พิธีเปิดโครงการระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการค้าชายฝั่ง (E-Coastal Trading System)

จันทร์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๒๙
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดี กรมศุลกากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการค้าชายฝั่ง (E-Coastal Trading System) พร้อมด้วย นายนิติ วิวัฒน์วานิช นายอำเภอศรีราชา และคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากภาครัฐและเอกชน โดยมีนายยุทธนา พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เป็นผู้กล่าวรายงานถึงรายละเอียดของโครงการ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง

โครงการระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการค้าชายฝั่ง (E-Coastal Trading System) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการเรือค้าชายฝั่ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการฯ สามารถรายงานเรือเข้า-ออก และปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องมาพบเจ้าหน้าที่ศุลกากร และสามารถชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าประภาคาร ค่าธรรมเนียมปล่อยเรือ ผ่านระบบ e-Bill Payment ซึ่งผู้ประกอบการสามารถชำระผ่านช่องทางการให้บริการได้หลายช่องทาง อาทิ Internet Banking, Mobile Application, ตู้ ATM รวมทั้ง การชำระผ่านตัวแทนรับชำระ (ร้านสะดวกซื้อ) ได้ทุกพื้นที่

"การค้าชายฝั่ง" คือ รูปแบบการขนส่งทางทะเลจากท่าหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังอีกท่าหนึ่ง ภายในราชอาณาจักร ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเรือค้าชายฝั่งจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วยเอกสาร โดยยื่นใบปล่อยสินค้าและใบปล่อยเรือ หรือ ใบแนบ 11 ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าเรือต้นทาง และเมื่อเรือเดินทางถึงท่าปลายทาง ก็ต้องยื่นเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าเรือปลายทาง เป็นผลให้ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการด้วยเอกสารนี้ไม่สะดวกต่อผู้ประกอบการเรือค้าชายฝั่ง ดังนั้น กรมศุลกากรจึงได้พัฒนาระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการค้าชายฝั่งหรือ e-Coastal Trading System เพื่อใช้ในการควบคุมและกำกับการขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น

E-Coastal Trading System สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ โดยสามารถทราบข้อมูลล่วงหน้าเกี่ยวกับ น้ำหนัก จำนวนตู้สินค้าที่บรรทุกมากับเรือค้าชายฝั่ง รวมทั้ง สถานะของตู้สินค้า เมื่อทำการบันทึกข้อมูลการรับตู้สินค้าแล้วส่งผลให้ลดขั้นตอนเกี่ยวกับการตัดบัญชีตู้สินค้าขาออกจากเดิม ด้วยการนำบัญชีตู้สินค้ามาพบเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อตรวจสอบสถานะว่าตู้สินค้าใดอยู่ในข่ายจะต้องตรวจสอบโดยศุลกากร ก่อนที่จะนำไปรอการบรรทุกขึ้นเรือแม่เพื่อไปยังต่างประเทศ และยังช่วยให้ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือวางแผนจัดการตู้สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

การนำระบบพิธีการอิเล็กทรอนิกส์นี้มาใช้ จะสามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า ทำให้ลดขั้นตอน ลดระยะเวลาในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ลดการใช้กระดาษ โดยการไม่เรียกรับสำเนาเอกสาร ใบปล่อยสินค้าและปล่อยเรือ อีกทั้ง ระบบยังสามารถนำข้อมูลจาก e-Coastal Trading System เชื่อมโยงกับ e-Export เพื่อตัดบัญชีใบกำกับฯ หรือ E-Matching โดยถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการขนส่งของผู้ประกอบการเรือค้าชายฝั่ง ท่าเทียบเรือ และผู้ส่งออกแบบไร้เอกสาร ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส่งผลให้ลำดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลก ดีขึ้นทางหนึ่งด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ