ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ"
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย
นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2562 ว่า "การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในเกณฑ์ที่ดีทุกภูมิภาค นำโดยภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ เป็นสำคัญ"
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ ทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 70.4 โดยใน 6 เดือนข้างหน้า จะได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เนื่องจากคาดว่าจะมีกำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น ประกอบกับภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นจากการจัดงานเทศกาลและใกล้เข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีมาอยู่ที่ 69.7 จากแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการที่ดี เนื่องจากคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวจากการรองรับการขยายตัวของโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ประกอบกับภาคการบริการภาคว่าจะขยายตัวจากการขยายและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ทันสมัย สะดวกสบายและการดูแลความปลอดภัยเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีมาอยู่ที่ 69.4 เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดีของภาคการเกษตรและภาคการจ้างงาน โดยภาคเกษตรคาดว่าเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ และปริมาณผลผลิตภาคเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคการจ้างงาน คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
การขยายตัวของภาคเกษตรและภาคบริการ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกขยายตัวจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 65.4 โดยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรเป็นหลัก ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวตามเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งที่จะมีทิศทางที่ชัดเจน และมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคเกษตร คาดว่าปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ประกอบกับการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่องช่วยให้ด้านการเกษตรดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ที่ 65.3 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยคาดว่าภาคบริการจะขยายตัวจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในการพยุงเศรษฐกิจช่วงกลางปีผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและโครงการอื่น ๆ ส่วนภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการหลังการเลือกตั้ง และเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล เศรษฐกิจโดยรวมและการส่งออกจะดีขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ มีแนวโน้มการเติบโตอยู่ที่ 61.9 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการเกษตรและภาคการลงทุนเป็นหลัก ในส่วนของธุรกิจภาคการเกษตร มีสัญญาณขยายตัวดี เนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงด้านการเมืองและเศรษฐกิจมีทิศทางบวกรวมถึงปัจจัยด้านสภาพอากาศน่าจะทำให้ผลผลิตมีปริมาณเพิ่มขึ้น ในส่วนของภาคการลงทุน คาดว่าจะขยายตัวเนื่องจากบริษัทเอกชนภาคบริการเริ่มมีการตื่นตัวในการพัฒนา และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมห้องพักและบริษัทนำเที่ยวในปี 2562 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล อยู่ที่ระดับ 61.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม
หมายเหตุ
ก. ขอขอบคุณอธิบดีกรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัด สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI)
ข. การอ่านค่าดัชนี RSI (ช่วง 0-100)
ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ "ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน"
ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ "ชะลอกว่าปัจจุบัน"
ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นตาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ "ทรงตัว"