กระทรวงเกษตรฯ เร่งเดินหน้าโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ประสบปัญหาโรคไวรัสใบด่าง

พฤหัส ๐๔ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๓๖
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์และมาตรการเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง ว่า "ตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการและแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและความเสียหายของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังทั้งระบบที่อาจเกิดขึ้น ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถขายผลผลิตคุณภาพดีได้ โดยชดเชยให้เกษตรกรผู้ผลูกมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบในอัตรากิโลกรัมละ 1 บาท รายละไม่เกิน 3,000 บาทต่อไร่ (จากเดิม 1,140 บาทต่อไร่) วงเงินงบประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวแล้ว รวมทั้งสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณให้กระทรวงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในส่วนกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เพื่อให้สามารถควบคุม ป้องกัน และยับยั้งการระบาดของโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง ไม่ให้สร้างความเสียหายต่อการผลิตและการค้ามันสำปะหลังของไทย ตลอดจนได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดและต้องถอนทำลายต้นมันสำปะหลังทิ้งด้วย"

โรคใบด่างมันสำปะหลังมีการระบาดอยู่ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น ยูกันดา แทนซาเนีย และมาดากัสการ์ เป็นต้น โรคใบด่างมันสำปะหลังสามารถเข้าทำลายมันสำปะหลังได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ลักษณะอาการของพืชที่เป็นโรค ใบแสดงอาการด่างเหลือง และลดรูป ต้นแคระแกร็น การแพร่ระบาดของโรคมีแมลงหวี่ขาว Bemisia tabaci เป็นพาหะ และสามารถติดไปกับท่อนพันธุ์ โรคใบด่างมันสาปะหลังมีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น สบู่ดำ ละหุ่ง พืชตระกูลถั่ว และพืชวงศ์ Euphorbiaceae ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบโรคใบด่างมันสำปะหลังในประเทศไทย แม้ว่าขณะนี้มีรายงานการแพร่กระจายของโรคเข้ามาใกล้ชายแดนประเทศไทยมากขึ้น โดยที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตรมีมาตรการกักกันพืชควบคุม การนำเข้าโดยกำหนดให้ไวรัสชนิดนี้เป็นศัตรูพืชกักกัน และกำหนดให้มันสำปะหลังเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายกักพืช ห้ามนำเข้าส่วนขยายพันธุ์มันสำปะหลังจากทุกแหล่ง ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงกำหนดให้มีมาตรการเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยทำการสำรวจตรวจสอบบริเวณพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา 6 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว จันทบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจปัจจุบันยังไม่พบว่ามีการระบาดของโรคใบด่างมันสาปะหลังในประเทศไทย

สำหรับมาตรการเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลังในระยะสั้น กระทรวงเกษตรฯ วางแนวทางไว้ดังนี้

1. ประชาสัมพันธ์/สร้างการรับรู้ โดยใช้โปสเตอร์ ภาพอินโฟกราฟิก และมอบให้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกร

2. จัดประชุมชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืช ด่านศุลกากร ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร

3. ดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสาปะหลังในพื้นที่ปลูกมันสาปะหลัง 6 จังหวัด ชายแดนไทยและกัมพูชา

4. จัดทำแผนปฏิบัติงานฉุกเฉินกรณีตรวจพบโรคใบด่างมันสาปะหลังในประเทศไทย

5. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชทุกด่านที่ติดกัมพูชาตรวจสอบสินค้านำเข้าให้เข้มงวด และรายงานให้กรมวิชาการเกษตรทราบ

ส่วนมาตรการเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลังระยะยาวนั้น ได้เตรียมการไว้โดย

1. ปีงบประมาณ 2561-2563 ดำเนินการตามโครงการวิจัย "การศึกษาสถานภาพโรคใบด่างของมันสำปะหลัง ศัตรูพืชกักกันในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย" ของกรมวิชาการเกษตร โดยดำเนินการในพื้นที่ชายแดน 6 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี สระแก้ว สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี (ดำเนินการโดย สอพ. และ สวร.)

2. ดำเนินการเฝ้าระวังและเตือนภัยโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง หากพบให้แจ้งสายด่วนเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง 061–415–2517 เพื่อป้องกันไม่ให้ เข้ามาระบาดในประเทศไทย

3. จัดทำแผนการคัดพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยดำเนินการในพื้นที่ระบาดของโรคในประเทศกัมพูชา

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมแผนปฏิบัติงานฉุกเฉินหลังจากตรวจพบการระบาดในประเทศไทยไว้ด้วย โดย

1. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบ โดยเฉพาะชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อลงพื้นที่ทำการกำจัดทำลายโรคที่มีอยู่ให้หมดไปจากแหล่งปลูกพืช

2. การกำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคและแมลงพาหะ โดยการเผาทำลายแปลงมันสำปะหลังที่พบโรค ทำการสำรวจโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบทุกต้นในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจากจุดที่พบโรค และพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบบนพืชอาศัยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่พบการระบาด

3. มาตรการทางกฎหมาย ประกาศเขตควบคุมศัตรูพืชโดยกรมวิชาการเกษตร (พ.ร.บ.กักพืช ม.17)

4. จัดทำแผนขออนุมัติงบประมาณ

5. สายด่วนเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง กลุ่มงานเฝ้าระวังศัตรูพืชกักกัน กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0–2579–8516 หรือ 061–415–2517 อีเมล์ [email protected] และ

LINE : สายด่วนเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๙ ผู้ถือหุ้น READY อนุมัติปันผล อัตรา 0.30 บาทต่อหุ้น ปักธงปี 68 รายได้โต 10% เติบโตตามเทรนด์การตลาดยุคดิจิทัล
๑๗:๐๗ JMART เตรียมเงินพร้อมคืนหุ้นกู้ 1,500 ล้านบาท ตอกย้ำเสถียรภาพการเงินปิดจ๊อบหุ้นกู้ 856.6 ล้านบาท ขอบคุณนักลงทุนที่เชื่อมั่น
๑๗:๓๗ Lorde เซอร์ไพรส์! ส่งเพลงใหม่ในรอบ 4 ปี What Was That พร้อมเอ็มวีแนว Vlog สุดเท่ ซีนยิ่งใหญ่แฟนเพลงรวมตัวกว่า 8,000
๑๗:๐๔ Kenny G คัมแบ็ค!! ชวนแฟน ร่วมดื่มด่ำสุนทรียภาพดนตรีแจซระดับโลกอีกครั้ง ใน Kenny G Live in Bangkok 2025 เปิดแสดง 4 กรกฎาคม
๑๗:๒๓ เปิดประตูสู่อนาคตไอที รำไพพรรณี MOU นครระยองวิทยาคมฯ สร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่
๑๗:๐๘ JGAB 2025 เวทีอัญมณีและเครื่องประดับอาเซียนระดับโลก ดันไทยสู่ศูนย์กลางการค้าและนวัตกรรมเครื่องประดับอย่างยั่งยืน
๑๗:๐๒ อ.อ.ป. ร่วมยินดี อคส. ครบรอบ 70 ปี
๑๗:๓๗ กองทรัสต์อัลไล เดินหน้าขยายพอร์ต เตรียมลงทุน! 2 โครงการใหม่ ทีเท็น บาย วิลเลจ ฮับ และ วิลเลจ ฮับ สายไหม โครงการคอมมูนิตี้มอลล์บนทำเลศักยภาพ
๑๗:๓๕ Bangkok Climate Action Week (BKKCAW) รวมพลังคนกรุง สู้วิกฤตโลกร้อน
๑๗:๓๑ Sherwood Corporation จับมือ Conquest Crop Protection Pty Ltd ขยายช่องทางสู่ตลาดเคมีเกษตรในออสเตรเลีย