ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดย 80.3% ของผู้ตอบแบบสอบถามในอุตสาหกรรมการผลิต เชื่อว่า องค์กรของพวกเขาใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะ 68.2% ของผู้ตอบแบบสอบถามในอุตสาหกรรมค้าปลีกรู้สึกเช่นนั้น และจากการเปรียบเทียบ ผู้ค้าปลีกในส่วนที่เหลือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้เคลื่อนไหวรายแรก ๆ ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้
นายเออร์ซ่า สุปรับโต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Asia IoT Business Platform กล่าวว่า "ภาคการผลิตยังคงเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ของเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของประเทศไทย โดยการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจในท้องถิ่นในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการแข่งขันอย่างสูสีในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อยกระดับการดำเนินงาน ในขณะที่ธุรกิจในภาคบริการในประเทศไทยดูเหมือนจะช้ากว่าธุรกิจอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการก้าวสู่ดิจิทัล ซึ่งอาจขัดขวางความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย"
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากประชากรของประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความก้าวหน้าที่สุดในด้านการเข้าถึงและความเร็วของอินเทอร์เน็ต โดยอยู่ในอันดับสองรองจากสิงคโปร์ สอดคล้องกับผลการสำรวจของ AIBP ASEAN Enterprise Digital Transformation ที่พบว่า 74% ของผู้นำธุรกิจในประเทศไทยเชื่อมต่อเนื้อหากับเทคโนโลยีหลากหลายประเภท เมื่อเทียบกับ 48.6% ในฟิลิปปินส์ที่โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อยังคงเป็นปัญหาอยู่
นอกจากนี้ อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ (Ananda Development) และ กรุงศรี คอนซูเมอร์ (Krungsri Consumer) 2 บริษัทในภาคส่วนบริการของเศรษฐกิจไทย ผู้ชนะรางวัล "Enterprise Innovation Awards" ในปี 2561 ที่ผ่านมา ได้แนะว่า Big Data และ AI สุดยอดเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยดำเนินธุรกิจ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการปฏิรูประบบดิจิทัลภายในองค์กร
ในส่วนของภาครัฐประเทศไทย ยังได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งโปรแกรมและเครื่องมือ เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศพร้อมสำหรับยุคใหม่ของดิจิทัลอย่างแท้จริง โดย นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานดิจิทัลในอุตสาหกรรม ซึ่งมีทั้งเป้าหมายระยะสั้น การส่งเสริมการรวมระบบดิจิทัลในระดับชาติ และให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับคนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแผนการพัฒนาระยะเวลา 20 ปี
ด้านหน่วยงานภาครัฐอย่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ยังได้เปิดตัวโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บริษัทขนาดเล็กก้าวกระโดดในการนำกลยุทธ์ดิจิทัลมาใช้ เช่น:
1. บัตรกำนัล Mini-transformation สำหรับบริษัทที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการเทคโนโลยีจากผู้ให้บริการโซลูชันที่ลงทะเบียนโดย depa
2. การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อสนับสนุนบริษัทและหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
3. จัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เป็นประจำ อาทิ Digital CEO, Digital Community Boot Camp, UPSKILL SME เพื่อให้ความรู้แก่บริษัทในการกำหนดกลยุทธ์ดิจิทัล
ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า "หนึ่งในภารกิจของเราคือการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นในอุตสาหกรรมของพวกเขาและเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนานวัตกรรมใหม่ ในช่วงปีที่ผ่านมาที่เราได้ร่วมงานกับ AIBP เราได้เห็นผู้ประกอบการไทยในท้องถิ่นได้รับโอกาสในการแบ่งปันโครงการที่พวกเขาดำเนินการอยู่และความท้าทายของพวกเขา และเปิดตัวเองให้รู้จักกับกลยุทธ์ดิจิทัลของผู้เล่นต่างชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนภารกิจและการฝึกอบรมในตลาดภายในอาเซียน"