ผลสำรวจชี้แนวโน้มบุหรี่ผิดกฎหมายในท้องตลาดลดลง 'ฟิลลิป มอร์ริส’ ชื่นชมมาตรการปราบปรามเชิงรุกของภาครัฐ

พุธ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๙ ๑๕:๕๗
- คาดช่วยลดการสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตในปี 2561 ได้กว่า 2 พันล้านบาท

- วอนภาครัฐจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจต่อต้านบุหรี่เถื่อน โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดที่มีบุหรี่เถื่อนมากที่สุด

บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เผย "ผลการสำรวจซองเปล่าบุหรี่ (Empty Pack Survey)" * ซึ่งทำการสำรวจสัดส่วนบุหรี่ที่ไม่เสียภาษีจากซองเปล่าบุหรี่ที่ถูกทิ้งแล้ว 10,000 ซอง โดยสุ่มเก็บตามท้องถนนและสถานที่ทิ้งขยะสาธารณะใน 36 จังหวัด ทั่วประเทศไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 พบซองบุหรี่ไม่เสียภาษี (ไม่มีแสตมป์สรรพสามิตไทย) เหลือเพียง 5.2% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่พบบุหรี่ผิดกฎหมายราว 6.6% เนื่องจากราคาบุหรี่ปรับตัวสูงขึ้นจากการปฏิรูปโครงสร้างภาษีสรรพสามิต โดยฟิลลิป มอร์ริสขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับภาครัฐบาล และหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ร่วมมือกันดำเนินงานตามมาตรการปราบปรามเชิงรุกให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

นายพงศธร อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ให้ความเห็นว่า "ถือเป็นความสำเร็จของกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการปราบปราม ทำให้สัดส่วนบุหรี่ไม่เสียภาษีเฉลี่ยทั่วประเทศลดลง ซึ่งประเมินแล้วว่า ช่วยลดการสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีของภาครัฐได้มากถึง 2 พันล้านบาท แต่สถานการณ์ในจังหวัดที่พบบุหรี่ไม่เสียภาษีมากที่สุดและเป็นที่น่าจับตามอง คือ 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ที่พบบุหรี่ ไม่เสียภาษีสัดส่วนสูงถึง 73.4% ตามมาด้วย สตูล 72.7% และพัทลุง 36%"

นายพงศธรเสริมว่า "ร้อยละ 70 ของซองบุหรี่เปล่าที่ไม่เสียภาษีที่พบในการสำรวจนั้น ไม่ปรากฏฉลากที่ระบุว่าผลิตมาเพื่อจำหน่ายในประเทศใด หรือเพื่อจำหน่ายในร้านค้าปลอดอากรแต่อย่างใด จึงทำให้ไม่สามารถระบุที่มาของบุหรี่ดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามซองบุหรี่ที่ไม่เสียภาษีส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อที่เป็นที่รู้จักดีในตลาดชายแดนภาคใต้ และจากที่ได้พูดคุยกับร้านค้าปลีกรายเล็กๆ ในพื้นที่ซึ่งจำหน่ายบุหรี่ถูกกฎหมาย ก็ได้ข้อสรุปที่สอดคล้องกับผลการสำรวจ ดังนั้น เรามองว่าหากมีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามการลักลอบจำหน่ายบุหรี่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง คล้ายกับในประเทศออสเตรเลีย ก็น่าจะสามารถบรรเทาปัญหาลงได้"

ขณะเดียวกัน นายพงศธรได้แสดงความกังวลต่อการจำหน่ายยาสูบแบบให้ความร้อนแต่ไม่เผาไหม้ (Heat-Not-Burn) ของ ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (พีเอ็มไอ) ผ่านช่องทางออนไลน์และเว็บไซต์ที่เพิ่มมากขึ้นว่า "ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนฯ ดังกล่าวของพีเอ็มไอมีจำหน่ายอย่างถูกกฎหมาย ในกว่า 47 ประเทศทั่วโลกสำหรับผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่และอาจยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ผลิตภัณฑ์นี้อาจถูกจัดรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกับบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งประเทศไทยได้ห้ามนำเข้ามาตั้งแต่ปี 2557 แต่ด้วยความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทางพีเอ็มไอจึงเฝ้าติดตามตลาดออนไลน์และเว็บไซต์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้กับผู้บริโภคชาวไทยอย่างผิดกฎหมาย โดยในกรณีที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทางออนไลน์ (เช่นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต) จะมีการส่งร้องเรียนไปยังเจ้าของแพลตฟอร์มให้ลบออกโดยทันที"

ติดตามข้อมูลต่างๆ ของ "ฟิลลิป มอร์ริส" ได้ที่ www.pmi.com/markets/thailand/en และ www.facebook.com/PhilipMorrisThailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ