เอสซีจี จับมือ สถาบันปาสเตอร์ ฝรั่งเศส หยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วยการพัฒนานวัตกรรมลดการแพร่พันธุ์ยุงลาย

อังคาร ๑๑ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๔:๓๓
ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี โดย ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ Chief Technology Officer และ สถาบันปาสเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส (Institut Pasteur) โดย ดร. อนวัช ศกุนตาภัย Coordinator of the Defeat Dengue Program, Head of Structure, Functional Genetics of Infectious Diseases, Institut Pasteur ร่วมลงนามในสัญญาความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยมี นายฌัก ลาปูฌ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธี ณ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย โดยความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Defeat Dengue Program ของสถาบันปาสเตอร์ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก โดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนอย่างเอเชีย และแอฟริกา

นายฌัก ลาปูฌ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย เผยว่า "ยุงลายและไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกราว 50 ล้านคนต่อปี และมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งสำคัญระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสที่จะได้ พัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับโลกนี้ร่วมกัน ซึ่งจะเกิดการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีระหว่างสถาบันวิจัยชั้นนำของโลกอย่างสถาบันปาสเตอร์ และองค์กรขนาดใหญ่ที่ยั่งยืนของไทยอย่างเอสซีจี"

ดร. อนวัช ศกุนตาภัย, Coordinator of the Defeat Dengue Program, Head of Structure, Functional Genetics of Infectious Diseases, Institut Pasteur กล่าวว่า "โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ซึ่งสถาบันปาสเตอร์เองได้ศึกษาและวิจัยเพื่อหยุดยั้งโรคระบาดนี้มานานกว่า 20 ปี และพบว่าการจะแก้ไขปัญหานี้ให้สำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ที่สามารถทำให้งานวิจัยขยายไปสู่ระดับชุมชนและสังคม ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและภาคธุรกิจ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่จะขยายผลไปยังระดับโลกได้"

ดร. สุรชา อุดมศักดิ์ Chief Technology Officer ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า "เอสซีจีมีจุดยืนด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Open Collaboration) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับชุมชนและสังคม สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ สถาบันปาสเตอร์ ให้ความไว้วางใจธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ในการนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาเคมีภัณฑ์สารเติมแต่งพิเศษ (Functional Material) รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และการออกแบบมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดการแพร่พันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะสำคัญในการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก"

สำหรับกรอบความร่วมมือระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ สถาบันปาสเตอร์ ในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยใน 2 ส่วนได้แก่ การพัฒนากับดักยุง (Mosquito Trap) และการพัฒนาสารพิเศษ (Functional Material) ที่ช่วยในการยึดเกาะของสารยับยั้งการแพร่พันธุ์ของยุงได้ดียิ่งขึ้น เมื่อสารดังกล่าวละลายลงในแหล่งน้ำจะทำปฏิกิริยาลดการเจริญเติบโตของลูกน้ำโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต

นอกจากนี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจีและ สถาบันปาสเตอร์ ยังได้ร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท อิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ในการใช้สารดึงดูด (Attractant) ล่อยุงลาย และ การวิจัยทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของกับดักยุงนี้ก่อนนำไปใช้จริงอย่างแพร่หลายต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ