สจล. ร่วมกับ มจธ. พีทีที แอลเอ็นจี ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างศูนย์ข้อมูลจากพลังงานความเย็นจากการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลว LNG

ศุกร์ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๐:๒๔
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (บริษัท PTTLNG) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดแผนการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับระบบทำความเย็นของศูนย์ข้อมูลจากพลังงานความเย็นในกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลว ลดต้นทุนบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลมากกว่า 50% ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลส่งเสริมให้ลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัล ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งนี้ สจล. มจธ. และบริษัท PTTLNG ได้ร่วมจัดพิธีลงนามความร่วมมือดังกล่าว ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 เว็บไซต์ www.kmitl.ac.th หรือwww.facebook.com/kmitlnews.

รองศาสตราจารย์ สุพจน์ ศรีนิล รองอธิการบดีฝ่าบริหารทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล. ได้ร่วมกับ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (บริษัท PTTLNG) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลโดยใช้ประโยชน์จากพลังงานความเย็นในกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลว ศูนย์ข้อมูล (Data Center) หรือที่เรียกว่า "บิ๊กเดต้า" (Big Data)ถือเป็นระบบการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลที่สำคัญทั้งในระดับประเทศ องค์กร หรือธุรกิจ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ในปัจจุบันมีองค์กรข้ามชาติขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจด้านดิจิทัล ที่จำเป็นจะต้องใช้ศูนย์เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และหลากหลายภูมิภาคในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน ซึ่งคิดเป็นต้นทุนในการบริหารจัดการจำนวนมาก โดยในพื้นที่เส้นศูนย์สูตรเขตร้อน การก่อสร้างศูนย์ข้อมูลมีต้นทุนในการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าในพื้นที่เขตอากาศหนาว จากค่าไฟฟ้าของระบบทำความเย็น ทีมนักวิชาการ สจล. จึงได้ร่วมมือกับบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (บริษัท PTTLNG) และมจธ.ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากความเย็น ในกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อทดแทนระบบทำความเย็น (Cooling System) ของศูนย์ข้อมูล เป็นครั้งแรกของโลก ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของศูนย์ข้อมูลมากกว่า 50%

รองศาสตราจารย์ สุพจน์ กล่าวต่อว่า การนำความเย็นของก๊าซธรรมชาติเหลวมาใช้ประโยชน์ จะเป็นการลดต้นทุนในการบริหารจัดการระยะยาวอย่างมหาศาลมากกว่า 50% โครงการดังกล่าว จะศึกษาการออกแบบเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูล และคำนวนความคุ้มค่าของตลาด ที่จะสามารถจูงใจบริษัทดิจิทัลชั้นนำของโลก อาทิ เฟซบุ๊ค (Facebook) ไมโครซอฟ (Microsoft) กูเกิล (Google) ไลน์ (Line) เข้ามาลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางศูนย์ข้อมูลของอาเซียน (ASEAN Data Center Hub) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมให้มีการลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัลสมัยใหม่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จึงได้เกิดความร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ ในการสร้างศูนย์ข้อมูลโดยใช้พลังงานความเย็นของก๊าซธรรมชาติเหลว ร่วมกับบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (บริษัท PTTLNG) และมจธ. เพื่อศึกษาและต่อยอดการสร้างศูนย์ข้อมูลที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานความเย็นจากกระบวนการเปลี่ยนสถานะของ LNG สู่การเป็นศูนย์กลางข้อมูลหลักของภูมิภาคอาเซียน ด้วยจุดแข็งด้านภูมิศาสตร์ที่สามารเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อข้อมูลจากทั่วโลกทั้งภูมิภาคยุโรป เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกา

ด้าน นายสมชาย ระมาศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและบำรุงรักษา บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (บริษัท PTTLNG) กล่าวว่า บริษัทPTTLNG ได้ริเริ่มโครงการใช้ประโยชน์จากพลังงานความเย็นจากกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลว จากโครงการใช้พลังงานความเย็นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้า และการปลูกพืชเมืองหนาวจากพลังงานความเย็น เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมกับการศึกษาประโยชน์ในทางวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อต่อยอดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC) ผ่านการใช้จุดแข็งการเป็นบริษัทหลักที่มีพลังงานความเย็นจากการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับเป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตสูงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ และจากการคาดการณ์แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเหลวที่สูงขึ้น ทำให้เกิดความเย็นจากกระบวนการเปลี่ยนสถานะก๊าซธรรมชาติเหลวดังกล่าวสูงขึ้นตามไปด้วย บริษัท PTTLNG จึงเกิดโครงการความร่วมมือ ศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ ในการสร้างศูนย์ข้อมูลโดยใช้พลังงานความเย็นของก๊าซธรรมชาติเหลว ร่วมกับ สจล. และ มจธ. เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (บริษัทPTTLNG) ได้ร่วมกันจัดพิธีลงนามความร่วมมือในโครงการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ ในการสร้างศูนย์ข้อมูลโดยใช้พลังงานความเย็นของก๊าซธรรมชาติเหลว เพื่อต่อยอดการสร้างศูนย์ข้อมูลจากการใช้พลังงานความเย็นของก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งแรกของโลก ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางข้อมูลหลักของภูมิภาค เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 เว็บไซต์ www.kmitl.ac.th หรือ www.facebook.com/kmitlnews

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version