บ๊อชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผยผลประกอบการปี 2561

อังคาร ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๓๙
อัตราเติบโตต่อเนื่อง อานิสงส์จากโซลูชั่นส์แห่งการเชื่อมต่อ อัตราเติบโตแกร่งด้วยโซลูชั่นส์อุตสาหกรรม 4.0

ยอดขายเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 เป็น 1,340 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 32 พันล้านบาท) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การขับขี่แห่งอนาคต: เทคโนโลยีช่วยเหลือคนขับและระบบความปลอดภัย ช่วยปูทางไปสู่ระบบขับขี่อัตโนมัติ

บ๊อชฉีกกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำอย่างต่อเนื่องด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น

บ๊อชมุ่งหน้าลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์ในสำนักงาน 400 แห่งทั่วโลกให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2563

บ๊อช ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก ปิดงบการเงินประจำปี 2561 ด้วยยอดขายรวมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยมูลค่า 1,340 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 32 พันล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า "ปี 2561 เป็นปีที่ขับเคลื่อนด้วยความต้องการด้านเทคโนโลยี IoT และโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนซึ่งมีสูงมากในทุกประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้บ๊อชมุ่งพัฒนาโซลูชั่นส์ที่สำคัญเพื่อรองรับอุตสาหกรรม โดยได้ทำสำเร็จลุล่วงไปแล้วหลายโครงการ พร้อมกับริเริ่มโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง" มาร์ติน เฮยส์ ประธานกลุ่มบริษัทบ๊อช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว และเสริมว่า "นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นผลด้านบวกจากการนำนวัตกรรมตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ก่อนหน้านี้ โดยมีโครงการสำคัญต่างๆ ที่ช่วยให้โซลูชั่นส์ของเราเป็นที่จดจำและเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น โดยสรุปก็คือกลยุทธ์ของเราที่เน้นเทคโนโลยีแห่งการเชื่อมต่อนั้นเริ่มให้ผลตอบแทนที่ดีแก่บริษัทของเราแล้ว" บ๊อชมีพนักงานร่วม 10,000 คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในจำนวนนี้ พนักงาน 1,380 คนทำงานในส่วนของการวิจัยและพัฒนา

ผลเชิงบวกจากแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโต

เนื่องจากมีหลายโครงการตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ที่เริ่มดำเนินการไปแล้ว บ๊อชจึงคาดการณ์ว่าจะมีบริษัทอีกหลายแห่งดำเนินรอยตามเส้นทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรดิจิทัล ทั้งนี้ บ๊อชได้สั่งสมประสบการณ์การผลิตมาหลายทศวรรษ บริษัทจึงอยู่ในจุดที่พร้อมจะแสดงให้ทุกคนเห็นถึงคุณประโยชน์ของอุตสาหกรรม 4.0 ที่ใช้อยู่ในโรงงานผลิตแห่งต่างๆ ที่ตั้งอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค ระบบควบคุมในโรงงานที่ทำงานฉับไวขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยืดหยุ่นยิ่งขึ้น ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มผลผลิตได้จนถึงขีดสุด โดยเพิ่มอัตราการเดินเครื่องได้สูงสุดถึงร้อยละ 15 เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 5-10 ลดระยะเวลาที่ระบบขัดข้องได้ถึงร้อยละ 20 ด้วยโซลูชั่นส์อุตสาหกรรม 4.0 ของบ๊อช

บ๊อชยังสนับสนุนกลุ่มลูกค้าโดยให้คำปรึกษาและวางแผนกลยุทธ์เพื่อนำอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ เมื่อปีที่ผ่านมาในสิงคโปร์ บ๊อชจับมือกับวิทยาลัยสิงคโปร์โพลีเทคนิค ในการจัดตั้งห้องทดลองขึ้นในวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 และพิมพ์เขียวแผนแม่บทด้านสมาร์ทซิตี้ของสิงคโปร์ นอกจากนี้ ในปีเดียวกัน บ๊อชยังได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานพันธมิตรหลายแห่ง เช่น อาชีวศึกษาทวิภาคี (DVET) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ในเวียดนาม เพื่อพัฒนาหลักสูตรอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา (TVET) ในเวียดนาม สำหรับในมาเลเซีย บ๊อชเป็นหนึ่งในห้าพันธมิตรด้าน Digital Transformation Lab (DTL) ขององค์การ MDEC (Malaysia Digital Economy Corporation) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของมาเลเซีย เมื่อปีที่ผ่านมา MDEC เพิ่งเปิดตัว DTAP (Digital Transformation Acceleration Program) เพื่อนำความเชี่ยวชาญของแล็บ DTL เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งช่วยให้บริษัทต่างๆ ในมาเลเซียมีระบบในการปรับตัวไปสู่ยุคดิจิทัล เพื่อรับประกันอนาคตของธุรกิจ พร้อมรักษาจุดเด่นด้านการแข่งขันทางการค้าด้วย

ยุคใหม่แห่งการขับเคลื่อน พร้อมด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัยและระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า

ความปลอดภัยบนท้องถนนยังคงเป็นประเด็นที่น่าเป็นกังวลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ บ๊อชยังคงเล็งเห็นอุปสงค์ในระบบเบรกและโซลูชั่นส์ช่วยเหลือคนขับ อาทิ ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ และระบบที่ช่วยเตือนให้รถอยู่ในเลนขับขี่ที่ถูกต้อง

อุปสงค์ต่อยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยรัฐบาลในประเทศต่างๆ ตระหนักและต้องการลดมลพิษจากการจราจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันอย่างจริงจัง บ๊อชจึงเห็นความจำเป็นว่าจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานของระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า (e-mobility) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนสำหรับการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ในภูมิภาค ความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ Pertamina Corporation ในอินโดนีเซียเมื่อเร็วๆ นี้ จะนำไปสู่การสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลายแห่งเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า และจะทำให้อินโดนีเซียพัฒนาไปใกล้กับเป้าหมายที่หวังให้ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 20 ของยอดขายยานยนต์ในประเทศทั้งหมดภายในปี 2568 ส่วนในเวียดนาม บ๊อชทำข้อตกลงกับผู้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าของเวียดนามที่เติบโตเร็วสุด ในการผลิตชิ้นส่วน และดูแลธุรกิจชิ้นส่วนอะไหล่ รวมถึงซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่

โรงงานผลิตในประเทศต่างๆ ของบ๊อช มีความสำคัญต่อเครือข่ายการผลิตของบริษัททั่วโลก และมีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนอุปสงค์ของระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าให้แพร่หลายทั่วโลก ตัวอย่างเช่น โรงงานของบริษัทในปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งโดยปกติจะผลิตแต่เครื่องมือช่าง ก็จะเริ่มผลิตแบตเตอรีสำหรับจักรยานไฟฟ้า (eBike) เพื่อป้อนตลาดโลกเนื่องมาจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

สร้างสรรค์เพื่อความก้าวหน้าและยั่งยืนในภูมิภาค

บ๊อชมุ่งมั่นพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ก้าวล้ำฉีกกรอบเดิม โดยนำเทคโนโลยี IoT อัจฉริยะเข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถก้าวผ่านไปสู่ศตวรรษที่ 21 ได้ หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ต้องการช่วยลดผลกระทบจากการจับปลามากเกินไป ซึ่งทำให้ประชากรปลาลดลง ฉะนั้น จึงย้ายพื้นที่อุตสาหกรรมให้มาอยู่บนบกแทน ชื่อของนวัตกรรมนี้คือ AquaEasy ซึ่งเป็นโซลูชั่นอัจฉริยะจากบ๊อชที่ใช้ประโยชน์จากเซนเซอร์และอัลกอริทึมเพื่อให้ช่วยเกษตรกรสามารถเพิ่มอัตราผลผลิตได้อย่างยั่งยืน นวัตกรรมนี้ยังช่วยให้สามารถตรวจวัดและติดตามการทำงานของพารามิเตอร์ตรวจสอบคุณภาพน้ำต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์การบริหารจัดการการทำงานของบ่อน้ำต่างๆ ระบบนี้มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์รวมอยู่ด้วย จึงช่วยให้เจ้าหน้าที่ในฟาร์มสามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญของการทำงาน เช่น การให้อาหาร คุณภาพของผลผลิต หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยว "การทดลองใช้ระบบนี้ครั้งแรกที่อินโดนีเซียแสดงให้เห็นว่า โซลูชั่นของบ๊อชนี้ สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างเห็นได้ชัด และยังช่วยให้กระบวนการวัดค่าต่างๆ เป็นไปโดยง่ายยิ่งขึ้น เกษตรกรในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการพัฒนา AquaEasy ให้มีความยืดหยุ่นมากพอที่จะนำไปดัดแปลงหรือปรับแต่งให้ใช้ได้กับธุรกิจหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก" นายเฮยส์กล่าว

อีกนวัตกรรมหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่นคือ Bosch Intelligent Microgrid for Asia (BIMA) ซึ่งเป็นโซลูชั่นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่สามารถจัดการและรวมเอาพลังงานจากหลายแหล่งเข้ามา เช่น จากแผงโซลาร์ แบตเตอรี หรือเครื่องให้กำเนิดพลังงาน เป็นต้น ช่วยให้เรามีแหล่งพลังงานที่เสถียรและไว้ใจได้ ส่วนขีดความสามารถด้านคลาวด์ บริษัทมีระบบที่ทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ สามารถวิเคราะห์ปริมาณและรูปแบบการใช้พลังงานได้อย่างต่อเนื่อง ป้องกันไฟฟ้าดับและบริหารการใช้พลังงานจากแหล่งที่ประหยัดที่สุดได้ มีตัวอย่างหนึ่งจากการนำระบบไปใช้ครั้งแรกๆ ที่คลินิก Nimasi ในอินโดนีเซีย ซึ่งให้บริการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลที่ติมอร์ ปรากฏว่า คลินิกนั้นไม่ประสบภาวะไฟฟ้าดับอีกเลยนับตั้งแต่มีการติดตั้งระบบนี้

ภาพรวมของกลุ่มบริษัทบ๊อชในปี 2562: มาตรการด้านสภาพภูมิอากาศและปรับปรุงคุณภาพอากาศ

กลุ่มบริษัทบ๊อชคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงในปี 2562 ซึ่งแม้สภาพแวดล้อมโดยรวมของอุตสาหกรรมและภูมิภาคที่สำคัญกับบริษัทจะไม่อำนวยนัก แต่บ๊อชก็คาดว่ายอดขายในปีนี้จะสูงกว่าระดับที่ได้ทำไว้ในปี 2561 เล็กน้อย ไม่ว่าภาพรวมระยะสั้นจะเป็นอย่างไร บริษัทก็จะยังคงพยายามทุกวิถีทางในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และมุ่งมั่นทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นให้ได้ "ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ หากเราใส่ใจกับความตกลงปารีส (Paris Agreement) กันอย่างจริงจัง เราจะต้องได้เห็นการดำเนินการต่างๆ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงแรงบันดาลใจระยะยาว การขับเคลื่อนจะต้องเกิดขึ้นในระยะสั้น" ดร.โวคมาร์ เดนเนอร์ ซีอีโอของกลุ่มบ๊อช กล่าวในงานแถลงข่าวที่เมืองเรนนิงเก็น ประเทศเยอรมนี "นอกจากนี้ เรายังมุ่งตอบสนองสาธารณชนที่ต้องการให้เมืองต่างๆ มีคุณภาพอากาศที่ดี ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม เราหวังจะนำเสนอโซลูชั่นส์ด้านเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศด้วย"

นี่คือเหตุผลว่าทำไมบ๊อชจึงมุ่งมั่นและจริงจังที่จะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะได้ทำสำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง "เราจะเป็นองค์กรอุตสาหกรรมแห่งแรกที่จะบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนเทียบเท่าเป็นศูนย์ (carbon neutrality) โดยใช้เวลาเพียงปีกว่าๆ" ดร. เดนเนอร์ประกาศ "ที่ทำการของบ๊อชกว่า 400 แห่งทั่วโลกจะบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนเทียบเท่าเป็นศูนย์ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป" ขณะเดียวกัน บ๊อชได้เดินหน้ามุ่งไปสู่เป้าหมายที่ท้าทายเรื่องคุณภาพอากาศ "เราต้องการลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจร โดยขจัดให้เหลือศูนย์ ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ เราต้องมองไปไกลกว่าแค่ตัวถังรถยนต์" ดร.เดนเนอร์กล่าว ดังนั้น บริษัทจึงคิดที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยยึดเสาหลักแนวคิด 3 ด้านก็คือ การเน้นกิจกรรมที่พัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อนที่ก่อมลพิษต่ำ การเน้นทำงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในโครงการที่ช่วยให้การจราจรลื่นไหลต่อเนื่อง และการนำเอาระบบจัดการด้านการขับเคลื่อนของบริษัทไปใช้ในที่ต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๕๑ กสิกรไทย คว้า 6 รางวัล จากงาน TMA Excellence Awards 2024
๑๑:๓๗ บลจ. เอ็กซ์สปริง ผนึกกำลังพันธมิตรระดับโลก GlobalData TS Lombard ยกระดับข้อมูลการลงทุนให้กับลูกค้า ติดอาวุธครบทุกมิติ
๑๑:๒๘ เคนยากุจัดประชุมแผนกลยุทธ์ประจำปี 2568
๑๑:๔๙ ASIMAR ส่งมอบ เรือพิทักษ์ธารา สนับสนุนกรุงเทพมหานคร เดินหน้าแก้ปัญหาขยะในคลองอย่างยั่งยืน
๑๑:๑๒ LE ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่องมีแรงส่งยาวไปถึงปี 68 ล่าสุด ชนะประมูลงานโคมไฟถนน LED 60,000 ชุด จากการไฟฟ้านครหลวง
๑๑:๒๕ UMI DEEPTECH ส่งผลิตภัณฑ์น้องใหม่โฟมล้างหน้า Radiant GABA Renewal Cleanser สูตรช่วยลดการอุดตันในรูขุมขนโดยวิจัยและพัฒนาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๑:๓๗ ซินเน็คฯ ร่วมกับ RAZER จัดกิจกรรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ยกระดับประสบการณ์เกมมิ่งในงาน RAZER FANMEET 2024
๑๑:๕๗ วี ธนาศิวณัฐ แชมป์ Honda One Make Race 2024 สร้างชื่อนักแข่งไทย คว้ารองชนะเลิศรายการ ซูเปอร์ ไทคิว สนามสุดท้ายที่ญี่ปุ่น
๑๑:๔๗ 'สสจ.นครพนม' กวาด 16 รางวัล ร่วมเปิด 'มหกรรมวิชาการ 1 ทศวรรษ ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี สิ่งแวดล้อมดีสุขภาพดี
๑๑:๒๔ วว. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง Research consortium: Probiotics ผลักดันงานวิจัยโพรไบโอติกไทยสู่อุตสาหกรรม