ในการนี้ "โครงการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย" Early Childhood Teacher Training Program, in Collaboration with FRÖBEL Germany ช่วยสร้างรากฐานเด็กตั้งแต่ปฐมวัย เพาะต้นกล้าให้แข็งแกร่ง มุ่งเน้นให้ผู้สอนจัดการเรียนรู้ปฐมวัยให้เหมาะสม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาได้จริง โดยใช้ความต้องการของเด็กเป็นหลักในการขับเคลื่อน ด้วยแนวคิด "เคารพสิทธิเด็ก คือ หัวใจของ "โฟรเบล" ให้เด็กมีโอกาสเติบโตไปเป็นพลเมืองโลกที่ช่างสงสัย มีความสามารถ เอื้ออาทร และตอบแทนสังคม ซึ่งต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ปฐมวัย
ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่กลยุทธ์องค์กร บี.กริม กล่าวว่า สำหรับการเปิดตัว "โครงการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย" ตามแนวทางมูลนิธิโฟรเบล ประเทศเยอรมนี เกิดขึ้นจากแนวคิดที่เห็นร่วมกัน ระหว่าง บี.กริม บริษัท นานมีบุ๊คส์ และ มูลนิธิโฟรเบล ประเทศเยอรมนี ที่มองว่าปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การที่เด็กสามารถสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้เท่าทันต่อสิ่งรอบตัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยโฟรเบล เชื่อเรื่องการเรียนรู้ผ่านการเล่นเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆทดสอบตัวเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆและผู้ใหญ่ ยึดหลักเคารพสิทธิเด็ก เพื่อส่งผลไปยังประสบการณ์ของเด็กโดยตรง มีสิทธิในการตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ให้เติบโตเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสระ พึ่งพาตนเองได้ เชื่อมั่นในตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุดังเป้าหมายของโฟรเบลที่วางไว้ คือ การพัฒนาเด็กให้มีความมั่นใจ และใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยอย่างมีความรับผิดชอบ
"เรามีความเชื่อมั่นว่าการส่งเสริมผลักดันให้เด็กกล้าแสดงออก จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น นอกจากนี้ มูลนิธิโฟรเบล ยังเป็นพันธมิตรของมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher ซึ่งเป็นต้นฉบับของ "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่บี.กริม และนานมีบุ๊คส์ ให้การสนับสนุนร่วมกับหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย" ดร.ธีระชัย กล่าวทิ้งท้าย
คิม จงสถิตย์วัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด กล่าวเสริมว่า โครงการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย ตามแนวทางมูลนิธิโฟรเบล ประเทศเยอรมนี เกิดจากความตั้งใจของมูลนิธิโฟรเบล (ประเทศเยอรมนี) บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด และ บี.กริม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทย ได้เข้าถึงการศึกษาที่เป็นเลิศระดับนานาชาติ ด้วยการนำองค์ความรู้ และกระบวนการในการพัฒนาครูระดับปฐมวัยตามแนวทางมูลนิธิโฟรเบล จากประเทศเยอรมนี มาปรับให้เข้ากับบริบทของประเทศไทยเพื่อพัฒนาครูในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั่วประเทศให้มีความพร้อมและความมั่นใจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาได้จริงให้เด็กมีโอกาสเติบโตไปเป็นพลเมืองโลกที่ช่างสงสัย มีความสามารถ เอื้ออาทร และตอบแทนสังคม ซึ่งต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ปฐมวัย ทั้งนี้ทางมูลนิธิโฟรเบล มีแนวคิดเดียวที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะให้กับกลุ่มเด็กปฐมวัยด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่มาจากประสบการณ์ตรง ปลูกฝังให้รู้จัก ช่างสังเกต ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งกระบวนการคิดแบบเป็นระบบนี้ หากเราสมารถปลูกฝั่งให้เกิดกับเด็กปฐมวัยได้ เด็กเหล่านี้จะเติบโตไปเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการนำความรู้มาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
Tina Breternitz ทีมพัฒนาบุคลากรจากมูลนิธิโฟรเบล ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า มูลนิธิโฟรเบล (ประเทศเยอรมนี) มีประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่า 185 แห่งในประเทศเยอรมนี ออสเตรเลีย และโปแลนด์ แต่ละสาขาจะมีแนวการจัดการเรียนรู้ ที่ต่างกัน แต่ใช้หัวใจ การจัดการเรียนรู้เดียวกัน โดยพัฒนาทักษะการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กๆ ผ่านแนวคิดแบบ Play-based (เรียนรู้ผ่านการเล่น) และ Inquiry-based (เรียนรู้แบบสืบเสาะ) ที่ออกแบบ เฉพาะให้กับเด็กๆ เป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นพื้นฐาน ของการสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างยั่งยืน และเปลี่ยนแปลงความ "สงสัย" ของเด็ก ๆให้เป็น "การเรียนรู้" ผ่านการพัฒนาทักษะ ทัศนคติ และองค์ความรู้อย่างเป็นมืออาชีพด้วยความกระตือรือร้น
สำหรับ "โครงการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย" ตามแนวทางมูลนิธิโฟรเบล ประเทศเยอรมนี ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทางมูลนิธิหวังเป็นอย่างยิ่งว่า "โครงการพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัย" จะประสบความสำเร็จ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา สู่โอกาสที่ดีของเด็กไทยทุกๆคน โดยมีรูปแบบการบริการ มีบริการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบสาธารณะ (Public Workshop) และแบบจัดที่โรงเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (One-Site Workshop) One ในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษใน 2 หัวข้อ คือ
o แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยการเล่น (Play-based Learning) ในรูปแบบเยอรมัน (German-Style Play-based Learning Approach)
o แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสื่อเสาะ (Inquiry-based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบเยอรมัน (German-Style Inquiry-based Learning Approach for Early Childhood)
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 0 2662 3000 อีเมล์ [email protected] และ Facebook www.facebook.com/froebelthailand
เกี่ยวกับ"โฟรเบล
"โฟรเบล" ตั้งชื่อตาม เฟรดริก โฟรเบล (1782-1852) เจ้าของไอเดีย "อนุบาล" แห่งแรกของโลก ผู้เชื่อว่าการศึกษา จะปลูกฝังให้เด็ก ๆ เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ เป็นอิสระ คิดเป็น มีแรงผลักดันจากภายในตัวเอง และหากจะทำ แบบนั้นได้ เราจำเป็นต้องเอา "ความต้องการของเด็ก" เป็นที่ตั้ง และต้องทำงานร่วมกับผู้ปกครอง