ม.อ.ตรัง จับมือ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตรัง เปิดใช้ “โรงละคร ม.อ.ตรัง” ให้บริการแก่ชุมชน

ศุกร์ ๐๗ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๕:๓๔
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ร่วมให้การต้อนรับ คุณลือพงษ์ อ๋องเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตรัง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และคณะ ที่เข้าหารือเกี่ยวกับการเผยแพร่องค์ความรู้ การบริการวิชาการแก่ชุมชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง บริษัทประชารัฐรักสามัคคีตรัง ( วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และมหาวิทยาลัยในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยในการพุดคุยหารือดังกล่าว ได้มีการกล่าวถึงความร่วมมือของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับทางมหาวิทยาลัยในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน การแลกเปลี่ยน ทางด้านวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดตรัง วัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิม และเมืองคุนหมิง วัฒนธรรมชนเผ่า และการใช้โรงละคร อาคารเรียนรวม 3 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้าน การบริการแก่ชุมชนและในด้านการจัดหารายได้ ให้เพียงพอในการบริหารจัดการโรงละคร ของมหาวิทยาลัยฯ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ