CLMV ยังเติบโตบนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี แต่เผชิญความเสี่ยงรายประเทศและการชะลอตัวของจีน

พุธ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๗:๒๔
เศรษฐกิจซีแอลเอ็มวียังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 6-7% ในปี 2019 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเด็นสงครามการค้า อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศต่อกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวียังคงอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากมูลค่าการส่งออก เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ และภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดี โดยในช่วงสองเดือนแรกของปี 2019 การส่งออกรวมของซีแอลเอ็มวีขยายตัว 5%YOY โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงการค้าเสรีและกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้า ขณะเดียวกัน ภาครัฐได้ลงทุนต่อเนื่องเพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ นอกจากนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้กลุ่มชนชั้นกลางขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการบริโภคครัวเรือนต่อไป อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงหลักต่อเศรษฐกิจซีแอลเอ็มวีในระยะข้างหน้ามีมากขึ้น ซึ่งได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ ได้แก่ การเพิกถอน EBA จากสหภาพยุโรปสำหรับกัมพูชาและเมียนมา ความเปราะบางทางเศรษฐกิจต่อความเสี่ยงภายนอกโดยเฉพาะในลาวและเมียนมา และการเติบโตอย่างรวดเร็วของสินเชื่อในเวียดนาม ซึ่งอาจก่อหนี้เสียให้กับประเทศ

เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวชะลอลงที่ 6.8% ในปี 2019 การส่งออกยังคงเติบโตได้ดี โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนภายใต้สิทธิพิเศษทางการค้า ขณะเดียวกัน กัมพูชายังสามารถดึงดูด FDI จากกลุ่มผู้ผลิตที่ต้องการเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญในระยะข้างหน้า ความเสี่ยงในระยะข้างหน้าคือการสูญเสียสิทธิประโยชน์ EBA จากสหภาพยุโรปในปี 2020 เศรษฐกิจลาวจะยังเติบโตต่อเนื่องที่ราว 6.7% ในปี 2019 โดยมีภาคการก่อสร้าง การส่งออกไฟฟ้า และการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจลาวคือเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางจากความเสี่ยงภายนอก เนื่องจากมีระดับ หนี้สาธารณะสูง มีระดับทุนสำรองระหว่างประเทศต่ำ ทั้งยังพึ่งพาเศรษฐกิจจีนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในภาคการลงทุน

เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยโตเพียง 6.4% ใน FY2018/19 จากการส่งออกที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและความเป็นไปได้ในการสูญเสียสิทธิประโยชน์ EBA จากสหภาพยุโรปประกอบกับวิกฤติโรฮิงญาที่ต่อเนื่องจากปี 2018 สั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ แนวโน้มการเติบโตในระยะข้างหน้าจึงต้องพึ่งพาความสำเร็จของนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจรอบใหม่

เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเป็น 6.5% ในปี 2019 และในอีก 5 ปีข้างหน้า FDI และการส่งออกจะยังสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ ด้วยแรงหนุนจากข้อตกลงทางการค้า EVFTA และแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนามเพื่อเลี่ยงสงครามการค้า อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจเวียดนามคือเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอลงกว่าที่คาดซึ่งจะส่งผลลบต่อการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อภายในประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ