ตลาดความงามไทยคึกคักรับต้นปี งาน ASEANbeauty 2019 สร้างเงินสะพัดกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมโชว์ศักยภาพตลาดเครื่องสำอาง 3 แสนล้าน มั่นปี 62 โตอีกกว่า 5%

พุธ ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๓๕
งาน ASEANbeauty 2019 งานจัดแสดงสินค้าความงามและสุขภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เผยศักยภาพตลาดเครื่องสำอางไทยคึกคัก จากผู้เข้าร่วมงานกว่า 9,865 คน จาก 47 ประเทศทั่วโลก พร้อมเกิดการจับมือผู้ประกอบการและนักธุรกิจ จากโปรแกรม "จับคู่ธุรกิจ" กว่า 2,776 คู่ สร้างมูลค่าเงินสะพัดภายในงานกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมยกระดับประเทศไทยสู่ผู้นำตลาดเครื่องสำอางอาเซียน ด้วยเทรนด์ตลาดเครื่องสำอางไทยสไตล์ 'Anti-Aging' รับยุค Aging Society รับมือพฤติกรรมผู้บริโภคสูงวัยเปลี่ยน เผยเครื่องสำอางไทยกวาดพื้นที่ตลาดเพื่อนบ้านกว่า 40% สร้างตัวเลขมูลค่าตลาดเครื่องสำอางไทยปี 61 พุ่งกว่า 3 แสนล้าน มั่นใจปี 62 โตร่วม 5%

นางสาวอนุชนา วิชเวช ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัดเผยว่า ความสำเร็จของงาน ASEANbeauty 2019 นับเป็นอีกหนึ่งอีเว้นต์สำคัญที่เป็นตัวบ่งชี้การเติบโตของตลาดความงามไทย เพราะภายในงานมีทั้งบูธจัดแสดงสินค้าความงามและสุขภาพ รวมไปถึงบูธจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีความงามจากผู้จัดชั้นนำกว่า 350 บูธ ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดงานมีผู้เข้าร่วมงานมากมายจากหลายภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่, SME, นักธุรกิจจากทั่วโลก รวมไปถึงกลุ่ม Startup ต่างๆ รวมแล้วมีจำนวนมากกว่า 9,865 คนเลยทีเดียว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและการยอมรับจากนานาประเทศ ว่าไทยได้ยกระดับตัวเองเป็นศูนย์กลางของตลาดความงามอาเซียนอย่างแท้จริง

ASEANbeauty 2019 งานจัดแสดงสินค้าสุขภาพและความงาม ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา โดยในตลอดระยะเวลา 3 วันของการจัดแสดง มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 9,865 คน จาก 47 ประเทศ พร้อมเกิดการร่วมงานและพบปะพูดคุยระหว่างผู้ประกอบการความงามและนักธุรกิจจากทั่วโลก ผ่านโปรแกรม "จับคู่ธุรกิจ" กว่า 2,776 คู่ ที่สำคัญภายในงานยังเต็มไปด้วยสินค้าความงามและสุขภาพจากผู้จัดคุณภาพมากมาย รวมถึงเวทีความรู้ทั้งเวทีสัมมนา, เวทีสาธิต, เวิร์คช็อป และ Testing Zone การันตีคุณภาพด้วยมูลค่าเงินสะพัดในงานกว่า 1,000 ล้านบาท

ด้าน คุณเกศมณี เลิศกิจจา นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย เผยว่า "ธุรกิจเครื่องสำอางไทยถือเป็นไลน์ธุรกิจที่มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก เราสังเกตได้ง่ายๆ จากมูลค่าการตลาดของเครื่องสำอางในปี 2561 ที่มีตัวเลขสูงถึง 3 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นมูลค่าของตลาดในประเทศ 1.8 แสนล้านบาท และอีก 1.2 แสนล้านบาทเป็นมูลค่าของการส่งออก โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านรอบอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ที่พวกเขาให้ความเชื่อมั่นกับสินค้าของประเทศไทยมาก และกว่า 40% บนเชลฟ์เครื่องสำอางของพวกเขาล้วนเป็นสินค้าที่มาจากประเทศไทย"

นอกเหนือจากคุณภาพที่ยอดเยี่ยมของเครื่องสำอางไทยจะเป็นที่นิยมไปทั่วอาเซียนแล้ว อีกหนึ่งจุดแข็งที่ทำให้ธุรกิจเครื่องสำอางไทยมีความแข็งแรงอย่างมาก คือตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่กลางภูมิภาคอาเซียน เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทุกทิศทาง สามารถใช้เส้นทางขนส่งออกไปได้หลายประเทศ และนอกจากประเทศในอาเซียนแล้ว บรรดายักษ์ใหญ่ของเอเชียก็ให้ความสนใจในเครื่องสำอางไทยไม่แพ้กัน ทั้งในประเทศญี่ปุ่น ที่แม้จะมีแบรนด์คุณภาพอยู่มากมาย แต่ยังมีลูกค้าญี่ปุ่นอีกมาก ที่ให้ความสนในแบรนด์ไทย เพราะลูกค้ากลุ่มนี้เชื่อมั่นว่าสินค้าไทยมีคุณภาพดีและราคาไม่แพง

คุณเกศมณี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประเทศจีนนับเป็นอีกหนึ่งลูกค้ากลุ่มใหญ่ของประเทศไทย นอกเหนือจากสินค้าที่ชาวจีนนิยมซื้อระหว่างการท่องเที่ยวในไทยแล้ว พวกเขายังไว้ใจให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน 'เซี่ยงไฮ้ บิวตี้ เอ็กซ์โป' ที่จัดขึ้นที่ประเทศจีนอีกด้วย ส่วนตลาดเกาหลีใต้เองก็นิยมสินค้าไทยไม่แพ้กัน เพราะส่วนใหญ่แล้วเครื่องสำอางเกาหลีจะเน้นไปที่กระแสแฟชั่นที่ฉาบฉวย เทรนด์ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงเร็ว ทั้งตัวผลิตภัณฑ์เองรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่เน้นตามกระแสวัยรุ่น ดังนั้น เมื่อวัดจากกลุ่มลูกค้าเกาหลีใต้ที่เน้นไปที่คุณภาพของสินค้าแล้ว เครื่องสำอางไทยจะเป็นชื่อแรกๆ ที่พวกเขามองหาและให้การยอมรับด้านคุณภาพกันอย่างกว้างขวาง

"เหตุผลที่ตลาดความงามไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปีนั้น ปัจจัยหลักเป็นเพราะบรรดาผู้เล่นในตลาดมีการแข่งขันกันอย่างสูง ทุกๆ ส่วนผสม ทุกๆ กรรมวิธีช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสิ่งเหล่านั้นก็ได้ช่วยเพิ่มตัวเลือกให้ผู้บริโภคได้มากขึ้น ซึ่งในปีนี้ ผู้ผลิตในตลาดต่างก็มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ได้หลากหลาย แต่เทรนด์ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่หัวข้อของความเป็นธรรมชาติ (Natural), การดูแลผิวอย่างอ่อนโยน, การลดริ้วรอย, การดูแลผิวหน้าให้ฉ่ำน้ำ รวมไปถึงเทรนด์ยอดนิยมอย่างผิวหน้าขาวใส (Whitening) อีกด้วย นอกเหนือจากเทรนด์เหล่านี้แล้ว อีกหนึ่งโจทย์ที่ผู้เล่นเริ่มหยิบเอามาสร้างสรรค์กันแล้วก็คือเทรนด์ 'Anti-Aging' รับกับการเข้าสู่ Aging Society ในประเทศไทย เพราะผู้บริโภคกลุ่มสูงวัยในยุคนี้ เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาดูแลตัวเอง รวมถึงใส่ใจบุคลิกกันมากกว่าเดิม"

การเติบโตของตลาดเครื่องสำอางไทย ทำให้ธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่สูงเป็นอย่างมาก ทั้งกับผู้เล่นเก่าและผู้เล่นใหม่ รวมไปถึงการเข้ามาเพิ่มความดุเดือดของผู้เล่นต่างชาติ หนึ่งในนั้นคือ 'ชุง ฮอง วู' ประธานบริษัท สกินเมเดียนซ์ จากประเทศเกาหลีใต้ ผู้ผลิตไหมสำหรับดูแลใบหน้า รวมถึงไหมสำหรับการเสริมจมูก ช่วยยกกระชับให้ผิวเต่งตึง แก้ปัญหาริ้วรอยได้อย่างหมดจด ซึ่งนายชุง เผยว่า "สกินเมเดียนซ์ เป็นผู้ผลิตไหมรายใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ และเรายังส่งออกในอีกหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในจีน, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย และฮ่องกง โดยผลิตภัณฑ์ไหมที่จะนำมาขายครั้งนี้เป็นสินค้าที่ได้รับการยกระดับไปอีกขั้น ทั้งด้านความทนทาน การผลิตที่ใช้การขึ้นรูป ช่วยให้ทนความร้อนและลดการสูญเสียคุณภาพ การเข้ามาเป็นผู้เล่นในประเทศไทยครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมของเรา เนื่องจากไทยเป็นตลาดขนาดใหญ่ในอาเซียน ที่สำคัญผู้บริโภคและแพทย์ในประเทศไทย มีความรู้ความเข้าใจในสินค้าเป็นอย่างดี เราจึงมั่นใจว่าความพร้อมในตลาดประเทศไทยจะช่วยให้ธุรกิจของสกินเมเดียนซ์เติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน"

และอีกหนึ่งผู้เล่นใหม่ของประเทศไทยอย่าง นายวัฒนา ดำรงทรัพย์ไพศาล ประธานกรรมการ บริษัท บี พริตตี้ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องสำอางแบรนด์ "คิซ่า" กล่าวว่า "คิซ่าเป็นบริษัทน้องใหม่ที่เปิดตัวได้ประมาณ 2 ปี ผลิตภัณฑ์ของคิซ่ามีทั้งแบบพรีเมียมและแบบแมส ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผลิตภัณฑ์กลุ่มพรีเมียมจะเน้นไปที่การเจาะตลาดประเทศจีน รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเรามองว่าลูกค้าชาวจีนมีพฤติกรรมค่อนข้างคล้ายคนไทย หลายคนเปิดใจรับสินค้าใหม่ ทั้งยังหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ามากขึ้น ทั้งจากอินเทอร์เน็ต รีวิว และบล็อกเกอร์ อีกทั้งด้วยปริมาณกำลังซื้อที่สูง ทำให้ผู้ผลิตหลายคนในไทยต่างแข่งเจาะตลาดกลุ่มนี้ ซึ่งสำหรับเราแล้วมองว่ากลุ่มผู้ผลิตไทยเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวกว่าผู้ผลิตชาวจีน เพราะสินค้าของไทยส่วนใหญ่ได้รับความเชื่อมั่นจากจีนอย่างมาก แต่จุดแข็งที่คิซ่าได้เปรียบคู่แข่งก็คือเราได้รวมเอาส่วนผสมคุณภาพจากหลายแห่งมาผลิตด้วยตัวเองในโรงงานประเทศไทย ซึ่งคำว่า 'Made in Thailand' นี้จะช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคชาวจีนเชื่อมั่นในตัวคิซ่ามากขึ้นนั่นเอง"

นอกจากนี้ นางสาวอนุชนา ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า "งาน ASEANbeauty 2019 จะเป็นเส้นขีดมาตรฐานการเติบโตของตลาดเครื่องสำอาง ซึ่งภายในงานมีเงินสะพัดสูงกว่า 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้ในปี 2561 ตลาดเครื่องสำอางมีตัวเลขโตขึ้นประมาณ 5% และคาดว่าในปี 2562 นี้ มูลค่าตลาดเครื่องสำอางน่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ แต่การที่ประเทศไทยมีสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน จะทำให้นักลงทุนจะไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ รัฐต้องนำข้อได้เปรียบด้านการเป็นศูนย์กลางอาเซียนมาใช้ด้วยการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าอย่างต่อเนื่อง งานเหล่านี้จะช่วยให้กลุ่ม SME มีพื้นที่ขายมากขึ้น ทั้งยังเรียกเอานักลงทุนและผู้ค้าต่างประเทศมาเยี่ยมชมงาน ให้พวกเขาเห็นศักยภาพของไทยได้อย่างชัดเจน" อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version