ป.ป.ช. จัดสัมมนามาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาคธุรกิจเอกชนในการต่อต้านการให้สินบน

พฤหัส ๐๖ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๔:๕๙
สำนักงาน ป.ป.ช. จัดโครงการสัมมนาเผยแพร่แนวทางการกำหนดมาตรการสำหรับนิติบุคคลในการป้องกันการให้สินบน เรื่อง "มาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาคธุรกิจเอกชนในการต่อต้านการให้สินบน" ในวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30 -16.30 น. ณ โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า ภูเก็ต ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

ภายในงาน ได้รับเกียรติจาก นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวต้อนรับ

และ พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และต่อด้วยการอภิปราย ในหัวข้อ "กฎหมาย ป.ป.ช. และแนวปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการให้สินบน : รู้ไว้ก่อนสาย" โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นายพนา รัตนบรรณางกูร ผู้อำนวยการโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต (CAC) นายอัครกิตติ์ กีรติธนาไชยยศ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนและการต่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ช. และนางสาวพัสสา วโรตมะวิชญ พนักงานไต่สวนระดับกลาง สำนักงาน ป.ป.ช.

ส่วนในภาคบ่ายเป็นการนำเสนออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต และการ

นำเสนอเครื่องมือ E-learning เรื่องการต่อต้านการทุจริตของภาคเอกชน โดย Mr. Francesco Checchi ที่ปรึกษาระดับภูมิภาคด้านการต่อต้านการทุจริต สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)

และการอภิปราย หัวข้อ "มาตรการป้องกันสินบนที่เหมาะสม : ทำไว้ก่อนสาย" (ตัวอย่างแนวปฏิบัติของบริษัทเอกชน) โดย นางสาวรัตนาวดี เกียรติซิมกุล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาองค์กร บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และผู้แทนภาคเอกชนจากต่างประเทศ (TBC)

สำหรับการจัดโครงการสัมมนาเผยแพร่แนวทางการกำหนดมาตรการสำหรับนิติบุคคลในการป้องกัน

การให้สินบน เรื่อง "มาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาคธุรกิจเอกชนในการต่อต้านการให้สินบน" นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนิติบุคคล โดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชน เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการป้องกันสินบนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรการป้องกันสินบนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย และแนวปฏิบัติให้ทันสมัย สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และสร้างความตื่นตัวให้ภาคธุรกิจเอกชนในพื้นที่ในการจัดทำมาตรการป้องกันการให้สินบน สอดคล้องกับแนวทางของสำนักงาน ป.ป.ช. และมาตรฐานสากล

การดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการต่อต้านสินบน มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

1. ได้มีการออกประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมสำหรับนิติบุคคลในการป้องกันการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ลงในราชกิจจานุเบกษา

2. จัดทำคู่มือแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมสำหรับนิติบุคคลในการป้องกันการให้สินบนเจ้าพนักงานของรัฐ โดยได้มีการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น รวมทั้งจัดทำวิดีโออินโฟกราฟฟิค โดยมีข้อมูลให้ดาวน์โหลดในเว็บไซต์ของสำนักงาน ป.ป.ช.

3.จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิติบุคคลเพื่อป้องกันการให้สินบน (Anti-Bribery Advisory Service : ABAS) ภายใต้สำนักสำนักกิจการและคดีทุจริตระหว่างประเทศ เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานสากล และให้คำปรึกษาเชิงวิชาการแก่ผู้ที่สนใจ และได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างกว้างขวางและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น www.nacc.go.th/abas

4. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 รับทราบการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. และให้ทุกหน่วยงานภาครัฐนำคู่มือฯ ไปเผยแพร่และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.ล.ต. ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. ศึกษาข้อมูลเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

5. เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2560 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดงานประกาศเจตนารมณ์ภาครัฐและเอกชนในการต่อต้านการให้สินบน โดยได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์และเป็นผู้นำกิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ โดยในงานดังกล่าวได้มีการเปิดตัวคู่มือแนวทางการกำหนดมาตรการฯ รวมทั้งศูนย์ให้คำปรึกษาสำหรับนิติบุคคลฯ

6. ได้ดำเนินการร่วมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวให้เข้าถึงภาคธุรกิจเอกชน

7. มีการประชาสัมพันธ์และบรรยายให้ความรู้อย่างต่อเนื่องแก่ภาคธุรกิจเอกชน เช่น บริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ สมาคมธนาคาร โดยในปี 2560 ได้ขยายไปสู่ระดับภูมิภาค โดยได้เริ่มจัดโครงการแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการต่อมาได้จัดเป็นการสัมมนาระดับภูมิภาคร่วมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) UNODC และ ABA ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO