ลด น.เนื้อ เพื่อ ล.โลก กรีนพีซรณรงค์งดเนื้อสัตว์เพื่อลดความเสี่ยงเชื้อดื้อยา

จันทร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๐๙:๓๒
เนื่องในสัปดาห์งดเนื้อสัตว์โลก กรีนพีซในหลายประเทศได้จัดกิจกรรมรณรงค์ร่วมกับภาคประชาชนเพื่อผลักดันนโยบายลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงาน ผ.ผักกินดี ลด น.เนื้อ เพื่อ ล.โลก ขึ้น ร่วมกับ Krua.co สำนักพิมพ์แสงแดด เพื่อเดินหน้าผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงนิเวศและการผลิตที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ร่วมลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาบริโภคอาหารที่ทำจากพืชผักอย่างน้อยสองมื้อต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพของทุกคนและความอุดมสมบูรณ์ของโลก เนื่องจากการทำปศุสัตว์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคปศุสัตว์นั้นมากพอ ๆ กับก๊าซเรือนกระจกที่มาจากรถยนต์ รถบรรทุก เครื่องบิน และเรือทั้งหมดทั่วโลกรวมกัน [1]

ระบบอาหารในปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ สร้างผลกระทบมากที่สุดในกระบวนการผลิตอาหาร กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ ครอบคลุมถึงการทำลายผืนป่า การใช้สารเคมีอันตราย ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และก่อมลพิษทางอากาศและน้ำเสีย นอกจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์นั้นจะใช้ที่ดินจำนวนมากแล้ว ยังใช้พื้นที่มหาศาลเพื่อเพาะปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (หรือ FAO) ระบุว่า ร้อยละ 30 ของพืชที่ปลูกทั่วโลกถูกป้อนไปเลี้ยงอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์[2] และมีการใช้ยาปฏิชีวนะกว่า 60,000 ตันต่อปี [3]

"ปัญหาโรคติดเชื้อดื้อยา และการตกค้างของยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาในเนื้อสัตว์ เป็นวิกฤตที่องค์การอนามัยโลกยกให้เป็นความเร่งด่วนทางสุขภาพของปี 2562 ที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน นี่คือความล้มเหลวของระบบอาหารเชิงอุตสาหกรรมที่กำลังคุกคามสุขภาวะของคนไทย โดยที่ประเทศไทยคาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาปีละ 19,122 ราย [4] ทางออกที่ภาครัฐสามารถดำเนินการได้คือ กำหนดนโยบายนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของการเลี้ยงสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ ผ่านทางฉลากบนผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ เพื่อคืนสิทธิในการรับรู้ข้อมูลและการเลือกบริโภคของประชาชน"รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

"เชื้อดื้อยาเป็นเชื้อโรคที่สามารถยับยั้งการทำงานของยาปฏิชีวนะได้ ทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผลดีดังเดิม การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นภาคส่วนของการใช้ยาเพื่อรักษา และการใช้ในการเลี้ยงสัตว์ส่งผลให้เกิดการตกค้างของเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมและอาหาร สิ่งเหล่านี้คือวิกฤติสุขภาพที่หากไม่มีการปรับเปลี่ยนและควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม ยาปฏิชีวนะที่เคยช่วยรักษาและช่วยชีวิตคนได้ ก็อาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไปและเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยามากขึ้น ไม่ต่างจากการกลับไปยังยุคมืดที่ยังไม่มีการคิดค้นเพนิซิลลิน" รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ – โรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี กล่าว

"มีความเข้าใจที่ไม่ค่อยจะถูกนักว่า การบริโภคแต่ผักผลไม้จะได้สารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ จริงๆแล้วผักและธัญพืชหลายชนิดอุดมไปด้วยโปรตีนที่มีคุณภาพ เพียงแค่เราในฐานะผู้บริโภคจะเลือกสรรและปรุงให้เป็นเท่านั้น และนอกจากประโยชน์แล้ว การกินผักและลดเนื้อสัตว์ลงยังเป็นการกินเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก เราในฐานะสิ่งมีชีวิตหนึ่งในโลกใบนี้ น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมากินเพื่ออนาคตของเรา" เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ จาก KRUA.CO สำนักพิมพ์แสงแดด

ภายในงานมีกิจกรรมเวิร์กช็อป "อาหารจานผักสำหรับเด็ก ๆ" เมนูเวจจี้ เทมากิ โดย เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ ซึ่งเป็นอีกเมนูผักที่สามารถดึงดูดเด็ก ๆ ให้หันมากินผักมากขึ้นได้ และรู้สึกสนุกกับการกินผักมากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น เสริมสร้างโภชนาการ [5] และเรียนรู้ประโยชน์ของผักตั้งแต่วัยเยาว์

กรีนพีซจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความเชื่อมโยงของการทำปศุสัตว์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนำเสนอประโยชน์ที่จะได้จากการกินอาหารที่ทำจากพืชผักเป็นหลัก อ่านข้อมูลเพิ่มเติมและร่วมลงชื่อเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารที่มาจากเกษตรกรรมเชิงนิเวศและยั่งยืนได้ที่ รอhttps://act.gp/2FqV82F

หากไม่เริ่มเปลี่ยนการกินอาหาร การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์อาจส่งผลให้โลกไม่สามารถบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสได้

หมายเหตุ

[1] IPCC 2014: Smith, P., et al. 2014. Agriculture, Forestry and Other Land-Use (AFOLU)

[2] www.fao.org/3/y5019e/y5019e03.htm

[3] www.fao.org/3/a-i7138e.pdf

[4] www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5030096/

[5] เอกสาร ผ.ผักกินดี รวบรวมคุณค่าสารอาหารที่มาจากพืชผัก

[6] รายงาน ลดเพื่อเพิ่ม "ลด" เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม "เพิ่ม" สุขภาวะที่ดีของมนุษย์และโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version