สจล. คว้ามหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศด้านงานวิจัย พร้อมตั้งเป้าก้าวสู่ปีที่ 60 ยืนหนึ่ง งานวิจัยเทียบชั้นนานาชาติ

อังคาร ๑๘ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๐:๔๐
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้รับการประเมินประสิทธิภาพด้านงานวิจัย ลำดับที่ 1 ของประเทศไทย โดยสถาบันไทม์ ไฮท์เออร์ เอ็ดดูเคชัน (Times Higher Education) ยืนหนึ่งความสำเร็จบนเวทีระดับประเทศและนานาชาติ กับนวัตกรรมและงานวิจัยทั้งสาขาวิชาด้านศาสตร์และศิลป์ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในระดับภูมิภาค สร้างสรรค์บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานจริง พร้อมก้าวสู่โลกของเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่ความสำคัญ ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนามนุษย์ ผ่านเครื่องมือความคิดสร้างสรรค์และงานวิจัย เพื่อถ่ายทอดแนวความคิดสู่สังคม บนความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ย้ำจุดยืนการเป็นรากฐานนวัตกรรมไทย จากฝีมือคนไทย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. โทรศัพท์ 02-329-8111 เว็บไซต์ www.kmitl.ac.th หรือ www.facebook.com/kmitlnews

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สถาบันไทม์ ไฮท์เออร์ เอ็ดดูเคชัน (Times Higher Education – THE) สถาบันฯ ด้านข้อมูลการศึกษาระดับอุดมศึกษาและสถาบันการวิจัย ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดในการประเมินประสิทธิภาพ การเรียนการสอนและงานวิจัยที่สำคัญของสถาบันการศึกษา ในด้านต่างๆ อาทิ การเรียนการสอน การวิจัยและผลงานการวิจัย เป็นต้น ล่าสุดสจล. ได้รับการประเมินประสิทธิภาพด้านงานวิจัยและผลงานวิจัย ลำดับที่ 1 ของประเทศไทยจากความสำเร็จในการนำเสนองานวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ อวกาศและอากาศยาน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และสถิติ ธุรกิจและบริหาร สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและงานออกแบบ ศิลปศาสตร์ และการเกษตร ตามเป้าหมายและอุดมการณ์สถาบันฯ ที่มุ่งเป็นรากฐานนวัตกรรมไทย จากฝีมือคนไทย ก้าวเข้าสู่ปีที่ 60

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า สจล. ได้วางวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในระดับภูมิภาคอาเซียน และมุ่งพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ จากฝีมือนักศึกษา คณาจารย์ กระตุ้นบรรยากาศการเรียนรู้ในรูปแบบแอคทีฟ เลิร์นนิ่ง (Active Learning) ที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ในห้องเรียนสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม งานวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ สร้างบุคลากรที่มีทั้งความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานจริง เรียนรู้การแก้ไขปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา นอกจากนี้ จะมีการเรียนรู้ในรูปแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ระหว่างสาขาของนักศึกษาและคณาจารย์ จุดประกายแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมในอนาคต ทั้งนี้ สจล. มุ่งยกระดับคุณภาพและมาตรฐานงานวิจัยและนวัตกรรมของไทย ผ่านการเปิดพื้นที่ทางความคิดในการสร้างสรรค์ เพื่อสร้าง "มนุษย์" ให้มีความพร้อมก้าวสู่โลกของเทคโนโลยีดิจิทัลภายใต้ความร่วมมือกับนานาชาติ ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม

"มนุษย์ ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม – วัฒนธรรม และนวัตกรรม การศึกษาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์แบบ ผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และฝึกทักษะในสาขาวิชาชีพที่ตนถนัด เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และขับเคลื่อนการใช้เครื่องมือต่างๆ ทั้งในภาคการผลิตเดิมและดิจิทัล และในยุคของเทคโนโลยีดิสรัปชัน (Technology Disruption) การพัฒนามนุษย์ผ่านงานวิจัยถือเป็นส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นให้บุคลากรของประเทศได้ฝึกตั้งคำถาม ลงมือปฏิบัติ และถ่ายทอดแนวความคิดสู่สังคม ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทหลักในการสร้างนวัตกรนักวิจัย ที่ตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาประเทศ บนความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม"

สำหรับตัวอย่างสุดยอดผลงานที่ได้รับการยอมรับจากทั้งฝีมือนักศึกษาและคณาจารย์ มีหลากหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะสายสุขภาพ เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่สัมผัสร่างกาย ผ่านการวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยอาศัยหลักการนำไฟฟ้าของน้ำตาลในเลือดด้วยทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ต้นแบบขาเทียมควบคุมด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ การออกแบบขาเทียมที่ควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) เพื่อแปลงสัญญาณและจำลองรูปแบบลักษณะคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ให้ขาเทียมเคลื่อนไหวได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน นวัตกรรมแขนกลเทียมควบคุมด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าชีวภาพ บริเวณผิวหนังกล้ามเนื้อช่วงแขน ถอดรหัสสัญญาณด้วยโปรแกรมซอฟต์แวร์ ควบคุมสั่งการไปยังมือกลไฟฟ้า กลุ่มนวัตกรรมอาหาร ตะเกียบรับประทานได้ จากแป้งข้าวโพดและแป้งถั่วเหลือง เพื่อทดแทนตะเกียบไม้ไผ่ชนิดใช้แล้วทิ้ง ซึ่งช่วยลดปัญหาการกำจัดขยะที่มีมากในปัจจุบัน นวัตกรรมข้าวน้ำตาลต่ำ เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยคุมน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ออกแบบป้ายรถเมล์อัจฉริยะเตือนภัยฝุ่น การติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ด พร้อมพัดลมอัตโนมัติ WMApp ให้ผลการพยากรณ์อากาศ ความละเอียดสูงสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป กลุ่มนวัตกรรมงานออกแบบ เคหะสิ่งทอจากขยะการเกษตร ขยะจากอุตสาหกรรมการเกษตร นำไปใช้ตกแต่งบ้าน เป็นต้น ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. โทร.02-329-8111 เว็บไซต์ kmitl.ac.th หรือ www.facebook.com/kmitlnews

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version