มอบรางวัลเด็กไทยนักสื่อสารวิทย์ฯ ยอดเยี่ยม พร้อมลัดฟ้าไกลถึงเยอรมนี ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2562

อังคาร ๐๔ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๐๙:๔๓
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2562 หรือ Young Thai Science Ambassador (YTSA 2019) ภายใต้หัวข้อ ร่วมมือกันรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Joining Hands for the Environment and Sustainable Development) ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะในการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีส่วนร่วมในการช่วยเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์สู่สังคมและสร้างจิตสำนึกในการเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ ผลปรากฏ 4 เยาวชนไทย จำนวน 2 ทีม คว้ารางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม พร้อมเตรียมบินลัดฟ้าเพื่อร่วมกิจกรรมด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี ต่อไป

ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า "อพวช. มีภารกิจในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมวิทยาศาสตร์อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หนึ่งในภารกิจสำคัญนั้นคือ การสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์โดยการส่งเสริมเยาวชนไทยให้เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ จึงดำเนินการจัดค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา และในปี 2562 นี้ก็เช่นกัน ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านโครงการฯ ดังกล่าว สำหรับหัวข้อในปีนี้ คือ "ร่วมมือกันรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" (Joining Hands for the Environment and Sustainable Development) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต โดยมีผลงานจากเยาวชนระดับอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ และคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกผลงานและมีเยาวชนผ่านการคัดเลือกกว่า 40 คน โดยมาเข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ ที่ อพวช. และได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ร่วมกับนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารจากหน่วยงานต่าง ๆ มากมายภายในค่าย ฯ เพื่อนำมาพัฒนาผลงานของตัวเอง ในการนำเสนองานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยผลปรากฏว่า 2 รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม เป็นของ "ทีมไก่กา" ได้แก่ นายณัฐศรัณย์ ภาระอุสาห์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และนางสาววรัทยา จันทร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ "ทีม4sea" ได้แก่ นางสาววริศรา โรจน์ศิริสถิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายอริยะ คงสถิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ซึ่งทั้ง 2 ทีม จะได้เดินทางไปศึกษาดูงานการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี ในปี 2563 ต่อไป

ส่วนรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ได้แก่ "ทีมจิ้นกะแพร" โดยมีนายกฤตยศ ปัญญาคง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนาวสาวปวีณัชมา สมควร มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อีกหนึ่งทีมที่คว้ารางวัลไป คือ "ทีมอยู่เย็นอย่างยั่งยืน" ได้แก่ นางสาวลลิตา พัฒนชัยสุขศิริ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายพัทรดนย์ สุคนธ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและทีมสุดท้าย ได้แก่ "ทีม I Sea You" ได้แก่ นางสาวสุภัชชา จ่าปะคัง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาวชนิสรา สุกหอม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยเยาวชนทั้ง 3 ทีมจะได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 10,000 บาททั้งนี้ ผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยจำนวน 5 ทีม จะได้นำเสนอผลงานภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2562 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ในวันที่ 18 สิงหาคม 2562 นี้ อีกด้วย"

ดร.อภิญาณ์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า "ขอแสดงความยินดีและขอชื่นชมเยาวชนทุกท่านที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ สำหรับโครงการนี้ หวังว่าจะช่วยสร้างเครือข่ายสำหรับเยาวชนไทยในการพัฒนาเป็นนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของประเทศได้อย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ