วสท. จัดเสวนา“ขีดความสามารถใหม่ 5G กับอุตสาหกรรมไทย” ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี

พุธ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๐๘:๔๖
ในโอกาสจัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเวทีเสวนา "ขีดความสามารถใหม่ของเทคโนโลยี 5G กับอุตสาหกรรมสำหรับประเทศไทย (Beyond 5G Technology for Industries in Thailand)" โดยมี ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วสท., ดร.พิชญะ จันทรานุวัฒน์ เลขาธิการ ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม เหรัญญิก คณะกรรมการ นักวิชาการและผู้ประกอบการ เข้าร่วมงานจำนวนมาก ณ อาคาร วสท.

คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G จะเป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอนาคต ที่เข้ามาดิสรัพทั้งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง และอื่น ๆ โดยเป็นตัวขับเคลื่อนและประสานการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น IoT , AI ซึ่งเมื่อทำงานร่วมกันจะช่วยเพิ่มพลังขีดความสามารถในการประมวลผลที่ยอดเยี่ยม นับเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่สังคมและสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เชื่อมโยงจัดการซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และไร้ขีดจำกัด ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะเข้ามาดูแลในส่วนของการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G รวมถึงข้อกฎหมายและการวางแผนในการจัดสรรทรัพยากรรองรับเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ไทยแลนด์ 4.0 และเมืองอัจฉริยะ Smart City ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน ผอ.สำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม สนง.คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า กสทช. เร่งภารกิจสนับสนุนตามนโยบายกระทรวงฯ ในการขับเคลื่อนให้เป็นไปตาม Road Map การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจาก 4G ไปสู่ 5G และกำกับดูแลความเหมาะสมหว่างประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างการรับรู้ในสังคมของยุคเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก 4G ไปสู่ 5G ที่จะเข้ามาส่งผลกระทบและเปลี่ยนแปลงชีวิตประชาชนอย่างไรบ้าง ซึ่งการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1.คลื่นความถี่ (Spectrum) จะต้องเป็นคลื่นความถี่สากลที่ใช้ทั่วไปและเพียงพอ ซึ่งประเทศไทยมีคลื่นความถี่ที่จะสามารถนำมาใช้ในส่วนงานกิจการ ได้แก่ คลื่นความถี่ 26 – 28 GHz ในส่วนของคลื่นความถี่ 3.5 GHz นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาทดลอง ทดสอบความเป็นไปได้ในการนำมาใช้งาน 2.โครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure ที่พร้อมและรองรับเทคโนโลยี 5G ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ และเชื่อมโยงโครงข่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และ3.Connectivity เพื่อรองรับการเชื่อมต่อเทคโนโลยีในอนาคต

คุณรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอที พร้อมที่จะเป็น Core Provider สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้กับผู้ประกอบการทุกราย และส่งเสริมให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure Sharing) เช่น เสากระจายสัญญาณ ท่อร้อยสาย และสายสัญญาณ ให้สามารถ Plug in ใช้งานร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ได้ รวมถึงฐานข้อมูลผู้ใช้โครงข่ายไร้สาย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนโครงข่ายเทคโนโลยี 5G โดยขอย้ำให้วิศวกรไทยได้เตรียมตัวในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น พัฒนาทักษะมุ่งไปสู่การพัฒนาใน 3 เรื่องสำคัญ คือ AI, Automation และ Algorithm และสิ่งที่ประเทศไทยและผู้ประกอบการไทยปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างมาตรฐานการใช้เทคโนโลยี 5G ของคนไทยขึ้นมา

คุณเพชรธรรม์ พลอัครวัตน์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) กล่าวว่า นานาประเทศทั่วโลกต่างผลักดันเทคโนโลยี 5G สำหรับประเทศไทยในอีก 16 ปีข้างหน้า ตลาด 5G จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 5% ของ GDP ไทยอุตสาหกรรมหลักที่จะได้รับผลกระทบคือ อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) 3.4 ล้านล้านดอลลาร์ , อุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Communication) 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ รองลงมาเป็น การเกษตร ค้าปลีก รวมถึง Service Public Construction และอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการเทคโนโลยี 5G กว่า 45 ราย จาก 20 ประเทศทั่วโลก และในปี 2021 ปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนมือถือที่รองรับ 5G จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากราคามือถือที่ถูกลงและคลื่นความถี่ให้บริการที่เพิ่มขึ้น

ร้อยโท ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ บริษัท อิริคสัน จำกัด กล่าวว่า ในอนาคตการใช้งาน Data มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และจะเข้ามาแทนที่การให้บริการเดิม เช่น Voice, Roaming, SMS ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่าง ๆ จะขายสินค้าและบริการได้เพียงอย่างเดียว (Commodity Product) ทำให้ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับกับยุคเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการก้าวเข้าสู่ Digital Economy และกระทบต่อการลงทุนในอนาคต

คุณชัชวาลย์ สุภัคธนาการ หัวหน้างานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อาวุโส สถาบันโอไอทีและนวัตกรรมดิจิทัล สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่าสถาบันฯ ขอเชิญชวนบริษัทผู้สนใจจากทั่วโลก เข้าร่วมทำ Use Case ที่สามารถเป็นไปได้และมีผลกระทบในทางเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรมทางด้านสุขภาพ อุตสาหกรรมหนัก โลจีสติกส์ เพื่อรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ถึงทิศทางอนาคต 5G รูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและภูมิภาคอาเซียนด้วย

ด้าน ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ให้ข้อคิดเห็นว่า หากประเทศไทยไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้ทันการณ์เหมือนคราว 3G ที่ผ่านมา อาจจะทำให้ประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างเร่งการทดสอบระบบ 5G โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทดสอบ 5G Testbed ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และอีกแห่ง กสทช. ร่วมกับ เอไอเอส และทรูมูฟ เอช ทดสอบ "5G AI/IoT Innovation Center" ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมไปถึงแผนประมูลคลื่น 700 ของ กสทช. ในวันที่ 19 มิถุนายนอีกด้วย ส่วนสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกานั้น ไม่น่ามีผลกระทบต่อ 5G ในประเทศไทย เพราะเราเป็นประเทศเสรีทางการค้า เหมือนหลายๆประเทศ คือ เปิดกว้างรับเทคโนโลยีจากทุกค่าย ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version