นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน เผยว่า นับเป็นปีที่ 2 แล้วที่ มูลนิธิร่วมมือกับซีพีเอฟ แสดงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้แรงงานของบริษัทมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ผ่านการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายแรงงานไทย สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้แรงงานทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง โดยปีนี้ มูลนิธิฯ ยังได้เพิ่มกิจกรรมเปิดโอกาสให้แรงงานต่างชาติได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน และชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งมีส่วนร่วมเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือสิ่งที่คาดหวัง
"ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ในปีที่ 2 จะมุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้แรงงานที่เข้าอบรมได้แบ่งปันข้อมูลคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานและครอบครัวจะช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงปัญหาของแรงงานถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่ การปรับปรุงการบริหารจัดการด้านแรงงานของบริษัทฯ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งช่วยทวนสอบถึงกระบวนการจัดจ้างแรงงานที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง ถูกต้องตามกฎหมายและหลักสากล" นายสมพงค์กล่าว
การดำเนินงานของ ศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN และ Worker Training นอกจากจัดการจัดอบรมแรงงานที่เพิ่งเข้ามาทำงานในสถานประกอบการโรงงานทุกแห่งของซีพีเอฟ โดยมีศูนย์ Labour Voice by LPN ทำหน้าที่เป็นช่องทางให้พนักงานทุกคนทุกเชื้อชาติได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ร้องเรียน หรือขอความช่วยเหลือผ่านองค์กรที่เป็นกลางแล้วนั้นนั้น มูลนิธิฯ ยังเพิ่มกระบวนการทวนสอบการสรรหาและจัดจ้างแรงงานต่างชาติตั้งแต่ประเทศต้นทาง เพื่อให้สร้างความมั่นใจว่าการจัดจ้างแรงงานต่างชาติของซีพีเอฟดำเนินด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และช่วยให้บริษัทฯ สามารถจัดการและป้องกันปัญหาที่อาจทำให้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือปัญหาหนี้สินที่สูงเกินไป เป็นต้น
นายปริโสทัติ ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า จนถึงวันนี้ มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานให้กับแรงงานที่ทำงานกับซีพีเอฟแล้ว 3 โรงงาน ตั้งเป้าปีนี้จะจัดกิจกรรมการอบรมแรงงานและการทวนสอบข้อมูลที่มาของแรงงานต่างชาติได้ครบทุกโรงงานประมาณ 20 รุ่น เพื่อส่งเสริมความรู้และความสามารถเข้าถึงสิทธิของแรงงานได้เพิ่มขึ้นกว่า 1,000 คน รวมทั้งบริษัทฯ สามารถมีข้อมูลพื้นฐานที่เพียงพอ นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานให้มีความสุข และสร้างความมั่นคงให้แรงงานและครอบครัวของแรงงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ส่งเสริมการเติบโตอย่างไปด้วยกัน สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ.