ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 5 - 11 กรกฎาคม 2562 พบการกระทำผิด จำนวน 846 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 13.77 ล้านบาท

ศุกร์ ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๑๑
กรมสรรพสามิตดำเนินมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามสินค้า ผิดกฎหมายสรรพสามิต เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการ ที่เสียภาษีโดยสุจริต

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้ดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และจูงใจผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาสู่ระบบภาษี ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้จัดทำแผนเฉพาะกิจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตโดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ ชุดเฉพาะกิจจากสำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่ทั่วประเทศพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าอาจมีการกระทำผิด เพื่อสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียภาษีโดยสุจริต และเพื่อเป็นมาตรการเสริมทางอ้อมในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากการบริโภคสินค้าที่หลีกเลี่ยงภาษีจะเป็นอันตรายและส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าสินค้าโดยทั่วไป

จากผลการตรวจค้นและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ 2562 (ระหว่างวันที่ 5 – 11 กรกฎาคม 2562) พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 846 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 13.77 ล้านบาท โดยแยกเป็น สุรา จำนวน 460 คดี ค่าปรับ 4.59 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 263 คดี ค่าปรับ 5.57 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 23 คดี ค่าปรับ 0.21 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 50 คดี ค่าปรับ 1.50 ล้านบาท น้ำหอม 4 คดี ค่าปรับ 0.19 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 35 คดี ค่าปรับ จำนวน 1.15 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 11 คดี ค่าปรับ 0.56 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 3,635.575 ลิตร ยาสูบ จำนวน 6,454 ซอง ไพ่ จำนวน 877 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 96,417.000 ลิตร น้ำหอม จำนวน 1,170 ขวด รถจักรยานยนต์ จำนวน 43 คัน

สรุปยอดรวมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 11 กรกฎาคม 2562พบว่ามีการกระทำผิด จำนวน 27,713 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 419.64 ล้านบาท โดยแยกเป็นสุรา จำนวน 16,061 คดี ค่าปรับ 148.46 ล้านบาท ยาสูบ จำนวน 7,704 คดี ค่าปรับ 169.76 ล้านบาท ไพ่ จำนวน 677 คดี ค่าปรับ 6.23 ล้านบาท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 1,376 คดี ค่าปรับ 40.80 ล้านบาท น้ำหอม จำนวน 81 คดี ค่าปรับ 1.69 ล้านบาท รถจักรยานยนต์ จำนวน 1,294 คดี ค่าปรับ 26.35 ล้านบาท และสินค้าอื่น ๆ จำนวน 520 คดี ค่าปรับ 26.35 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา จำนวน 257,662.260 ลิตร ยาสูบ จำนวน 427,201 ไพ่ จำนวน 29,314 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำนวน 1,203,974.670 ลิตร น้ำหอม จำนวน 29,648 ขวด และรถจักรยานยนต์ จำนวน 1,273 คัน

"หากประชาชนท่านใดทราบเบาะแสการกระทำความผิดเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ Call center 1713 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.excise.go.th ซึ่งกรมสรรพสามิตจะปกปิดข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ และจะมอบสินบนนำจับให้ ภายหลังจากคดีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ