฤดูการเนื่องจากมีน้ำต้นทุนเพียงพอไม่น่าเป็นห่วง ไปจนถึงเก็บเกี่ยวในอีก 4 เดือนข้างหน้า ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ จะเริ่มปลูกประมาณเดือนกรกฎาคม ซึ่งอยู่ในช่วงกลางฤดูฝนซึ่งจะมีน้ำต้นทุนเพียงพอเช่นกัน และ

5) การปลูกอ้อย พื้นที่ปลูกอ้อยได้ทำการเก็บเกี่ยวไปแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จนถึงช่วงเดือนเมษายน2562 และยังคงมีพื้นที่ที่ยังรอเก็บเกี่ยวอีกเล็กน้อย ในส่วนของอ้อยที่จะปลูกในรอบใหม่นี้ ยังคงมีความเสี่ยงเล็กน้อยแต่ได้มีการเตรียมการหาแหล่งน้ำต้นทุนไว้แล้ว เช่น การใช้น้ำจากแหล่งน้ำบาดาล

ดังนั้น สรุปได้ว่าการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยแล้งด้านการเกษตรปีนี้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ เนื่องจากได้มีการเตรียมการตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก เกษตรกรได้รับข้อมูลปริมาณน้ำและความเสี่ยงด้านต่าง ๆ จึงมีการปรับตัวที่ดี รวมถึงการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย อีกทั้งรัฐบาลยังให้มีมาตรการช่วยเหลือสนับสนุนด้านต้นทุนแก่ชาวนา รวมทั้งมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่เกษตรกร เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่เป็นเกษตรกรในช่วงที่รายได้เกษตรกรหดตัว สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อคน ซึ่งได้ช่วยให้เกษตรกรรายย่อยได้มีเงินสดหมุนเวียนที่จะผ่านพ้นสถานการณ์ไปได้และเตรียมการสำหรับรอบการผลิตต่อไป และการเพาะปลูกข้าวในรอบต่อไปนั้น ในพื้นที่ภาคกลางจะสามารถปลูกได้ตามฤดูกาล ปลายพฤษภาคม และพื้นที่ภาคอีสาน จะเริ่มปลูกข้าวหอมมะลิ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นไปตามปฏิทินการเพาะปลูกและปริมาณฝนที่จะตกตามฤดูกาล

ทั้งนี้ ปัญหาภัยแล้งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก climate change ซึ่งต่อนี้ไปจะมีความถี่และความรุนแรงจะเพิ่มขึ้น หากทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน ประชาชน เกษตร ไม่ร่วมมือกันใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ไม่ปรับปรุงและเตรียมตัวที่จะบรรเทาความเสียหาย จึงอยากขอให้ร่วมกันบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตร ฯ ได้จัดสร้างแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนและพืชใช้น้ำน้อย รณรงค์สร้างการรับรู้และเข้าใจถึงผลกระทบจากภัยพิบัติ และพิจารณาข้อมูลด้านดินและความพอเพียงของน้ำ รวมถึงความต้องการของตลาดก่อนที่จะตัดสินใจลงมือผลิต จึงจะลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ดังนั้นหากทุกคนได้เข้าใจผลกระทบและมีความตระหนักที่จะลงมือปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยสะสมความรู้ วิทยาการใหม่ และทุน เชื่อว่าประเทศจะมีศักยภาพและมีความพร้อมในการจัดการความเสี่ยงจาก climate change ได้อย่างแน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version