เมืองไทยได้เฮ! สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ขอแสดงความยินดีกับ 8 รางวัลของเด็กไทย ในการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ อินเทล ไอเซฟ 2019

อังคาร ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๕๕
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ธนาคารไทยพาณิชย์ และมูลนิธิพลังสร้างสรรค์นวัตกรรม ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนไทย ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ Intel International Science and Engineering Fair ครั้งที่ 70 (Intel ISEF 2019) คว้า 5 รางวัลใหญ่แกรนด์อวอร์ด (Grand Awards) ในสาขาเคมี ซอฟต์แวร์ พืช และพลังงานกายภาพ และรางวัลพิเศษอีก 3 รางวัล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ เมืองฟีนิกส์ มลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมี ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการ อพวช. และ รศ.ดร.ทิพาพร ลิมปเสนีย์ อุปนายกสมาคมฝ่ายวิเทศนสัมพันธ์และกิจกรรมต่างประเทศ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมนำทีมพาน้องๆ เข้าประกวดแข่งขัน สำหรับรางวัล มีดังนี้

1. "กังหันลมระบบไฮบริดสำหรับผลิต กระแสไฟฟ้าและเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยวงแหวนแม่เหล็กถาวร" พัฒนาโดย นายรังสิมันต์ กุลเพชรจิระ นายวรวิช ศรีคำภา นายจิตรภณ ขจรภิรมย์ อาจารย์ที่ปรึกษา นายจรูญ เถื่อนกูล โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลที่ 3 ในสาขาพลังงานกายภาพ พร้อมทุนการศึกษา 1,000 เหรียญสหรัฐฯ

2. โครงงาน "เบ้ากุดจี่เทียมสำหรับเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืช" พัฒนาโดย นายธีรกานต์ วรรณกาญจน์ นางสาวสุทธิดา เอี่ยมสอาด อาจารย์ที่ปรึกษา นายนิรันดร์ เหลืองสวรรค์ โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลที่ 3 ในสาขาวิทยาศาสตร์พืช พร้อมทุนการศึกษา 1,000 เหรียญสหรัฐฯ

3. โครงงาน "การพัฒนานวัตกรรมชุดทดสอบเซนเซอร์เชิงสีเพื่อตรวจวัดปริมาณคลอรามีนในสระว่ายน้ำโดยตรง: แนวคิดใหม่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ" พัฒนาโดย นางสาวอธิชา สันติลินนท์ นายณัฐประวีร์ ปัถยาวิชญ์ และนายณภัทร สัจจมงคล อาจารย์ที่ปรึกษา นายเกียรติภูมิ รอดพันธ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม ได้รับรางวัลที่ 4 ในสาขาเคมี พร้อมทุนการศึกษา 500 เหรียญสหรัฐฯ

4. โครงงาน "การประมวลผลปริมาณเนื้อข้าวโพดหวาน ด้วยวิธีการ Image Processing" พัฒนาโดย นางสาวณีรนุช สุดเจริญ นางสาวชนิกานต์ พรหมแพทย์ นางสาวพรชนัญญ์ มั่งมีธนพิบูลย์ อาจารย์ที่ปรึกษา นายศักดิ์นรินทร์ จันทร์นาค โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ได้รับรางวัลที่ 4 ในสาขาซอฟต์แวร์ระบบ พร้อมทุนการศึกษา 500 เหรียญสหรัฐฯ

5. โครงงาน "การพัฒนาไฮโดรเจลสำหรับกำจัดหอย ที่เป็นศัตรูพืชในทางการเกษตรจากยางไม้ ในท้องถิ่น" พัฒนาโดย นางสาวนัทธมน ศรีพรม นางสาวรมิตา เชื้อเมืองพาน นางสาวพันธ์อนงค์ ชื่นโชคชัย อาจารย์ที่ปรึกษา นายสุธิพงษ์ ใจแก้ว โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ได้รับรางวัลที่ 4 ในสาขาวิทยาศาสตร์พืช พร้อมทุนการศึกษา 500 เหรียญสหรัฐฯ

นอกจาก 5 รางวัลใหญ่แล้ว ทีมเยาวชนไทยยังได้รับรางวัลพิเศษอีก 3 รางวัลจากงาน Intel ISEF คือ

1. โครงงาน "การพัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำ จากยางไม้ในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มอัตราการรอดตาย ของข้าวไร่ในสภาวะขาดน้ำเนื่องจากฝนทิ้งช่วง" พัฒนาโดย น.ส.น้ำผึ้ง ปัญญา นายเจษฎา สิทธิขันแก้ว นายพิรชัช คชนิล และอาจารย์ที่ปรึกษา นายเกียรติศักดิ์ อินราษฎร โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับรางวัล Special Award อันดับที่ 2 จาก USAID องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development-USAID) พร้อมทุนการศึกษา 3,000 เหรียญสหรัฐฯ

2. โครงงาน "เบ้ากุดจี่เทียมสำหรับเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืช" พัฒนาโดย นายธีรกานต์ วรรณกาญจน์ น.ส.สุทธิดา เอี่ยมสอาด อาจารย์ที่ปรึกษา นายนิรันดร์ เหลืองสวรรค์ โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลที่ 2 ในสาขาชีวภาพจาก สมาคมวิจัยทางวิทยาศาสตร์ Sigma Xi พร้อมทุนการศึกษา 1,000 เหรียญสหรัฐฯ

3. โครงงาน "การสังเคราะห์อนุภาคนาโนของเหล็กบนคาร์บอนจากน้ำมันหมูเหลือใช้ เพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำทะเล" พัฒนาโดย นายปุถุชน วงศ์วรกุล นายชวิศ แก้วนุรัชดาสร นางสาวภัทรนันท์ บุญชิต อาจารย์ที่ปรึกษา นายภาณุพงศ์ ภูทะวัง โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง ได้รับรางวัลเกียรติบัตรชมเชย จากสมาคมเคมีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ งาน Intel International Science and Engineering Fair ครั้งที่ 70 (Intel ISEF 2019) เป็นการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 - 17 พฤษภาคม 2562 ณ เมืองฟินิกส์ มลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจากทั่วโลกกว่า 80 ประเทศ ผู้เข้าร่วมแข่งขันมากถึง 1,886 คน โดยประเทศไทยได้ส่งผลงานเยาวชนไทยเข้าร่วมถึง 17 โครงงาน โดยการสนับสนุนของหลายหน่วยงาน ได้แก่ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มูลนิธิอินเทล ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งในปีนี้ได้สร้างชื่อและประสบความสำเร็จคว้ารางวัลกลับมาฝากคนไทยมากถึง 8 รางวัล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version