การเสวนาเรื่อง “ตามหาความจริงเรื่องไฟป่าและฝุ่น PM 2.5”

พฤหัส ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๑๐
งานเสวนาเรื่อง "ตามหาความจริงเรื่องไฟป่าและฝุ่น PM 2.5" ครั้งที่ 4 จัดโดยสภาวิศวกร ร่วมกับ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อมไทย ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร เพื่อสรุปข้อเสนอแนะทั้งหมด 4 ครั้งมากำหนดมาตรการป้องกันทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำเสนอรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยได้รับเกียรติจากผู้ร่วมเสวนาและให้ข้อมูล ประกอบด้วย ดร.บุญส่ง ไข่เกษ (สมาชิกวุฒิสภา), นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ (รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ), ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา (อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ), ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ (คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) โดยมีผู้ดำเนินรายการเสวนาคือ ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ (กรรมการสภาวิศวกรและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์) และ ผศ.ดร.ฐิติมา รุ่งรัตน์อุบล (อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ) ซึ่งได้รับความสนใจจากภาคส่วนต่าง ๆ ไปร่วมฟังการเสวนาครั้งนี้ ประมาณ 150 คน ประกอบด้วยสมาชิกสภาวิศวกร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ประเด็นในการเสวนาสามารถสรุปได้พอสังเขปดังนี้

1.ประเด็นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งได้กำหนดไว้แล้ว ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นเรื่องดีที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบและติดตามยุทธศาสตร์ของชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่จะติดตามการทำงานของผู้บริหารกระทรวงและข้าราชการประจำซึ่งจะต้องรายงานและชี้แจงถึงความคืบหน้าในการทำงาน ทั้งนี้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ปัญหาฝุ่นขนาดเล็กมาก (Particulate Matter หรือ PM2.5) ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน คาดว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้มีการทบทวนหรือปรับปรุงต่อไป

2. ประเด็นปัญหาฝุ่น PM2.5 ของประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปีจนถึงต้นปี จะต้องสร้างระบบริหารจัดการที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการจัดการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะคาดว่าในเดือนธันวาคมปีนี้ถึงต้นปีหน้า ปัญหาฝุ่น PM2.5 ก็จะกลับมาอีกสำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้น จะต้องเน้นแก้ปัญหาที่ต้นทาง คือ ลดการปล่อยมลพิษ ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งคือรถบรรทุกที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ถึงร้อยละ 34 โดยแก้ปัญหามลพิษ ให้ใช้มาตรฐาน EURO 4 จากเดิม EURO 3 รวมทั้งพัฒนาให้ใช้มาตรฐาน EURO 6 ซึ่งจะมีระบบกรองฝุ่น และระบบกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) รวมถึงการจัดการจราจรให้คล่องตัว ความเร็วสูงขึ้น ส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลน้อยลง รวมทั้งควบคุมการเผา โดยจัดระเบียบการเผาให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สำหรับกรมควบคุมมลพิษนั้นพบว่ามีการตรวจวัดเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น และชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งแต่ละคนจะมีเครื่องมือตรวจวัด ต้องเข้าใจความสามารถถึงประสิทธิภาพการใช้งาน เทียบข้อมูลระหว่างกัน มีการเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบมากขึ้น การดูแลยานพาหนะ คุณภาพน้ำมัน ซึ่งมีผลต่อการเกิดฝุ่น PM 2.5

3. ประเด็นไฟป่า กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น จังหวัด เพื่อควบคุมการเผา กระทรวงเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกกรม เพราะว่าที่ผ่านมามีการเผาอ้อย ซังข้าว ซังข้าวโพด ที่ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องให้ความรู้ประชาชนให้หยุดการเผาให้ได้ และร่วมกันกำหนดระเบียบการจัดการการเผาเพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการเผาก่อนและหลังการประกาศห้ามเผา ทำให้ปีนี้เกิดปัญหาไฟป่ารุนแรง ทั้งนี้ควรมีระบบชังเผาในช่วงเวลาที่เหมาะสม และระบบโควต้าในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยคาดการณ์ช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น เผาแล้วฝนตก ก็จะช่วยลดปัญหาได้ เชื่อว่าไม่สามารถห้ามการเผาได้ แต่จะต้องจัดช่วงเวลาให้เหมาะสม

4. ประเด็นการรับรู้และการเตรียมความพร้อมของประชาชน ปัจจุบันมีข่าวสารมากมาย แต่เราไม่มีศูนย์ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์และสามารถรับมือกับข้อมูลที่หลั่งไหลทาง Social Media อีกทั้ง คณะสิ่งแวดล้อม หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้จัดเสวนาประชาคม เพื่อรับฟังและหาแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 และทางมหาวิทยาลัยยินดีที่จะให้การสนับสนุนในการลดปัญหาฝุ่น PM2.5 พร้อมแนะนำให้นำหลักเศรษฐศาสตร์มาคิดคำนวณมูลค่าความเสียหายไมโครกรัมเป็นตัวเงิน อีกทั้งผ่านมามีหลายหน่วยงานช่วยคิดและจัดเสวนาหลายแห่ง มีข้อเสนอแนะปฏิบัติหลายประการที่ส่วนงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ทันทีก็ให้รีบเร่งดำเนินการ ส่วนข้อปฏิบัติใดที่จะต้องร่วมทำหลายหน่วยงานให้หาผู้รับผิดชอบและลงมือปฏิบัติในลักษณะประชาและรัฐ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันในป้องกันและแก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่น PM2.5 ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

จากการเสวนาครั้งนี้ผมได้รับทราบข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ทำให้ทราบว่าปัญหาฝุ่นขนาดมาก หรือ PM2.5 นั้นส่วนใหญ่เกิดจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และการเผาในที่โล่ง (เผาที่สวน ไร่ นา และไฟป่า) โดยที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมน้อยมาก ดังนั้นโรงไฟฟ้าขยะจึงทำให้เกิดฝุ่นขนาดมาก หรือ PM2.5 ในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับแหล่งอื่นๆ

เขียนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 โดย ดร.เชาวน์ นกอยู่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ