แต่ที่สำคัญก่อนที่จะก้าวกระโดดไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลนั้น คือ สเต็ป 0
แล้วอะไรคือ สเต็ป 0 ?
กริช วิโรจน์สายลี รองประธานกรรมการ (ประเทศไทย) บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด ผู้ให้คำปรึกษา และพัฒนาระบบไอทีในประเทศไทยมากว่า 15 ปี เล่าถึงการเริ่มต้นนำธุรกิจสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล ไม่ใช่แค่เพียงการพัฒนาระบบไอทีเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่การมุ่งเน้นกลับไปที่การทำความเข้าใจ digital core ขององค์กรให้ดีที่สุด ซึ่งไอแอม คอนซัลติ้งได้นำเสนอเป็น 4 หลักของสเต็ป 0 ที่องค์กรควรจะต้องทำเช็คลิสต์ ดังนี้
1. ทำความเข้าใจ Vision/Mission ขององค์กรตัวเอง
ลำดับแรกเราต้องทำความเข้าใจความต้องการหลักขององค์กรในระดับนโยบาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ว่าองค์กรจะเน้นไปที่เป้าหมายใด เช่น ต้องการที่จะประหยัดและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ และวิธีการประหยัดนั้นจะทำอย่างไรบ้าง หรือหากต้องการที่จะขยายธุรกิจเพิ่มการขาย จะต้องไปโฟกัสที่เรื่องการขาย (Sale) หรือ การบริหารงานลูกค้า (CRM) เป็นต้น การเข้าใจองค์กรของตัวเองนั้นจะช่วยให้เรารู้ว่าจะไปจัดการในส่วนใดก่อนหลังเพื่อเกิด efficiency สูงสุด
2. สร้างเป้าหมาย (Goal)
เป้าหมายในที่นี้ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ต้องการจะไปถึง แล้วย้อนกลับมาหาว่ามีระบบใดบ้างที่จะช่วยได้ ยกตัวอย่าง ต้องการพัฒนาเรื่องคน ก็เน้นไปมองหาระบบหรือโซลูชันส์ทรัพยากรบุคคล อย่างเช่น HCM ช่วยในเรื่องการจัดการบุคคลากรภายใน เช่น ขาด ลา มา สาย หรือ การพัฒนาทาเล้นจ์ และ การประเมินผล ตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ หรือ ถ้าต้องการที่จะลดระยะเวลาการทำงานในอุตสาหกรรม ก็อาจจะใช้เทคโนโลยีกลุ่ม IoT, Machine Learning เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิบัติการได้อย่างดีขึ้น เป็นต้น
3. เช็คความพร้อมระบบหลังบ้าน
มาดูที่ระบบหลังบ้านขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงาน (Business Process) หรือ Infrastructure ต่างๆ ว่ามีความพร้อมที่จะรองรับการก้าวกระโดดครั้งนี้หรือยัง ระบบหลังบ้านที่เหมาะสมจะต้องเป็นศูนย์กลางข้อมูลหลักขององค์กร มีลักษณะของการเป็น digital core ที่เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการทำงานทั้งระบบ (End-to-End) ซึ่งควรจะถูกจัดการอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี (Scale) ให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ได้ เช่น องค์กรใช้งานระบบ SAP ERP รุ่นเก่า แต่มีเป้าหมายที่จะไปสู่ การทำงานที่รวดเร็ว Enterprise Mobility หรือการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลแบบ Real time ก็อาจจะต้องมองกลับมาอัพเกรดระบบหลังบ้านให้เป็น SAP S/4 HANA ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลการทำงานได้รวดเร็ว เป็นต้น
4. พัฒนาระบบบนแพลตฟอร์มเดียวกัน
การทำงานบนแพลตฟอร์มเดียวกันนั้นจะช่วยประหยัดทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน บุคลากร และเวลา ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาส่วนต่อขยายในอนาคต ในปัจจุบันมีซอฟท์แวร์ให้เลือกใช้หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งต่างถูกออกแบบมาให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบหลังบ้านที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันได้ง่ายขึ้นไปอีก
"การพัฒนาระบบไอทีเพื่อการเป็นองค์กรดิจิทัลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบและวางแผนอย่างละเอียด องค์กรไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนพัฒนาระบบด้วยเงินทุนก้อนใหญ่เสียทีเดียว เพราะสามารถที่จะค่อยๆ ทำทีละระบบ เช่น เลือกที่จะพัฒนาในส่วนที่เป็น core หลัก และค่อยต่อยอดขยายในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนตาม vision/mission แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องวางโครงสร้างและกรอบของการจะก้าวไปให้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดทรัพยากรขององค์กรได้เป็นอย่างดี" กริชกล่าวเสริม
แม้กระแสเทคโนโลยีจะเข้ามาสั่นสะเทือนธุรกิจทำให้องค์กรจะต้องรีบปรับตัว แต่สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือการย้อนกลับมองความต้องการที่แท้จริงของตนเอง เพื่อที่จะช่วยนำให้เราไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลได้อย่างมั่นคง
I AM Consulting พร้อมด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน พร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางตั้งแต่สเต็ป 0 ไปจนถึงการ Disrupt ระบบเพื่อรองรับการปรับตัวในธุรกิจที่รวดเร็วในยุค Digital ERA สามารถติดตามข้อมูล และเลือกหาโซลูชันส์ไอทีเพิ่มเติมได้ที่ www.iamconsulting.co.th