กสอ. จับมือ สถาบัน SIMTec ติดอาวุธบุคลากรภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลหวังยกระดับศักยภาพเอสเอ็มอีไทยรองรับไทยแลนด์ 4.0

พฤหัส ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๖:๓๗
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถาบันเทคโนโลยีการผลิตภาคเอกชนที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียแปซิฟิก ณ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล แหล่งเรียนรู้ภาคอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่มีมาตรฐานสูงสุด พร้อมเดินหน้าความร่วมมือยกระดับทักษะฝีมือ พัฒนาบุคลากรรองรับการเติบโตอุตสาหกรรมไทยในอนาคต

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า เอสเอ็มอีเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ของประเทศ และจะยิ่งทวีบทบาทความสำคัญมากขึ้นในอนาคต แต่ข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร ส่งผลให้เอสเอ็มอีต้องเผชิญกับความท้าทาย ทั้งปัจจัยภายในและนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาพสังคม กฎกติกาใหม่ของการค้าโลก รวมถึงภัยทางธรรมชาติ เอสเอ็มอีไทยจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยสู่การเป็นสมาร์ทเอสเอ็มอี 4.0 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระดับฐานราก (Local Economy) ไปจนถึงเอสเอ็มอีที่มีขนาดใหญ่ โดยกระตุ้นให้เอสเอ็มอีในทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ จากแนวคิดเดิม ๆ ไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ทันสมัยก้าวทันโลก รู้จักนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ กสอ. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ให้มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพ เพื่อช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้าเติบโต เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสู่ประเทศไทย 4.0 โดย กสอ. ได้บูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการพัฒนาสู่ Industry 4.0 ผ่านกลไกการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เช่น 1. ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industrial Transformation Center 4.0: ITC 4.0) ดำเนินการสนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ยกระดับความสามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ในทุกระดับและพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เหมือนเป็นผู้ช่วยทางวิศวกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับประกอบการ 2. InnoSpace (Thailand)บริษัทที่เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการสร้างและพัฒนาสตาร์ทอัพ โดยใช้แนวทาง National Startup Platform เพื่อพัฒนาและส่งเสริมStartup ของประเทศไทยให้ช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการในทุกระดับและครอบคลุมทุกสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้ Startup ไทยสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยคาดว่าจะสามารถพัฒนาสตาร์ทอัพได้ไม่น้อยกว่า 10,000 ราย ภายในปี 2565 3. Connected Industry โดยใช้แนวทางของ Three Stage Rocket Approach ในการส่งเสริมวิสาหกิจให้ใช้ระบบติดตามอัจฉริยะในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยผลสัมฤทธิ์ของโครงการสามารถสร้างผลิตภาพเพิ่มขึ้นกว่าร้อยกว่า 30 สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการลดต้นทุนการผลิตกว่า 970 ล้านบาท โดยมีหน่วยงานเครือข่ายร่วมดำเนินการประกอบด้วย ASAHI / DENSO / TOYOTA / DELTA / CoRE Network

"ท้ายที่สุดนี้ ในการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่มีเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์เป็นหลักในการเดินหน้าสู่อนาคตนั้น ไม่อาจประสบความสำเร็จได้จากเพียงการดำเนินการของภาครัฐฝ่ายเดียว แต่หากยังต้องอาศัยพลังความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของทุกฝ่ายในรูปแบบกลไกของประชารัฐ ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาสังคม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิและยั่งยืนอย่างแข็งแกร่งต่อไป" นายกอบชัยกล่าว

ด้านนายจิระพันธ์ อุลปาทร ประธานกรรมการ บริษัท เครือสุมิพล จำกัด กล่าวว่า บริษัท สุมิพล เป็นผู้นำด้านการจัดจำหน่ายเครื่องจักรกลและเครื่องมืออุตสาหกรรมคุณภาพสูง อีกทั้งยังให้บริการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับลูกค้า โดยได้ขยายความร่วมมือไปยังองค์กรภาครัฐ เอกชนอื่น และภาคการศึกษา เพื่อยกระดับทักษะฝีมือและสร้างกำลังแรงงาน ทั้งนี้ จากการที่ภาครัฐได้ประกาศโครงการพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Carridor) หรือ EEC เมื่อปี 2559 จึงมีการก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (Sumipol Institute of Manufacturing Technology) หรือ สถาบัน SIMTec ขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจ ดึงดูดการลงทุน และอบรมให้ความรู้บุคลากรในอุตสาหกรรมใหม่ 12 S-Curve สถาบัน SIMTec เป็นศูนย์ฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้แก่วิศวกร ช่างเทคนิค บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา ตั้งบนเนื้อที่ 7 ไร่ โดยมีพื้นที่อาคารกว่า 7,500 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องเรียน ห้องอบรม และห้องสัมมนาขนาดใหญ่ ครบครันด้วยเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการฝึกปฏิบัติจริง โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำของโลก เช่น ผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องจักรและหุ่นยนต์ DMG, MOR, FANUC, NACHI ผู้ผลิตเครื่องมือวัดละเอียดความเที่ยงตรงแม่นยำสูง MITUTOYO เครื่องมือตัด / อุปกรณ์จับยึด SUMITOMO, OSG, A.L.M.T, BIG DAISHOWA, NABEYA(ERON) และอื่น ๆ

"สุมิพล มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาบุคลากรของชาติ โดยถือเป็นภารกิจที่สำคัญซึ่งจะเดินหน้าต่อไปควบคู่กับการดำเนินธุรกิจในด้านเครื่องจักรกลและเครื่องมืออุตสาหกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง" นายจิระพันธ์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version