Henley & Partners เผยดัชนีหนังสือเดินทาง ชี้ประเทศแถบเอเชียครองหัวตาราง ขณะสหราชอาณาจักร-สหรัฐอันดับลดลง

พุธ ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๑๖
ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ยังคงครองอันดับ 1 หนังสือเดินทางที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกจากการจัดอันดับหนังสือเดินทางที่ทรงอิทธิพลของเฮนลีย์ Henley Passport Index ในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยมีคะแนน visa-free/visa-on-arrival ที่ 189 คะแนน การจัดอันดับอิทธิพลของหนังสือเดินทางและการเคลื่อนย้ายทั่วโลกนี้ ประเมินจากข้อมูลเฉพาะจากสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ International Air Transport Association (IATA) นับเป็นการครองอันดับสูงสุด 18 เดือนติดต่อกัน หลังจากที่ 2 ประเทศนี้ได้ปิดฉากการครองอันดับ 1 อย่างยาวนานของเยอรมนีตั้งแต่เมื่อต้นปี 2018

ส่วนเกาหลีใต้หล่นจากอันดับ 1 ในไตรมาสที่แล้วมาอยู่ที่อันดับ 2 ร่วมกับฟินแลนด์และเยอรมนี โดยสามารถเข้าประเทศต่าง ๆ ได้ 187 ประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่า สำหรับฟินแลนด์นั้นมีอันดับดีขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายวีซ่าที่มีข้อจำกัดอย่างมากก่อนหน้านี้ของปากีสถาน ขณะนี้ ปากีสถานใช้ระบบ ETA (Electronic Travel Authority) ให้แก่ 50 ประเทศ แต่ไม่รวมสหราชอาณาจักรและสหรัฐ โดยหวังว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของประเทศ ส่วนสหราชอาณาจักร และสหรัฐอยู่ในอันดับ 6 ด้วยคะแนน 183 คะแนน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของทั้ง 2 ประเทศนับตั้งแต่ปี 2010 และอันดับลดลงอย่างมากจากที่เคยครองอันดับ 1 ในปี 2014

เดนมาร์ก อิตาลี และลักเซมเบิร์ก ครองอันดับ 3 ร่วมกัน ขณะที่ฝรั่งเศส สเปน และสวีเดน อยู่ในอันดับ 4 และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ติด 20 อันดับแรกได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีนี้มา 14 ปี โดยจำนวนประเทศที่เข้าไปได้โดยไม่ต้องวีซ่าเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่อัฟกานิสถานยังคงรั้งท้ายในด้านการเคลื่อนย้ายทั่วโลก โดยสามารถเข้าประเทศต่าง ๆ ได้เพียง 25 ประเทศ

Brexit สหภาพยุโรป และความเชื่อมโยงระหว่างการเปิดกว้างของวีซ่ากับการปฏิรูปแบบก้าวหน้า

นับตั้งแต่จัดอันดับดัชนีนี้มา สหราชอาณาจักรติดหนึ่งในห้าอันดับแรกมาโดยตลอด แต่เนื่องจากใกล้จะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปในไม่ช้านี้ สถานะที่เคยแข็งแกร่งของสหราชอาณาจักรก็ดูไม่แน่นอนมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าขั้นตอนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่ออันดับของสหราชอาณาจักร แต่บทวิจัยใหม่ที่ใช้ข้อมูลในอดีตจาก Henley Passport Index บ่งชี้ว่า สิ่งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยผลภายหลังที่เกิดขึ้นอาจจะมีมากกว่าการลดลงของอิทธิพลของหนังสือเดินทาง

U?ur Altundal และ Ömer Zarpli นักวิจัยด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Syracuse University และมหาวิทยาลัย University of Pittsburgh ตามลำดับ ได้พบความเชื่อมโยงระหว่างการเปิดกว้างของวีซ่ากับการปฏิรูปแบบก้าวหน้า โดยระบุว่า "ข้อตกลงการยกเว้นวีซ่ากับสหภาพยุโรป ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านทำการปฏิรูปที่สำคัญในด้านต่าง ๆ อาทิ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หลักนิติธรรม และความมั่นคง" และตั้งข้อสังเกตว่า เสรีภาพในการเคลื่อนไหวไม่ได้ดูเหมือนว่าจะเป็นเงื่อนไขล่วงหน้าที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบูรณาการทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบก้าวหน้าด้วย และเนื่องจากกระแสชาตินิยมกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น และประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐ กำลังรับนโยบายที่จำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหว บทวิจัยใหม่ฉบับนี้จึงบ่งชี้ว่า ผลกระทบที่เกี่ยวข้องต่อสิทธิทางการเมือง หลักนิติธรรม ความมั่นคง และประชาธิปไตยอาจจะรุนแรง

Dr. Christian H. Kaelin ประธาน Henley & Partners และผู้สร้างแนวคิดการจัดอันดับดัชนีหนังสือเดินทาง กล่าวว่า "บทวิจัยล่าสุดนี้ดูเหมือนจะยืนยันบางสิ่งบางอย่างที่พวกเราหลายคนต่างรู้ได้เองว่า การเปิดกว้างของวีซ่ามากขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อประชาคมโลกทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะประเทศที่แข็งแกร่งที่สุด"

ประเทศที่มีโครงการด้านการลงทุนเพื่อขอรับสัญชาติ (CBI) ยังคงมีอันดับที่ดีในการจัดอันดับดัชนีนี้ และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เหมือนกันระหว่างอิทธิพลของหนังสือเดินทางกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมอลตาอยู่ในอันดับ 7 ในขณะนี้ด้วยคะแนน 182 ตามหลังสหราชอาณาจักรและสหรัฐเพียง 1 อันดับ ส่วนไซปรัสยังคงรั้งอันดับที่ 16 ด้วยคะแนน 172 ขณะที่ประเทศแถบแคริบเบียนอย่างแอนติกาและบาร์บูดาติดอันดับที่ 29 เพิ่มขึ้น 11 อันดับในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

ดาวน์โหลดรายงานได้ที่ https://www.henleypassportindex.com/assets/2019/Q3/HPI%20Report%20190701.pdf

สื่อมวลชนติดต่อ:

Sarah Nicklin

Group PR Manager

อีเมล: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ