นายเยี่ยม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการะยะสั้นในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและช่วยเหลือค่าของชีพของคนกรีดยางให้ดีขึ้น นอกจากนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ดำเนินมาตรการระยะกลาง และระยะยาวเพื่อกระตุ้นราคายาง โดยเน้นให้มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศ เช่น โครงการส่งเสริมใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ โครงการถนนยางพาราซอยด์ซีเมนต์ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร จำนวน 7,500 กิโลเมตร คาดว่าจะสามารถดูดซับยางออกจากระบบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 หรือประมาณ 860,000 ตันน้ำยางข้น เมื่อเทียบกับผลผลิตประเทศไทยในปี 2561 มาตรการเพิ่มแรงจูงใจเพื่อให้ผู้ประกอบการเพิ่มการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) การให้ทุนสนับสนุนผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา การลดพื้นที่ปลูกยางโดยการปลูกพืชอื่นทดแทน เป้าหมายปีละ 400,000 ไร่ นอกจากนี้ กยท. ได้มีการเข้าไปประมูลซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาราคายางปรับตัวสูงขึ้นจาก 40 บาท/กิโลกรัม มาอยู่ที่ 50 บาท/กิโลกรัม ในเดือนพฤษภาคม 2562 นี้
- พ.ย. ๒๕๖๗ กยท. ครบรอบ ปีที่ 4 ชูนวัตกรรม - งานวิจัยยางเชิงพาณิชย์ พร้อม ก้าวสู่ปีที่ 5 มุ่งพัฒนาระบบยางพาราอย่างมั่นคงยั่งยืน
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ผวก. กยท. ลงพื้นที่ จ.สงขลา พบปะพี่น้องชาวสวนยาง พร้อมติดตามสถานการณ์ยางพาราในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
- พ.ย. ๒๕๖๗ การยางแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้นำชาวสวนยาง และเกษตรกรชาวสวนยาง ผลิตและขายยางตามภาวะปกติ หากพบเจอผู้จงใจสร้างปัญหาทำลายกลไกตลาดให้รีบแจ้ง กยท.ในพื้นที่โดยด่วน