นางศิริพรรณ ชุมนุม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ นางสาวจุลลดา มีจุล รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพฝ่ายวิชาการ ข้าราชการ สกศ. และเจ้าหน้าที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ Representative Team Thailand เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนครั้งที่ 6 และการประชุมเชิงปฎิบัติการ (The Sixth AQRF Committee Meeting and NQF Phase IV Workshop) ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้ความร่วมมือประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยมีประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประชุมร่วม ในฐานะผู้สนับสนุนงบประมาณและวิชาการ
โดยการประชุมดังกล่าว เป็นการนำเสนอความก้าวหน้าของแต่ละประเทศในการทำรายงานการเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สู่กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน โดยร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการขับเคลื่อนการเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) สู่กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ซึ่งมี 8 ระดับ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของประเทศสมาชิก ในการดำเนินงานเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนของแต่ละประเทศ ในการสร้างการกระตุ้นในทราบถึงความเชื่อมโยง ระหว่างโลกแห่งการศึกษา และโลกแห่งการทำงาน รวมไปถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายนักเรียน นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรี ถือเป็นการสร้างโอกาส ความเข้มแข็ง และความเชื่อมั่นระหว่างกันในประเทศภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะได้กำลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะทางอาชีพมีความพร้อมในการทำงานแบบไร้พรมแดนในสังคมพหุวัฒนธรรม
การพัฒนากรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนให้สำเร็จจะมีส่วนจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับสมรรถนะกำลังคนในภูมิภาค รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ ช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว เป็นการส่งเสริมให้กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ ของ สคช. สามารถเทียบเคียงสู่กรอบคุณวุฒิแห่งชาติได้อย่างมีหลักการและมีคุณภาพ ทั้งในส่วนของแนวทางและกลไกการเชื่อมโยง การเติมเต็ม เพื่อเทียบเคียง/ เทียบโอนระหว่างคุณวุฒิการศึกษากับมาตรฐานอาชีพแบะคุณวุฒิวิชาชีพ สนับสนุนให้เกิดความโปร่งใสของระบบ สร้างความเชื่อมั่นของระบบอย่างแท้จริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในโอกาสและคุณค่าให้กับผู้เข้ารับการประเมินที่ได้ผ่านการประเมินและรับรองประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ จาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
ทั้งนี้ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ที่ใช้เป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคน ด้วยหลักประชารัฐ สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนากำลังคนของภาคเอกชนและผู้ประกอบการที่ใช้กำลังคน เป็นผู้กำหนดความต้องการกำลังคนเชิงคุณภาพของภาคเศรษฐกิจและสังคม ในการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ โดยระบบคุณวุฒิวิชาชีพจะให้ความสำคัญกับการรับรองความสามารถของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ที่จำเป็นต้องพัฒนา "กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ" เพื่อกำหนดระดับความสามารถของบุคคล และใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำมาตรฐานอาชีพสำหรับเป็นเกณฑ์การรับรองการให้คุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพร่วมกับภาคเอกชน และนำไปสู่การเทียบเคียงกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและกรอบคุณวุฒิอื่นต่อไป