ก.แรงงานจับมือเอกชนยกระดับช่างแอร์สู่License

อังคาร ๒๕ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๖:๒๕
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ที่ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการพัฒนาฝีมือแรงงาน สาขาช่างเครื่องปรับอากาศ กับ นายอาคิฮิสะ โยโคยามา ประธานบริษัท สยามไดกิ้น เซลส์ จำกัด เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ด้านเครื่องปรับอากาศ ทั้งแรงงานใหม่และแรงงานในสถานประกอบกิจการ ให้มีความรู้ ความสามารถ รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนช่างติดตั้งเครื่องปรับอากาศทีมีฝีมือในตลาดแรงงาน

นายสุชาติ เปิดเผยว่า กพร. ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบประชารัฐ เพื่อพัฒนาทักษะ และยกระดับฝีมือแรงงาน ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ให้เป็นแรงงานคุณภาพ หรือ super worker อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสาขาวิชาชีพช่างติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งปัจจุบัน มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีไปอย่างรวดเร็ว และกำลังประสบภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ และความรู้ความสามารถ กพร.จึงร่วมกับบริษัท สยามไดกิ้นเซลส์ จำกัด จัดฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้แก่ช่าง นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ยังได้มอบเครื่องปรับอากาศ 34 เครื่อง เพื่อใช้ในการฝึกอบรมและทดสอบ โดยทางบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพานิชย์ขนาดเล็กระดับ1 แล้วและอยู่ระหว่างการขออนุญาต เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐาน ระดับ 2 ในขณะนี้

อธิบดี กพร.ยังกล่าวต่อไปว่า เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้การ สนับสนุน และคำแนะนำ ในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กพร.และบริษัทไดกิ้นเซลส์ จึงร่วมกันพัฒนาหลักสูตร และฝึกอบรมยกระดับฝีมือ แก่บุคลากรในสาขาติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบ VRV หลักสูตร 30 ชั่วโมง จำนวน 4 รุ่นๆ ละ 16 คน รวมทั้งสิ้น 64 คน โดยให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว สำหรับระบบ VRV คือ ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ที่คอนเดนซิ่ง 1ชุด สามารถเชื่อมต่อชุดภายในหรือแฟนคอยล์ได้สูงสุดถึง 64 เครื่อง ผสานเทคโนโลยี VRT สามารถปรับ "อุณหภูมิของน้ำยา" ตามสภาวะอากาศ จึงช่วยประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น พร้อมระบบควบคุมส่วนกลางอัจฉริยะ ITM (Intelligent Touch Manager) ช่วยควบคุมและตรวจสอบการทำงาน สามารถเปิด-ปิด กำหนดอุณหภูมิแต่ละห้อง ตั้งค่าการทำงานรายสัปดาห์ รวมถึงรายงานข้อมูลการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำ นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายปริมาณสารทำความเย็นโดยตรง ผ่านตัวควบคุมการจ่ายสารทำความเย็นที่ติดตั้งไว้ที่คอยล์เย็น (Indoor Unit) ได้อย่างแม่นยำช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าถึง 40% เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้น โดยบริษัทไดกิ้นเซลส์ เหมาะสำหรับติดตั้งในอาคารสูง หรือออฟฟิศ ที่มีห้องแยกหลายๆห้อง ต้องมีพื้นที่ในการติดตั้งคอยล์ร้อนเพียงพอเหมาะสม เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ การติดตั้งและบำรุงรักษาก็ต้องใช้ช่างที่ชำนาญงานและเข้าใจระบบเพราะเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่

"สาขาอาชีพช่างเครื่องปรับอากาศ อาจได้รับการผลักดันให้เป็นอีกสาขาที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ โดยผู้ที่มีทักษะและมีความชำนาญในการติดตั้ง หรือมี License เช่นเดียวกับสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนนั่นเอง ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่ประกอบอาชีพในสาขาช่างเครื่องปรับอากาศ เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า ซึ่งสามารถสมัครเข้ารับการทดสอบฯ ได้ที่สถาบันหรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 กด 4 หรือกองสื่อสารองค์กร 0 2245 4035." อธิบดี กพร. กล่าวทิ้งท้าย .

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ