สสส.จับมือ สอจร.หนุนผู้ปกครองใส่ใจปลอดภัยในเด็ก “เปิดเทอมนี้สวมหมวกนิรภัยให้หนูด้วย”

อังคาร ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๐๔
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก พบว่าในช่วง 10 ปีย้อนหลังสถิติการเสียชีวิตในเด็กอายุ 1-14 ปี จากอุบัติเหตุและความรุนแรง มีจำนวนถึง 32, 297 ราย โดยในเดือนเมษายนมีจำนวนถึง 3,652 ราย ทั้งนี้สาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กอันดับ 1 มาจากการโดยสารรถจักรยานยนต์ และจากข้อมูลของมูลนิธิไทยโรดส์พบว่ามีการสวมหมวกนิรภัยในกลุ่มเด็กที่เป็นผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ เพียง 7% เท่านั้น ดังนั้น จึงมีกลุ่มเด็กถึง 93% ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากการโดยสารรถจักรยานยนต์ เหตุนี้ความปลอดภัยในเด็กจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นพลังสำคัญในอนาคต

นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ หัวหน้าภาคคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด (สอจร.ภาคกลาง) เปิดเผยว่า จากการทำงานมากว่า 6 ปี ในแผนงานสนับสนุนป้องกันอุบัติเหตุจราจร โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตในวัยเด็กอันดับหนึ่งมาจากการโดยสารรถจักรยานยนต์ ช่วงเปิดเทอมนี้จึงอยากผู้ปกครองที่ใช้จักรยานยนต์ไปรับส่งบุตรหลานให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกหลานตนเอง สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่โดยสารรถจักรยานยนต์ อย่าคิดว่าใกล้ๆแค่นี้เอง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาอาจพิการหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

"สสส.และสอจร. ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากจึงจัดทำโครงการมาตรการองค์กร ชวนชุมชนและสถาบันการศึกษารณรงค์ร่วมกันในเรื่อง ขับขี่ปลอดภัยสวมใส่หมวกนิรภัยทุกครั้ง เราต้องปลูกฝังวินัยเรื่องความปลอดภัยในเด็ก ที่ผ่านมาเรารณรงค์สร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยในเด็กที่ผู้ปกครอง และกำลังขยายผลไปยังสถานศึกษาโดยร่วมกับครู ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน"นายชิษนุวัฒน์กล่าว

นายชิษนุวัฒน์ กล่าวด้วยว่า สสส.สนับสนุนเครือข่ายทั้งศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ใน 4 ภาคทั่วประเทศ และศูนย์วิชาการเพื่อควาปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) โดยสนับสุนนให้เกิดศูนย์เด็กเล็กปลอดภัย ทั้ง 4 ภาค โดยการทำงานร่วมกันของชุมชนทั้ง ครู ผู้ปกครองและองค์กรการบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งเป้าสร้างศูนย์เด็กเล็กปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยในการเดินทางทั่วประเทศ และในขณะนี้กำลังขยายผลไปยังโรงเรียนเด็กโตในจังหวัดต่างๆ โดยผลักดันให้โรงเรียนสร้างที่แขวนหรือที่เก็บหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคไว้ในโรงเรียนเพื่อป้องกันปัญหาผู้ปกครองลืมหยิบหมวกกันน็อคของบุตรหลานมาด้วยในช่วงมารับกลับบ้าน

"ในโครงการของเรา คือ ให้โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กทำที่แขวน เด็กจะได้ฝึกเรื่องของวินัยมีความรับผิดชอบไปด้วย คือ ลงจากรถปุ๊บเอาหมวกไปแขวนให้เป็นที่ ขากลับก็หยิบหมวกมาใส่รัดคางให้เรียบร้อยและไปขึ้นรถพ่อแม่กลับบ้าน และยังเป็นการผลูกฝังเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่เด็กด้วย

ขณะที่โรงเรียนก็ต้องเข้าใจว่า ทำไมต้องสนับสนุนล็อกเกอร์ ที่แขวนหมวก ซึ่งจะเป็นการป้องกันการลืมหมวกของผู้ปกครองในตอนมารับลูกหลานกลับบ้าน และจะโยงไปถึงเรื่องของการสร้างวินัยให้กับเด็ก สร้างความรับผิดชอบ สามารถบริหารจัดการตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพ่อแม่ตลอดเวลา เด็กต้องฝึกเรื่องการดูแลตัวเองไปในตัวด้วย อีก 20 ปีข้างหน้า เราก็อยากให้คนไทยมีวัฒนธรรมเรื่องความปลอดภัยติดตัวตั้งแต่เด็ก การสวมหมวกนิรภัยไม่ใช่แค่ว่าเราป้องกันความเสี่ยงในเด็กเท่านั้นแต่ยังใส่ใจเรื่องวินัยของเด็กด้วย เรากำลังสร้างเด็กในอนาคตที่มีวินัยมีความรับผิดชอบ"นายชิษนุวัฒน์กล่าว

นายชิษนุวัฒน์ กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากค่าใช้จ่ายของเด็กที่รัฐบาลสนับสนุนมาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้รัฐบาลสนับสนุนด้วย คือ เรื่องการแจกหมวกนิรภัยให้กับเด็ก เรามีพรบ.เรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยแล้วก็อยากฝากรัฐบาลให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเด็กซึ่งจะเติบโตไปเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติด้วย.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ