นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ลิฟต์เป็นทางเลือกที่เพิ่ม ความสะดวกในการขึ้น – ลงอาคาร แต่หากใช้งานไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติในการโดยสารลิฟต์อย่างถูกวิธี ดังนี้ การโดยสารลิฟต์อย่างปลอดภัย ไม่ใช้ลิฟต์ที่บรรทุกน้ำหนักหรือจำนวนคนเกินกำหนด เพราะลิฟต์อาจรับน้ำหนักไม่ไหว ควรรอให้ลิฟต์จอดสนิท ก่อนเดินเข้าลิฟต์ เพื่อป้องกันอันตรายกรณีลิฟต์ขัดข้อง และรอให้คนออกจากลิฟต์ก่อนจึงเดินเข้าลิฟต์ เพื่อไม่ให้ลิฟต์ รับน้ำหนักมากเกินไป นอกจากนี้ ควรยืนกระจายน้ำหนักให้ทั่วห้องโดยสารลิฟต์ ไม่ยืนกีดขวางประตูลิฟต์ และไม่ยืนพิงประตูลิฟต์ เพราะประตูไม่สามารถรับน้ำหนัก อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ที่สำคัญ ควรเพิ่มความระมัดระวังเมื่อเดินออกจากลิฟต์ เพราะลิฟต์อาจจอดไม่ตรงกับระดับพื้น ทำให้สะดุดล้มได้ กรณีลิฟต์ค้าง ให้ตั้งสติและกดปุ่มสัญญาณ Emergency Call เพื่อขอความช่วยเหลือ หากไฟฟ้าดับและระบบระบายอากาศหยุดทำงาน ห้ามนั่งรอบริเวณพื้นลิฟต์ เนื่องจากหากเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำให้ก๊าซกระจายตัวและลอยต่ำ หากสูดดมเข้าไปอาจทำให้หมดสติได้ กรณีลิฟต์ตกให้กดปุ่มลิฟต์ให้จอดทุกชั้น เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสำรองทำงาน จะช่วยหยุดลิฟต์ไม่ให้เลื่อนลงอย่างรวดเร็ว และหาที่ยึดจับให้แน่น พร้อมยืนตัวตรง ให้หลังและศีรษะชิดผนัง งอเข่าเล็กน้อย จะช่วยลดแรงกระแทกและป้องกันการบาดเจ็บรุนแรง ทั้งนี้ ห้ามใช้ลิฟต์ขณะเกิด ฝนฟ้าคะนอง แผ่นดินไหว หรือเพลิงไหม้ เพราะหากไฟฟ้าดับจะทำให้ลิฟต์ค้าง ส่งผลให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้
- พ.ย. ๒๕๖๗ ปภ.รายงานเกิดน้ำป่าไหลหลาก 5 จังหวัด และวาตภัย 2 จังหวัด เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- พ.ย. ๒๕๖๗ ปภ.รายงานเกิดวาตภัยในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- พ.ย. ๒๕๖๗ ปภ.รายงานเกิดวาตภัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย