พิจารณาข้อสังเกตร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับใหม่อย่างรอบคอบก่อนบังคับใช้

ศุกร์ ๐๕ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๒๔
นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. เปิดเผยว่า ตามที่สื่อมวลชนตั้งข้อสังเกต การกำหนดสีผังเมืองในร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ไม่ชัดเจน ขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อีกทั้งละเว้นกฎระเบียบในการสร้างอาคารใหญ่ที่กำหนดให้มีสัดส่วนพื้นที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ ต้องมีดินให้น้ำซึมผ่านลงไป หรือที่เรียกว่า Biotope Area Factor (BAF) นั้น กทม. ได้วางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) โดยกำหนดความหนาแน่นระดับต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับศักยภาพการพัฒนาเมืองในกรอบถนนรัชดาภิเษก ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความหนาแน่นสูง เพื่อให้สอดคล้องกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการเดินทาง ตามหลักเมืองกระชับ (Compact City) ซึ่งบริเวณย่านสุขุมวิท ได้กำหนดให้มีความหนาแน่นสูงขึ้นจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล) เป็นย่านพาณิชยกรรม (สีแดง) ที่ต่อเนื่องจากย่านมักกะสันไปถึงท่าเรือคลองเตย โดยไม่มีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใด แต่เนื่องจากมีประชาชนเสนอข้อคิดเห็นว่า ไม่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง จึงอยู่ระหว่างพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนให้มากที่สุด

ส่วนการกำหนดให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ (BAF) ในการใช้ประโยชน์ที่ดินทุกประเภท กทม. ได้ประกาศใช้เป็นครั้งแรกในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 และยังคงหลักเกณฑ์นี้ไว้ในร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับใหม่เช่นเดิม โดยผู้ประกอบการจะต้องระบุตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ในแบบก่อสร้างที่ชัดเจนเพื่อยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร ซึ่งสำนักการโยธาหรือสำนักงานเขต ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะตรวจสอบและควบคุมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนั้น ยังได้ประชาสัมพันธ์สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) โดยดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วเป็นระยะ ไม่น้อยกว่า 60 ครั้ง

ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ กทม. อยู่ระหว่างปรับปรุงร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครตามข้อคิดเห็นของประชาชน โดยมีการพิจารณาจากคณะกรรมการ เช่น คณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดหรือคณะกรรมการผังเมือง เมื่อคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดหรือคณะกรรมการผังเมืองให้ความเห็นชอบแล้ว กทม. จะนำร่างผังเมืองรวมที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปปิดประกาศ เป็นเวลา 90 วัน เพื่อให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตรวจสอบร่างผังเมืองรวมฉบับใหม่และสามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขร่างผังเมืองรวมได้อีกครั้ง ก่อนนำคำร้องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการชุดต่าง ๆ พิจารณา ถือเป็นสิ้นสุด ก่อนนำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเข้าสู่ขั้นตอนตามกฎหมายเพื่อประกาศใช้บังคับต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของโครงการฯ ได้เป็นระยะ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์plan4bangkok.com หรือที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก