ปภ.แนะผู้ขับขี่รับมือ 5 จุดอับสายตาขณะขับรถ...อันตรายที่ควรระวัง

พุธ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๔:๑๙
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจาก 5 จุดอับสายตาขณะขับรถ ทั้งจุดอับมุมหน้ารถ จุดอับกระจกมองข้าง จุดอับกระจกมองหลัง จุดอับจากรถขนาดใหญ่ และจุดอับจากสภาพถนน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า จุดอับสายตาขณะขับขี่ เกิดจากการมีสิ่งบดบังหรือรบกวนการมองเห็นของผู้ขับขี่ ทำให้มองไม่เห็นรถหรือสิ่งกีดขวางในบางจุด เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจาก 5 จุดอับสายตาขณะขับรถ ดังนี้ จุดอับมุมหน้ารถ เกิดจากมุมเสาหน้ารถระหว่างกระจกหน้าและกระจกข้าง ส่งผลให้มองไม่เห็นรถที่ขับขนานด้านข้างรถ แก้ไขโดยการปรับเบาะนั่งให้เหมาะสมกับรูปร่างของผู้ขับขี่ ไม่สูงหรือต่ำเกินไป จะช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง รวมถึงตั้งระยะห่างระหว่างศีรษะกับหลังคาให้สูงเข้าไว้ จะช่วยให้มองเห็นเส้นทางได้ชัดเจนกว่ามุมปกติ จุดอับกระจกมองข้างเกิดจากปรับกระจกมองข้างในระดับที่ไม่เหมาะสม ทำให้มองไม่เห็นรถที่ขับมาด้านข้าง แก้ไขโดยการ ปรับกระจกมองข้างให้อยู่ในองศาที่เหมาะสม มองเห็นด้านข้างของรถเพียง 1/3 ขอพื้นที่กระจก และก่อนเปลี่ยนช่องทางหรือเลี้ยวรถให้หันศีรษะไปมองด้านข้างเล็กน้อย จะช่วยให้มองเห็นรถที่อยู่ในจุดอับสายตา จุดอับกระจกมองหลัง ผู้ขับขี่มักละเลยการใช้กระจกมองหลัง โดยมองเส้นทางผ่านกระจกมองข้างเพียงอย่างเดียว หรือวางสิ่งของบริเวณกระจกด้านหลัง แก้ไขโดยการ ใช้กระจกมองหลังกับกระจกมองข้างสลับกันเป็นระยะ ไม่วางสิ่งของบริเวณกระจกหลังรถ เพราะจะบดบังกระจกมองหลัง ทำให้มองไม่เห็นรถด้านท้ายรถหรือรถที่วิ่งตามหลังมา จุดอับจากรถขนาดใหญ่ การขับรถตามหลังรถขนาดใหญ่ในระยะกระชั้นชิด ทำให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นเส้นทางด้านหน้าและด้านข้าง จึงไม่สามารถประเมินสภาพเส้นทาง รวมถึงกะระยะ และความเร็วของรถที่ร่วมใช้เส้นทาง แก้ไขโดยการรักษาระยะห่างจากรถขนาดใหญ่ให้เหมาะสม ประมาณ 3 – 4 ช่วงคันรถ หรือ 10 เมตร เพื่อให้มีมุมในการมองเห็นเส้นทางกว้างขึ้น และหลีกเลี่ยงการขับรถตีคู่กับรถขนาดใหญ่เป็นเวลานาน เพราะด้านข้างรถขนาดใหญ่เป็นจุดอับสายตา ทำให้ผู้ขับรถขนาดใหญ่มีขอบเขตในการมองเห็นจำกัด จุดอับจากสภาพถนน เกิดจากลักษณะทางกายภาพของเส้นทาง ทำให้มองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน อาทิ โค้งหักศอก ทางขึ้น - ลงเนิน ถนนมีสิ่งก่อสร้างบดบังเส้นทาง แก้ไขโดยการปฏิบัติตามป้ายเตือนหรือสัญญาณจราจรอย่างเคร่งครัด อาทิ ห้ามแซงในทางโค้ง ให้ใช้เสียงแตร ส่งสัญญาณเตือนผู้ร่วมใช้เส้นทาง รวมถึงชะลอความเร็วเมื่อขับรถผ่านจุดอับของเส้นทาง พร้อมสังเกตสภาพเส้นทาง เมื่อขับรถผ่านจุดอับสายตา แล้วจึงค่อยใช้ความเร็วตามปกติ ทั้งนี้ การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด การขับรถอย่างมีสมาธิ และมองเส้นทางให้รอบด้าน จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากจุดอับสายตาขณะขับรถ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๙ คัมมิ่นส์ ดีเคเอสเอช ร่วมจัดแสดงสินค้าเครื่องยนต์คัมมิ่นส์ รุ่น QSB6.7 สำหรับรถตัดอ้อย
๑๗:๑๒ ค็อกพิทรุกขยายสาขาต่อเนื่อง ปักหมุดสาขาใหม่ย่านถนนศรีจันทร์ ขอนแก่น มอบความสุขลูกค้าส่งท้ายปีด้วยโปรโมชันใหญ่สุดคุ้ม
๑๖:๐๐ ไอคอนสยาม ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เตรียมพร้อมกำลังพลปฏิบัติการด้านความปลอดภัยขั้นสุด ต้อนรับงานเคานต์ดาวน์
๑๕:๑๒ เซ็นทาราออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรก สอดรับการเติบโตในเอเชีย
๑๕:๑๐ ดีเดย์! 4 ศูนย์การค้าในเครือ เอ็ม บี เค เปิดโครงการ ข.ขวดรักษ์โลก แยกขวดช่วยน้อง สนองเป้า Net Zero บริหารจัดการขยะอย่างรู้คุณค่า 4
๑๕:๔๘ สจส. เร่งศึกษารูปแบบจัดการเดินเรือในคลอง-สนับสนุนเอกชนลงทุน-ใช้พลังงานสะอาด
๑๕:๐๓ D-Link ยืนยัน มุ่งสร้างความมั่นใจในการเชื่อมต่ออัจฉริยะและความปลอดภัยทางไซเบอร์
๑๕:๔๑ TBC จัดงาน Business Partner Award 2024 ครั้งแรกกับงานมอบรางวัลเกียรติคุณยกย่อง ให้กับพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน
๑๕:๒๕ ต้นกล้าฟ้าใส จัด 3 เซ็ตเมนูพิเศษแบบ อร่อย.ดี ฟินคุ้ม เริ่มเพียง 149 บาท
๑๕:๑๔ สสว. ปลื้มกิจกรรมส่งท้าย Roadshow SME Academy On Tour ที่ จ.ยะลา มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ SME เสริมเกราะความรู้เพื่อธุรกิจเติบโต