สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ ต้นแบบความสำเร็จทำเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบ PGS

พุธ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๔๓
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 ได้กำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ เพิ่มสัดส่วนการตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศ รวมทั้งยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้านไปสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้ได้การรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล ซึ่งการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากลจำเป็นต้องมีการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระภายนอก และอาจไม่เหมาะสมกับบริบทการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายผลผลิตในท้องถิ่น จึงได้มีการนำระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems : PGS) มาใช้เพื่อให้สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชน สามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในท้องถิ่นด้วยกันเองได้

สศก. จึงได้ดำเนินการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม หรือ PGS กรณีศึกษาภาคเหนือเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรหันมาให้ความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยจากการลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องการรับรองแบบ มีส่วนร่วม พบว่า สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด ถือเป็นต้นแบบเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกพืชแบบอินทรีย์แทนการปลูกพืชแบบใช้สารเคมี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ปัจจุบันมีสมาชิกที่ผ่านการอบรมการทำเกษตรอินทรีย์กว่า 300 ราย โดยมีสมาชิกที่ได้รับการรับรองการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม จำนวน 109 ราย บริหารจัดการโดย นางจันทร์ทอน เสาร์แก้ว ผู้จัดการสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของสหกรณ์ฯ ได้แก่ ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องหอมมะลิแดง ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 ข้าวเหนียวดำ เมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน เต้าเจี้ยว และ ซีอิ๊วขาว ทั้งนี้ ช่องทางการตลาดของสหกรณ์ฯ และสมาชิกสหกรณ์ฯ ประกอบด้วย ร้านค้าสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ที่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ (ตลาดนัดเจเจมาร์เก็ต) ตลาดต้องชมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เครือข่ายร้านค้าสหกรณ์ในจังหวัดและต่างจังหวัด รวมทั้งยังเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านทางออนไลน์ อาทิ Facebook และ Line ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ สศก. ได้พุดคุยกับสมาชิกสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด นางขวัญชนก สัตยพานิช ประธานวิสาหกิจชุมชนฮักมีไม้ผล ผู้ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์โดยการรับรองแบบมีส่วนร่วม ได้บอกเล่าว่า ปี 2555 ได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน รวมกลุ่มกันเพื่อต้องการอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิตและขายผลผลิตของกลุ่ม จากนั้นจึงเริ่มทำเกษตรอินทรีย์เรื่อยมา จนปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนฮักมีไม้ผล มีสมาชิก 28 คน พื้นที่เกษตรอินทรีย์รวม 100 ไร่ ทำการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ประเภทพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร รวมทั้งมีการแปรรูป โดยผลิตสินค้ามีความหลากหลาย เช่น สะระแหน่ กะเพรา ใบมะกรูด ตะไคร้ ขิง ข่า ใบเตย รวมถึงไม้ผล เช่น เสาวรส มะม่วง สัปปะรด ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยผลผลิตของกลุ่มมีตลาดรองรับแน่นอน ได้แก่ ตลาดวันนิมมาน ตลาดศิริวัฒนา ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ CMU Shop ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจการทำเกษตรอินทรีย์โดยการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด โทร. 0 5384 4357 ซึ่งยินดีให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจทุกท่าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ