(สบน.) ได้ดำเนินธุรกรรม Bond Switching ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 3 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ผ่านผู้จัดจำหน่ายและจัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของพันธบัตรส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และความเสี่ยงของพอร์ตหนี้รัฐบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรวมถึงเป็นการพัฒนารูปแบบในการดำเนินธุรกรรมBond Switching ให้ครอบคลุมเครื่องมือทางการเงินอย่างหลากหลายซึ่งมีนักลงทุนสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม ธนาคารพาณิชย์ กองทุนรวม และบริษัทประกัน รวมถึง นักลงทุนสถาบันจากต่างประเทศ โดยมีวงเงินเสนอแลกรวมสูงถึง33,539 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.35 เท่าของวงเงินที่ประกาศ (10,000 ล้านบาท) ทำให้ สบน. สามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนพันธบัตรที่ใกล้ครบกำหนด (Source Bond) เป็นพันธบัตรเพื่อทดแทนรุ่นเดิม (Destination Bond) ที่มีอายุยาวขึ้นและเป็นการขยายฐานนักลงทุนสำหรับธุรกรรม Bond Switching โดยมีรายละเอียดของธุรกรรมดังนี้
1) พันธบัตรที่ใกล้ครบกำหนด
รุ่นพันธบัตร อายุคงเหลือ วงเงินการทำธุรกรรม
ILB217A 2 ปี 10,000 ล้านบาท
2)พันธบัตรเพื่อทดแทนรุ่นเดิม
รุ่นพันธบัตร อายุคงเหลือ วงเงินการทำธุรกรรม
1. LB22DA 3 ปี 5 เดือน 130 ล้านบาท
2. LB28DA 9 ปี 5 เดือน 1,500 ล้านบาท
3. LB316A 11 ปี 11 เดือน 2,370 ล้านบาท
4. LB326A 13 ปี 1,000 ล้านบาท
5. LB386A 18 ปี 11 เดือน 5,000 ล้านบาท
รวม 10,000 ล้านบาท
หมายเหตุ: ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562 (Settlement Date)
ผลการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรในครั้งนี้สามารถจำแนกเป็น 4 มิติดังนี้
1) ด้านการบริหารความสมดุลของพอร์ตหนี้:
ลดการกระจุกตัวของหนี้พันธบัตรที่จะครบกำหนดภายในปี 2564 โดยสามารถกระจายเป็นพันธบัตรรุ่นระยะกลางจนถึงระยะยาวให้กับนักลงทุนทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึง
2) ด้านการบริหารความเสี่ยง: สามารถบริหารหนี้และความเสี่ยงของหนี้รัฐบาลและยืดอายุคงเหลือเฉลี่ยของSource
Bond จาก 2 ปี เป็นอายุเฉลี่ย15ปี1เดือน
3) ด้านการเพิ่มสภาพคล่อง: การทำธุรกรรม Bond Switching ได้สร้างสภาพคล่องของพันธบัตรในตลาดรอง
โดยเฉพาะพันธบัตรที่ใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (On-the-run Benchmark Bond)จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 10 15 และ 20 ปี
4) ด้านการพัฒนารูปแบบในการดำเนินธุรกรรม Bond Switching: การทำธุรกรรม Bond Switchingในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ใช้พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ(Inflation Linked Bond:ILB)เป็น Source Bondจึงนับเป็นการพัฒนารูปแบบในการดำเนินธุรกรรม
Bond Switching ให้ครอบคลุมเครื่องมือทางการเงินอย่างหลากหลายมากขึ้นรวมทั้งเป็นการขยายฐานนักลงทุนในธุรกรรมดังกล่าว
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง
ผู้จัดจำหน่ายและจัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้ธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการตอบรับและความร่วมมือจากท่านในการดำเนินธุรกรรม Bond Switching ต่อไปในอนาคต