SENA ล้ำหน้านำร่อง 6 โครงการบ้านเดี่ยว - ช็อปเฮ้าส์ ดันลูกบ้าน 164 รายยื่น “โซลาร์ภาคประชาชน”

จันทร์ ๑๐ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๕:๐๘
SENA รับแรงบวกจากรัฐนำร่อง"โซลาร์ภาคประชาชน" เตรียมยื่นขอสิทธิ์ให้กับลูกบ้านเข้าร่วมโครงการ หลังกกพ.เปิดรับซื้อไฟส่วนเกินเข้าระบบ 100 เมกะวัตต์ สัญญา 10 ปี ราคา 1.68 บาทต่อหน่วย ชี้รับประโยชน์คุ้ม 2 ต่อ ทั้งประหยัด และมีรายได้จากการขายไฟฟ้า ล่าสุดเช็ค 6 โครงการบ้านเดี่ยว – ช็อปเฮ้าส์พร้อมยื่นแล้ว 164 ราย

ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ผู้ดำเนินโครงการหมู่บ้านใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) เต็มรูปแบบรายแรกของไทย เปิดเผยว่า ทางเสนา ในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย(โซลาร์รูฟท็อป)ทุกหลังในทุกโครงการโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ลูกบ้านประหยัดค่าไฟฟ้าแล้วยังมีโอกาสที่จะนำส่วนเกินที่เหลือจากการใช้ไฟขายเข้าระบบผ่านโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ร่วมกับ 2 การไฟฟ้า คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ได้เปิดให้ยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.เป็นต้นไป โดยบริษัทได้เตรียมพร้อมที่จะยื่นขอสิทธิ์ให้กับลูกบ้าน รวมทั้งหมด 6 โครงการ ปกระกอบด้วย โครงการ เสนาพาร์ค แกรนด์ รามอินทรา ,โครงการเสนาพาร์ควิลล์ รามอินทรา – วงแหวน ,โครงการเสนาวิลล์ บรมราชชนนี สาย 5 ,โครงการเสนาแกรนด์ โฮม รังสิต ติวานนท์ โครงการเสนาช๊อปเฮ้าส์ พหลโยธิน คูคต และโครงการ เสนาช็อปเฮ้าส์ บางแค เฟส 1 และ เฟส 2 ซึ่งมั่นใจว่าจะมีจำนวนรายที่ยื่นสูงสุดกว่า 164 ราย คิดเป็นจำนวน 394.40 กิโลวัตต์

"เสนาจะเป็นผู้ยื่นให้กับลูกบ้านแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกบ้าน ซึ่งเสนาถือเป็นผู้พัฒนาอสังหาฯ เจ้าเดียวที่ทำหมู่บ้านที่ติดโซลาร์ทุกหลังภายใต้การดำเนินงานติดตั้งโดยบริษัท เสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่ จำกัดที่มีการบริการแบบครบวงจร ปัจจุบันมีการติดตั้งให้กับบ้านทุกหลัง รวม 400 หลัง ประมาณ 1,000 กิโลวัตต์ ทางเราทำมานานตั้งแต่โครงการโซลาร์รูฟเสรีนำร่อง ครั้งนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการติดตั้งแต่ยังไม่รับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบจนมาวันนี้มีโครงการโซลาร์ภาคประชาชนที่รัฐกำหนดไว้ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี 2018 )ที่จะเปิดรับซื้อ10ปีแรก (ปี2562- 2571 )ปีละ 100 เมกะวัตต์ โดยรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบ 1.68 บาทต่อหน่วยจะเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการกระตุ้นให้เกิดความคุ้มค่าการติดตั้งมากขึ้น"ผศ.ดร.เกษรากล่าว

ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัยหรือโซลาร์รูฟท็อปนั้น แม้ว่ารัฐจะไม่ซื้อไฟฟ้าเข้าระบบปัจจุบันก็เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคสนใจมากขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้วโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้คือ 1.คนสูงวัยและเด็ก 2.คนที่ทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ 3.พนักงานประจำ(หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์) แต่เมื่อพิจาณาดูแล้ว กลุ่มที่มีความคุ้มค่าในการใช้โซลาร์จะเป็นกลุ่มที่ 1 และ 2 ทำให้ตอบโจทย์ของการติดตั้งแผงโซลาร์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้แล้วคุ้มค่าเพราะแสงอาทิตย์มีช่วงกลางวันทำให้เกิดการประหยัดค่าไฟ ส่วนกลุ่มที่ 3 จะเป็นกลุ่มที่คุ้มค่าในการขายไฟฟ้าให้กับรัฐ เนื่องจากกลุ่มนี้ไม่ได้ใช้ไฟช่วงกลางวัน(วันธรรมดา) แต่เมื่อมีโซลาร์ภาคประชาชนที่รับซื้อไฟส่วนเกินเข้าระบบกลุ่มนี้จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ขณะเดียวกันโซลาร์ภาคประชาชน ยังมีส่วนสำคัญที่เข้ามาช่วงรอยต่อที่ระบบกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่(Energy Storage System)ที่เป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในขั้นทดลองเรื่องของคุณภาพ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นโครงการนี้เข้ามา ทำให้เกิดความคุ้มค่ากับมากกว่าการผลิตไฟฟ้าแล้วไม่ได้ใช้ ซึ่งทางเสนาฯได้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจด้านพลังงาน อยู่ระหว่างการศึกษาและแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้บริการกับลูกค้าให้ได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมรุกตลาดพลังงานมากขึ้น โดยบริษัทเสนาโซลาร์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด ได้มีการวางแผนและตั้งเป้ายอดขายในปีนี้ไว้ 600 ล้านบาท รวมกำลังการติดตั้ง 24 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเข้าไปขยายตลาดในกลุ่มผู้ประกอบการ อาทิ โรงงาน คลังสินค้า เป็นต้น รวมจำนวน 13 แห่ง โดยเฉพาะการเข้าไปทำตลาดในรูปแบบของการจำหน่ายไฟฟ้าตรงให้กับผู้ประกอบการ หรือ Private PPA เป็นการการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา และจำหน่ายไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ให้กับผู้ประกอบการโดยตรง เนื่องจากช่วงเวลากลางวันเป็นช่วงเวลา การจำหน่ายไฟฟ้าที่มีราคาสูง (ON PEAK) ทำให้ต้นทุนการใช้พลังงานลดต่ำลง เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จะมีราคาที่ต่ำกว่า ราคาไฟฟ้าที่ซื้อจากระบบของการไฟฟ้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ