นักธุรกิจจีนสนใจสั่งทุเรียนจังหวัดชายแดนใต้

จันทร์ ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๒๔
ผู้นำเข้าผลไม้รายใหญ่ของจีนมั่นใจคุณภาพทุเรียนหมอนทองของสามจังหวัดชายแดนใต้ เตรียมรับซื้อไปจำหน่าย สร้างชื่อ "บาตามัส" ให้เป็นที่รู้จักของคนจีน

คณะนักธุรกิจจีน นำโดยนายเฉินเว่ยปิน (Shen Wei Bin) ผู้อำนวยการด้านการตลาด บริษัทกวางโจว ยูฝู จำกัด (Guangzhou You Fu) ซึ่งเป็นบริษัทรับซื้อผลไม้จากทั่วโลกไปจำหน่ายในประเทศจีน รายใหญ่อันดับต้นๆ ร่วมกับผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เดินทางมาเยี่ยมชมและตรวจสอบคุณภาพการปลูกทุเรียนบาตามัส (ทุเรียนหมอนทอง) ภายใต้โครงการทุเรียนคุณภาพ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ดำเนินการร่วมกับภาคราชการและเกษตรกร

หลังจากศึกษาพื้นที่และพูดคุยกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนของโครงการฯ นายเฉินเว่ยปินกล่าวว่า มีความยินดีที่มีโอกาสได้เยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานพัฒนาเพื่อให้ได้ผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายเฉินกล่าวว่า ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการนำเข้าทุเรียนผลสดจากประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 90-95 อีกร้อยละ 5-10 เป็นผลผลิตจากประเทศเวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งจากการที่รัฐบาลจีนเข้มงวดมากขึ้นเรื่องคุณภาพ ขณะที่มาเลเซียและเวียดนามก็กำลังพยายามขอโอกาสจากรัฐบาลจีนในการส่งออกทุเรียน เพิ่มขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำ คือ การสร้างมาตรฐานทุเรียนไทยให้เข้มแข็ง

"คนจีนนิยมทานทุเรียนมาก ทุเรียนที่ได้รับความนิยม เป็นทุเรียนที่มีเนื้อละเอียด สีเหลืองทองออกเข้ม เต็มพู รสชาติหวาน ที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงทุเรียนไทย ชาวจีนจะรับรู้ว่า เป็นทุเรียนจากจันทบุรี ดังนั้นการขายทุเรียนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นเรื่องใหม่ที่จะสร้างการรับรู้ว่า ที่นี่ก็เป็นแหล่งผลิตทุเรียนคุณภาพอีกแห่งหนึ่งของไทย นอกจากนี้ ยังจะมีการมองหาทุเรียนพันธุ์อื่น นอกจาก"หมอนทอง" ที่รสชาติดีมีคุณภาพ ไปเป็นตัวเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

นายเฉินกล่าวย้ำว่า เขามั่นใจในคุณภาพของทุเรียนที่ผลิตจากพื้นที่นี้ เพราะในโครงการมีคู่มือผลิตทุเรียนคุณภาพและสมุดตรวจแปลง ซึ่งเป็นเรื่องที่พิเศษมาก เพราะหากทำตามคู่มือการผลิตและมีการบันทึกติดตามการผลิตอย่างเข้มงวดจริงจัง ผลทุเรียนที่ได้จะมีคุณภาพที่ดีมาก เพราะในคู่มือมีแม้แต่การกำหนดระยะเวลาตัดทุเรียน โดยพิจารณาที่ระดับความหวานของทุเรียน ซึ่งจะเป็นจุดเด่นในการสร้างมาตรฐานที่มีความพิเศษ ต่างจากแหล่งอื่น ๆ ที่บริษัทเคยรับซื้อมา

นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า "โครงการทุเรียนคุณภาพปีนี้ ดำเนินการเป็นปีที่สองแล้ว เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขาดโอกาส ความรู้ และทุนในการผลิตและจำหน่ายทุเรียน ปิดทองหลังพระฯ จึงบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีภาครัฐ เอกชนและประชาชน สนับสนุนองค์ความรู้ในการบำรุงดูแลต้น สนับสนุนระบบน้ำเข้าแปลง และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ในรูปแบบยืมก่อนจ่ายทีหลัง รวมทั้งมีการคัดเลือก 'อาสาทุเรียน' 91 คน จากเกษตรกรในพื้นที่ไปฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง ตั้งแต่การบำรุงดูแลต้น การป้องกันโรคและศัตรูพืช ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เพื่อนำความรู้กลับมาแนะนำเกษตรกรรายอื่นต่อไป

"ในปีนี้ สามารถขยายผลการดำเนินการไปยังสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น จำนวน 664 ราย พื้นที่ 1,125 ไร่ จำนวนทุเรียนรวม 22,508 ต้น ซึ่งจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบแรกได้ในกลางเดือนกรกฏาคม 2562 นี้ มีการคาดการณ์ผลผลิตว่าจะมีประมาณ 2,500 ตัน คาดว่าจะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ รวมกันไม่น้อยกว่า 160 ล้านบาท"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ